เกาะติด 4PW

หัวใจการขับเคลื่อนนโยบายผ่านกลไก ‘4PW’

   ที่ประชุมถ่ายทอดประสบการณ์ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านกลไก 4PW พื้นที่ ก่อนจะสรุป “หัวใจความสำเร็จ” 4 ประการ ‘เปิดพื้นที่กลาง-สร้างประเด็นร่วม-ใช้ความรู้นำ-เคลื่อนเป็นขบวน’
 
   เพียง 2 ปี (2560-2562) ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เสริมพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ภายใต้กลไก “คณะทำงาน 4PW ระดับจังหวัด” เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมการขึ้นรูปของประเด็นต่างๆ 82 พื้นที่ทั่วประเทศ รวม 237 ประเด็น
 

หน่วยงานยังมอง ‘นโยบายสาธารณะ’ เป็นแค่ทางเลือก

   สช. เปิดวงสรุปบทเรียนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ผ่านกลไก 4PW ระดับพื้นที่ พบทั้งโอกาสและข้อจำกัดการขับเคลื่อนนโยบายหลายด้าน ที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของคนในจังหวัด พร้อมเสนอยกระดับจากประเด็น “ทางเลือก” สู่ประเด็นร่วมในระดับจังหวัดและชาติต่อไป
 

‘แลกเปลี่ยนเรียนรู้’ ‘เชื้อดื้อยา-ยุงลาย-ฆ่าตัวตาย’

   เมื่อสุขภาพเป็นสิ่งที่รอไม่ได้ ซ้ำปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยน ส่งผลให้เชื้อโรคและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ฝุ่น หมอกควัน เกิดขึ้นอย่างมากมาย การแพทย์และระบบสาธารณสุขไทยจึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การควบคุม-ป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู ให้มีประสิทธิภาพเท่าทัน จำต้องมีการสานพลังทุกภาคส่วนมาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และครอบคลุมทุกประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องเร่งพัฒนา
 

‘สุขภาวะสังคมสูงวัย’ ต้องทำเป็นอันดับหนึ่ง

   แม้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จะประกาศใช้มาแล้วเกือบ 12 ปีเต็ม และที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ก็ได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการสานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
เข้ามาร่วมจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมมาโดยตลอด ยกตัวอย่าง การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 11 ครั้ง ซึ่งเกิดเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมากถึง 81 มติ เป็นต้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ “สุขภาวะทางสังคม” อีกเป็นจำนวนมาก

 

กำกับโปรฯ ‘มือถือ’ กระตุ้นเด็กเล่นเกมไม่อั้น

   แม้จะได้รับการขนานนามว่าเป็น “อีสปอร์ต” (E-sports) ราวกับเป็นกีฬาแขนงหนึ่ง หากปฏิเสธไม่ได้ว่ากิจกรรมชนิดนี้มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาวะเด็ก ซึ่งแตกต่างจากกิจกรรมการออกกำลังเฉกเช่นกีฬาชนิดอื่น
 
   โดยเฉพาะเมื่อปรากฏการณ์ของวิดีโอเกมที่กลายมาเป็นกิจกรรมการแข่งขันพร้อมชิงเงินรางวัลอันสูงลิ่ว ได้สร้างความนิยมและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่เด็กและเยาวชนทั่วโลก
 

เปลี่ยนสังคมนิ่งดูดาย สู่สังคมเห็นอกเห็นใจ

   “สุขภาพ” ไม่ใช่เพียงแค่เรื่อง “มดหมอหยูกยา” หากแต่ครอบคลุมความหมายกว้างถึง 4 มิติ
 
   การมีสุขภาพที่ดี ต้องดีอย่างเป็น “องค์รวม” นั่นหมายถึงต้องดีทั้งสุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคม และสุขภาพทางปัญญา
 

เกษตรและอาหารปลอดภัย เตรียมคัดพื้นที่ ถอดบทเรียน

   ปัญหาสารเคมีทางการเกษตรนับเป็นเรื่องใหญ่ในระดับโลก และเป็นวาระสำคัญของไทยในฐานะประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเกษตรกรรมสูง
 

เคาะแล้ว! กิจกรรมในงานสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 12

   ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคมนี้ ซึ่งนับเป็นวาระใหญ่ของปีที่ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจะเข้ามาร่วมกันพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนบนฐานข้อมูลและเหตุผล เพื่อให้ได้ฉันมติร่วมกัน
 
   ช่วงโค้งสุดท้ายนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะออกแบบและเตรียมความพร้อมในการจัดนิทรรศการลานสมัชชาสุขภาพ ห้องพัฒนานโยบายสาธารณะ เวทีกลางที่สร้างสีสันของงานให้เป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าประสงค์ เฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วใน 11 ครั้ง ในระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา
 

อนุฯ วิชาการเห็นพ้องเปลี่ยนชื่อระเบียบวาระ ‘วิถีเพศภาวะ’

   บทบาทของสมาชิกในครอบครัว มักถูกตีกรอบโดยค่านิยม ความเชื่อ และจารีต ในฐานะที่เป็น ‘สามี-เพศชาย’ ต้องเป็นผู้นำครอบครัวที่แข็งแกร่ง ทำงานหนัก รับผิดชอบและเสียสละ ขณะที่ ‘ภรรยา-เพศหญิง’ ถูกคาดหวังให้เป็นแม่บ้านแม่เรือน หน้าที่หลักคือการเลี้ยงลูกให้ดี
 

‘ธรรมนูญตลาดจินดา’ จุดประกายเยาวชนพัฒนานโยบายสาธารณะ

   สช. จัดเวิร์คช็อปเยาวชน “โครงการ Young ทำได้” 41 ชีวิตร่วมเรียนรู้กระบวนการสานพลัง-จัดทำนโยบายสาธารณะ เรียนรู้ผ่านรูปธรรม “ธรรมนูญตำบลตลาดจินดา” กลไกคลี่คลายปัญหาน้ำเสีย อ.สามพราน จ.นครปฐม
 
   ในระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2562 กลุ่มเยาวชน “โครงการ Young ทำได้” รวม 41 ชีวิตที่ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ครั้งที่ 1 ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ณ สามพราน ริเวอร์ไซด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม
 

หน้า