เกาะติด 4PW

จับสัญญาณรื้อฟื้น FTA ‘ไทย-อียู’

   เปิดวงถก “คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ” นัดแรก เน้นหนักนโยบาย “เมดิคัลฮับ” พร้อมจับตาการรื้อฟื้น FTA ไทย-อียู
 
   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ข้อตกเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ไทย-สหภาพยุโรปในอดีต ที่แฝงมาด้วยการผูกขาดสิทธิบัตรยา ซึ่งจะกระทบต่อราคายา และการเข้าถึงยาของประชาชนในภาพกว้าง
 

‘สร้างสุขปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ปักธงสร้างความเข้าใจการดูแลแบบประคับประคอง

   แม้ว่าทุกวันนี้การแพทย์จะรุดหน้าไปมาก แต่ถึงอย่างไรแล้วเราก็คงหนีไม่พ้นวาระสุดท้ายของชีวิต การเผชิญหน้ากับความตายอย่างกล้าหาญ เข้าใจ และมีศักดิ์ศรี จึงเป็นโจทย์แหลมคมที่เราควรครุ่นคิดกันตั้งแต่วันนี้
 
   คำถามคือ ในช่วงสุดท้ายก่อนจะออกเดินทางไกล เราปรารถนาที่จะเห็นตัวเองอยู่ในสภาพใด? ระหว่างการนอนอยู่ท่ามกลางสายระโยงระยางในโรงพยาบาล หรือพักผ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่นที่เราคุ้นชิน
 

ระดมสมอง กรุยทางสู่ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์

   สช. เปิดวงรับฟังความคิดเห็น “ร่าง ชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559” กรุยทางสู่ระบบสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศ
 
   ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ หรือ “Health in All Policies” คือเส้นทางของระบบสุขภาพทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นถนนเส้นเดียวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ภายใต้การนำของ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) คนปัจจุบัน
 

ยกเครื่อง ‘บัญชีรายการ’ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

   เมื่อ 12 ปีก่อน หรือในปี 2550 ประเทศไทยมีการออก พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นต้นทางของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ “ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์” ที่กำหนดสิทธิประโยชน์รายการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 26 รายการ
 
   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมา กองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุน จะให้สิทธิประโยชน์ที่จำเป็นแก่คนพิการแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับยังพบความเหลื่อมล้ำ และสิทธิประโยชน์บางรายการก็มีอุปสรรคขวางกั้นจนไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ตอนที่ 5 กระเบื้องมือสอง

   กระเบื้องมือสองจำนวนมากถูกเก็บจากไซต์งานก่อสร้างเพื่อส่งไปขายต่อในชุมชน ด้วยราคาที่ต่ำอย่างเหลือเชื่อจนไม่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไปได้ ทำให้กระเบื้องเหล่านั้นได้รับความนิยมจากชาวบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
 
   พฤติกรรมการใช้กระเบื้องมือสองจึงกลายมาเป็นเรื่องปกติของคนในชุมชน โดยกระเบื้องเหล่านั้นถูกดัดแปลงไปใช้ประโยชน์หลากหลายสุดแต่ใครจะจินตนาการ บางคนเพียงแค่นำไปปรับปรุงห้องหับ แต่บางคนถึงกับนำไปใช้แทนเขียงหั่นผัก-ผลไม้ หรือในหมู่กระเบื้องที่แตกหักสภาพไม่สมประกอบ ชาวบ้านก็ยังนำไปถมที่ถมทาง
 

เช็กความพร้อม ‘สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12

   นับถอยหลังอีกราว 1 เดือน งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ก็จะเปิดฉากขึ้น ซึ่งในปีนี้ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้ประกาศระเบียบวาระ 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ แร่ใยหิน-เพศภาวะ-มะเร็ง และการใช้ยาสมเหตุผล เพื่อร่วมกันถกแถลงสู่ “ฉันทมติ” ร่วมกันและ จัดทำเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับทุกคน ระหว่างวันที่ 18-20 ธ.ค.นี้ ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
 

กลไก กขป. ปรับกลยุทธ เตรียมลุยงาน

   ตัวแทน กขป. ทั่วประเทศ ร่วมประชุมทบทวนแนวทางการขับเคลื่อนปี 2563 วางประเด็นยุทธศาสตร์ พร้อมตัวแทนหน่วยงาน 4 ส. “สธ.-สช.-สสส.-สปสช.” ร่วมถอดบทเรียน ระดมความเห็น-ออกแบบการดำเนินงาน
 
   เขตสุขภาพเพื่อประชาชน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2559 ด้วยความคาดหวังให้เป็นกลไกปฏิรูประบบสุขภาพ ด้วยการบูรณาการการทำงานและใช้ทรัพยากรในพื้นที่ร่วมกัน ภายใต้หมุดหมายสูงสุดคือใช้ “พื้นที่เป็นศูนย์กลาง”
 

พัฒนาศักยภาพตำบล-พลเมืองอาสา

   สช. จัดประชุมสรุปผลงาน 2 โครงการพัฒนาศักยภาพ “ตำบล-พลเมือง” ถอดความสำเร็จเกินเป้าตัวชี้วัด ระดม ศปจ. ทั่วประเทศร่วมกำหนดจังหวะก้าวเดิน พัฒนางานภาคประชาสังคม
 
   การสร้างเสริมศักยภาพของคนเล็กคนน้อยเป็นงานที่ต้องอาศัยความยั่งยืน ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ให้ความสำคัญกับพันธกิจนี้มาโดยตลอด
 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 มติฯ ‘อีสปอร์ต-พยาธิใบไม้ตับ’

   หลังการทำความเข้าใจในเนื้อหา-สาระสำคัญของ 4 ระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ในช่วงเช้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ช่วงบ่ายของ เวทีเตรียมความพร้อมกลุ่มเครือข่ายสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12 พ.ศ.2562 หรือ Pre NHA12 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การเปิด 2 ห้องย่อยให้ผู้เข้าร่วมกว่า 800 ชีวิต ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จของการพัฒนาและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จากผู้แทนหน่วยงานที่ขับเคลื่อนนโยบายตัวจริง-เสียงจริง 2 มติ อันได้แก่ 1.มติความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก

ตอนที่ 3 ความละเอียดอ่อนทาง ‘เพศ’ คือต้นทางสร้าง ‘สุขภาวะครอบครัว’

   อีกเพียง 2 เดือน งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ก็จะเปิดฉากขึ้น โดยปีนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้ประกาศระเบีบบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาจัดทำเป็นนโยบายสาธารณะใน 4 เรื่องใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ที่นับเป็นรากฐานของการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และมีความสำคัญเชิงประเด็นในระดับนานาชาติ
 

หน้า