เกาะติด 4PW

ขยับมติ ‘การใช้ยาสมเหตุผล’ สร้างความเข้าใจภาคี – วางบทบาทการขับเคลื่อน

   เริ่มแล้ว! ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ มุ่งสู่ “ประเทศไทยใช้ยาสมเหตุผล” ถกร่วมทำความเข้าใจ 10 ข้อ ก่อนประมวลทิศทางการดำเนินงาน-กำหนดบทบาทเจ้าภาพร่วมกัน
 
   ทุกวันนี้ หลายประเทศกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรม “การใช้ยาไม่สมเหตุผล” โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 10-40% ของประเทศทั่วโลก ต้องสูญเสียไปเพราะการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง
 
   WHO ยังระบุอีกว่า มากกว่า 50% ของการใช้ยาในประเทศกำลังพัฒนา เป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมและสูญเปล่า ซึ่งแน่นอนว่า “ประเทศไทย” อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
 

‘ตระกูล ส.’ ผนึกภาคียุทธศาสตร์ด้านสังคม ปลุกพลเมืองสู้โควิด19

   “....บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน พวกเขาจะไม่โดดเดี่ยวในสถานการณ์สู้รบครั้งนี้...”
 
   สถานการณ์โรคโควิด19 ระบาด เพื่อผ่อนแรงไม่ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เปรียบดั่ง “ทัพหน้า” ในการสู้ศึกไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ต้องบอบช้ำจนเกินไป เหล่าทัพหลวงซึ่งก็คือ ประชาชนทุกคนในประเทศจึงต้องมีวินัยและปฏิบัติตัวตามแนวทางรับผิดชอบต่อสังคม
 

สช. จัดระบบเฝ้าระวัง ‘ชุมชน’ สู้ภัย ‘โควิด-19’

   แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid–19) ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ดูเหมือนจะลดระดับความรุนแรงลงบ้างแล้ว แต่สำหรับพื้นที่อื่นๆ รวมถึงประเทศอื่นๆ กลับเป็นไปอย่างตรงกันข้าม
 
   “ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกประเทศจีนเพิ่มขึ้น 13 เท่า และจำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า แน่นอนว่าในวันข้างหน้าจำนวนผู้ติดเชื้อ-ผู้เสียชีวิต ก็จะเพิ่มสูงขึ้นอีก” ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ
 

เดินหน้าขับเคลื่อน ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   เป็นเวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษ ที่เครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งฟากฝั่งวิชาชีพ วิชาการ ภาคประชาสังคม ได้ทำงานล่มหัวจมท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ด้วยการ “แบนแร่ใยหิน” ให้พ้นจากประเทศอย่างถาวร
 

สช. จับมือเพื่อนภาคี ร่วมภารกิจขับเคลื่อน “ต้านมะเร็ง”

   ไม่ว่าใครก็ตาม ล้วนมีความเสี่ยงกับ “มะเร็ง” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
 
   “มะเร็ง” ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ครองแชมป์สาเหตุการตายมานานกว่า 20 ปี และถึงแม้ทุกวันนี้ จะมีการพัฒนายาแบบพุ่งเป้าต่อโรค ตลอดจนมีวิธีการรักษาที่ล้ำสมัย หากแต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว
 
   มะเร็ง...ไม่ใช่เรื่องบาปบุญหรือเวรกรรม แต่เป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม นั่นหมายความว่า มะเร็งสามารถยับยั้งได้ ถ้าเจ้าของสุขภาพมีความตระหนักรู้ และเบนเข็มออกจากปัจจัยเสี่ยง
 

“สานพลัง” สู้ภัย “โควิด-19”

   การแพร่ระบาดของไวรัส COVID–19 นับเป็นความท้าทายระบบสุขภาพทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จนถึงขณะนี้ มีความพยายามจากทุกภาคส่วนอย่างถึงที่สุด เพื่อบรรเทาหรือชะลอไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่การแพร่ระบาดในระยะ 3
 
   แม้ว่าจะมีการประกาศให้ COVID–19 เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 เพื่อเตรียมความพร้อมและติดอาวุธในเรื่องมาตรการป้องกัน หากแต่ความหวาดวิตกของประชาชนยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะความหวาดระแวงระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
 

เปิดวงขับเคลื่อนมติฯ ‘วิถีเพศภาวะ’

   เริ่มนัดแรก! ภาคีเครือข่ายตบเท้าเข้าร่วมหารือขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ ‘วิถีเพศภาวะ’ เปิดพื้นที่กลางแลกเปลี่ยน พร้อมทำความเข้าใจรายละเอียดร่วมกัน
 
   เพียงแค่สองเดือนเศษ นับจากที่สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีฉันทมติร่วมกันในระเบียบวาระ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ภายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จนถึงวันนี้
 

เคาะแล้ว! ‘วัน-สถานที่’ สมัชชาสุขภาพฯ ปีนี้

   เตรียมพร้อม! งานสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 13 คจ.สช. ถกนัดแรก เคาะวันจัดงาน 16 - 18 ธันวาคม ปลายปีนี้ ณ อิมแพ็ค เมืองทอง
 
   เรียกได้ว่าคึกคักตั้งแต่ต้นปี สำหรับการเตรียมความพร้อมจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 ที่มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พ.ศ.2563 - 2564 รับไม้ต่อจาก นพ.กิจจา เรืองไทย ประธาน คจ.สช. พ.ศ.2561 - 2562
 

‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ครบเครื่องเรื่อง ‘ตายดี’

   เราคงไม่อ้อมค้อมที่จะชักชวนคุณมาร่วมงาน สร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 ก.พ. 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดี กรุงเทพมหานคร
 
   “สร้างสุขที่ปลายทาง” เป็นมหกรรมระดับชาติว่าด้วยการตายดี ที่จะพูดถึงความตายในทุกเหลี่ยมมุม ช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย และการเผชิญวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบสุข
 
   สำหรับใครหลายคน ‘ความตาย’ อาจเป็นสิ่งที่เร้นลับและน่าสะพรึงกลัว แต่ถ้าคุณมีความเข้าใจและพิจารณาความตายด้วยความประณีตแล้ว ความตายคือส่วนเติมเต็มให้ทุกชีวิตสมบูรณ์ เป็นความงอกงามในท้ายที่สุด
 

คลอด ‘ตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ’ ชุดแรกของประเทศไทย

   “สช. – IHPP - ภาคีเครือข่าย” สานพลังสร้างตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ ชุดแรกของประเทศไทย เดินหน้าเก็บข้อมูลที่พร้อมทันที
 
   แม้ว่าลึกๆ แล้ว ทุกคนอาจจะออกแบบหรือวาดภาพ “ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์” ไว้ในใจ แต่ทว่านับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยกลับไม่เคยมี “ตัวชี้วัด” ในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ นั่นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบให้ได้ว่า ระบบสุขภาพของไทยเดินมาจากจุดไหน และกำลังจะไปที่ไหน หรือระบบสุขภาพของไทยเดินทางมาถึงตรงไหนแล้ว
 

หน้า