รู้จักและเข้าใจ : สิทธิด้านสุขภาพ

“สุขภาพ” ในพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ได้มีความหมายเพียงเรื่องของการบริการ ด้านการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น สิทธิด้านสุขภาพจึงมีความหมายกว้างกว่าสิทธิที่จะได้รับ การบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (The rights to health care) เช่นกัน เพราะรวมถึงสิทธิที่จะเข้าถึงสุขภาพไว้ด้วย (The rights to health) อย่างไรก็ตามสิทธิดังกล่าวยังเกี่ยวโยงกับ สิทธิมนุษยชนด้วย ดังที่ปรากฏเรื่องของ สุขภาพเป็น ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ทุกคน ในปฏิญญา สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

สิทธิด้านสุขภาพทั้ง ๘ เรื่อง (มาตรา ๕-๑๒) บัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและสนับสนุนให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่ผ่านมามีการดำเนินงาน ที่มุ่งขับเคลื่อนงานตามมาตรา ๑๒ เป็นหลักเพื่อ สร้างระบบรองรับการใช้สิทธิปฎิเสธการรักษา ที่เป็นไปเพียง เพื่อยึดการตายในวาระสุดท้าย ของชีวิต หลังจากที่มีกฎกระทรวงและแนวทาง การปฏิบัติฯ แล้ว จนได้มาซึ่งหลักสูตรและแนว ปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็ก รวมถึงแนวปฏิบัติสำหรับการ ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ สำหรับผู้ป่วยเด็ก

นอกจากนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนยังได้ นำสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา ๑๒ อาทิ หนังสือ แสดงเจตนาฯ ไปใช้ประกอบการดำเนินงานด้วย และ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างมีทิศทางและเป็นระบบ สช.และองค์กรภาคียุทธศาสตร์จึงได้ร่วมกันจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริม สุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙” ขื้น ซึ่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีมติ เห็นชอบแล้วและให้เสนอ ครม. พิจารณาต่อไป มีการจัดตั้งสำนักงานโครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ (สยท.) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ประสานการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับมาตราอื่นๆ ได้แก่ 

๑. ได้ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ส่วนบุคคลด้านสุขภาพ 
๒. มีการจัดทำข้อเสนอเรื่อง “นโยบายการตรวจ สุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” จนนำไปสู่มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ และ เตรียมนำไปสู่การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม 
๓. พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำ พ.ร.บ.การวิจัยในคน พ.ศ. ....

ภาพประกอบความรู้