เกาะติด 4PW

Young ทำได้ สานพลังเยาวชนขับเคลื่อนอนาคต

   “การพบกันครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะความตั้งใจของทุกคน”
 
   เยาวชน 41 ชีวิต จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) “โครงการ Young ทำได้” ต่างพกพาความคาดหวังและความตั้งใจมาพร้อมๆ กับสองเท้าที่ก้าวออกจากบ้าน โดยมี สามพราน ริเวอร์ไซด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นจุดหมาย
 

ขับเคลื่อนงาน “อุบัติเหตุ – เมืองแห่งความสุข - ธรรมนูญพระสงฆ์”

   เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึงต้องมีความต่อเนื่องและหวังผล ซึ่งตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ทั้งสิ้น 81 มติ กว่าครึ่งเกี่ยวข้องกับ “สุขภาพ สังคม และสุขภาวะ”
 
   เป็นหน้าที่โดยตรงของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ซึ่งมี ดร.วณี ปิ่นประทีป เป็นประธาน ในการเร่งรัด-ติดตาม-สานพลังบูรณาการ

จัดงานใหญ่ขับเคลื่อน ‘ระบบอาหารโรงเรียน’

   สังคมออนไลน์ช่วงนี้ มีบ่อยครั้งที่เราจะได้เห็นการแชร์ภาพอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ โดยเมนูอาหารเหล่านั้น นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังครบถ้วนไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น
 
   ทว่าในสังคมออนไลน์เดียวกันนี้ มีไม่น้อยเช่นกันที่ปรากฏข่าวและเรื่องร้องเรียนกรณีการทุจริตงบประมาณอาหารกลางวันเด็ก โดยการนำเสนอมักจะมาพร้อมกับภาพเมนูอาหารที่ดูแล้วน่าเป็นห่วง
 

ล้อมคอก ‘ทันตกรรมเถื่อน’ รุกคืบสังคมไทย

   หลายคนคงเคยได้ยินข่าวการจัดฟันแฟชั่นที่กระจายอยู่ตามห้างสรรพสินค้า-ตลาดนัด ตลอดจนการให้บริการ “เดลิเวอรี” ทำฟันเทียมเถื่อน (ฟันปลอมเถื่อน) ถึงบ้าน ซึ่งมีราคาถูกและง่ายต่อการเข้าถึงนั้น ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้วยัง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
 
   ขณะเดียวกัน การให้บริการทันตกรรมซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่บรรจุอยู่ในกองทุนประกันสุขภาพ 3 กองทุน อันได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ ทุกวันนี้ยังมี ‘ความเหลื่อมล้ำ-ไม่เท่าเทียมกัน’
 

ส่อง สุรินทร์โมเดล จัดการอาหารในโรงเรียน เพื่ออนาคตเด็กไทย

   แต่ละปีประเทศไทยมีเด็กปฐมวัยราวๆ 7 แสนราย ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาโภชนาการไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหา “พัฒนาการล่าช้า” และ “มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ” โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
 
   ยังไม่นับปัญหาอื่นๆ ที่เด็กตัวน้อยๆ มีโอกาสจะได้รับจากการบริโภคอาหาร เช่น สารเคมีที่ปนเปื้อนกับผักผลไม้ สี/สารปรุงแต่งอาหาร เป็นต้น ที่มีผลทำร้ายสมอง-ร่างกายโดยตรง
 

เมื่อ “รัฐ – อปท.” หนุนเสริม ‘ชุมชน’ ชี้ขาดความสะอาดในพื้นที่

   “ขยะมูลฝอย” สร้างผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและอ้อมกลับมาทำลายสุขภาพ อีกทั้งปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนดูเหมือนว่าไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด ทั้งประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของภาครัฐที่ไม่สามารถรองรับปริมาณของขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับพฤติกรรมการทิ้งและไม่คัดแยกขยะที่เอื้ออำนวยต่อระบบการจัดการ ทำให้ประเทศไทยมีขยะตกค้างรอกำจัดอีกไม่น้อยกว่า 10 ล้านตัน
 
   เพราะทุกคนเป็นแหล่งต้นกำเนิด “ขยะมูลฝอย” จึงเป็นปัญหาของคนทุกคน ที่ต้องร่วมมือกัน ในการจัดการอย่างเข้มข้น จริงจัง
 

จ่อปรับชื่อระเบียบวาระ ‘วิถีเพศภาวะ’ ใหม่

   แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะให้ความสำคัญในเรื่องความเสมอภาคชาย-หญิง แต่การดำเนินงานและการจัดทำนโยบายต่างๆ กลับยัง “ขาดการบูรณาการมุมมองด้านเพศภาวะ” ซึ่งนับเป็นรากเหง้าปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพที่อาจนำไปสู่ปัญหาในการจัดระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดี
 
   แน่นอนว่าทางออกเชิงนโยบาย หมุดหมายหลักคือการผลักดันให้เกิดการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมสุขภาวะผ่านมุมมองมิติเพศภาวะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนใน 3 ระบบหลัก คือ โครงสร้างสังคม ระบบการศึกษา และระบบบริการสุขภาพ
 

ขับเคลื่อน ‘ยุทธศาสตร์สุขภาวะชุมชน’ เกิดกลไกเพียบ

   เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ‘ชุมชนท้องถิ่น’ มีความสำคัญในฐานะรากฐานของสังคม และรากฐานที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะสามารถรองรับโครงสร้างที่สูงใหญ่ได้
 
   อย่างไรก็ดี การมุ่งเน้นที่จะให้ความสำคัญเฉพาะแต่กับส่วนบน และบริหารจัดการแบบ “บนลงล่าง” ย่อมไม่เป็นผลดีกับประเทศในระยะยาว เพราะนอกจากจะเป็นการ “ตัดเสื้อโหล” ให้ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีความแตกต่างและหลากหลายใส่แล้ว ยังเป็นการบริหารที่ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วม
 

ขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพเขตเมือง

   ภาพที่ทุกคนอาจจะรู้สึกเหมือนๆ กัน ก็คือ พื้นที่เขตเมืองน่าจะมีความเจริญและความพรั่งพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะมิติทางสุขภาพแล้ว น่าจะมีความสมบูรณ์ไม่ตกหล่น
 
   อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในเรื่อง “ระบบบริการสุขภาพ” กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากวิเคราะห์สถานการณ์ระบบบริการสุขภาพเขตเมืองแล้วจะพบว่า ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรมีจำกัด ระบบให้บริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปรากฏข้อจำกัดด้านคุณภาพ การเข้าถึง และความเป็นธรรม
 

‘คำนิยาม’ ดูแลแบบประคับประคองฉบับทางการของไทย

   ว่ากันตามคำจำกัดความของ องค์การอนามัยโลก (WHO) การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคที่รักษาไม่หายด้วยการป้องกัน บรรเทาอาการ ตลอดจนบรรเทาความทุกข์ทรมานด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น นับเป็นการดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ อันได้ แก่ กาย ใจ ปัญญา และสังคมของผู้ป่วย
 
   ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีการพูดถึงการดูแลรักษาแบบประคับประคองมากขึ้น แต่กลับพบปัญหาเรื่องการตีความที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการที่ล้วนแต่ตีความไปตามบริบทและอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
 

หน้า