เกาะติด 4PW

ปีนี้พลิกโฉม ‘สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ 13

   คจ.สช. เตรียมความพร้อมจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 ภายใต้ประเด็นหลัก “พลังพลเมืองตื่นรู้ ... สู้วิกฤตสุขภาพ” พร้อมประกาศ 5 หมวดประเด็นย่อย เป็นกรอบจัดทำ-รับข้อเสนอ แง้ม 3 ทางเลือกการจัดงานบนความไม่แน่นอนภายใต้สถานการณ์โควิด-19
 

กองทุนสุขภาพท้องถิ่น สร้าง ‘บรรทัดฐานใหม่’ ด้านสุขภาพ

   สช.- สปสช. หารือแนวทางสานต่อภารกิจพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนช่วงโควิด 19 ที่ประชุมเห็นพ้องใช้เงิน 50% ของงบค้างท่อกองทุนตำบลกว่า 1,500 ล้าน สร้าง “New-Normal” รณรงค์สร้างเสริมสุขภาพ-ยับยั้ง NCDs
 
   จากแนวคิดพลิกวิกฤติเป็นโอกาสภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพต่างเห็นตรงกันว่าช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะทำการรณรงค์เพื่อสร้าง “บรรทัดฐานใหม่” (New Norm) ในการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยยับยั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อันเป็นภัยสุขภาพลำดับต้นๆ ของไทยและของโลกได้
 

ผนึก ‘ธรรมนูญพื้นที่ - กองทุนตำบล' สู้โควิด19 และโรค NCDs

   วงถก ‘New-Norm’ สร้างสุขภาพฯ เสนอบูรณาการ 2 เครื่องมือ “ธรรมนูญพื้นที่-กองทุนตำบล” สู้ภัยโควิด-ยับยั้ง NCDs ในชุมชน
 
   แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะรุนแรงในระดับประวัติศาสตร์ หากแต่อีกด้านก็นับว่าเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้รณรงค์และปลูกฝังพฤติกรรมเชิงบวกเพื่อสร้าง “บรรทัดฐานใหม่” ในการดูแลสุขภาพให้เกิดขึ้นกับประชาชน
 
   โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสู้รบกับ “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” (NCDs : Non-Communicable Diseases) มหันตภัยด้านสุขภาพที่หยั่งรากลงลึกและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
 

ทำความรู้จัก ‘ธรรมนูญ On air’ โมเดลสู้โควิด19 ของ กขป.เขต 12

   กขป. เขต 12 รวมพลังเครือข่าย 7 จังหวัดภาคใต้ฝ่าวิกฤตโควิด 19 เดินหน้าสร้างความร่วมมือ หารือ-เสาะแสวงมาตรการสู่ผลลัพธ์การปฏิบัติงานในพื้นที่ ผ่านการจัด “ธรรมนูญ on air” เปลี่ยนกระบวนการพูดคุยสู่เป้าหมายจากฐานต้นทุนเดิม
 
   “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” หรือกระบวนการสร้างข้อตกลงร่วมของชุมชน เป็นเครื่องมือตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ถูกนำไปใช้เพื่อจัดการปัญหาและคลี่คลายความขัดแย้งมานักต่อนัก
 

ชุมชนมุสลิม รวมพลังป้องกัน ‘โควิด19’

   พี่น้องชาวมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้สานพลังสู้ภัยโควิด19 ขานรับมาตรการทางสังคมเหตุสอดรับกับคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างเป็นเนื้อเดียว พร้อมระดมสมองสร้าง “ข้อตกลงร่วมของพื้นที่” ช่วยหนุนเสริมความเข้มแข็งชุมชน
 
   80% ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นับถือ “ศาสนาอิสลาม” มีความเชื่อ ความศรัทธา และปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัด การละหมาดร่วมกันที่มัสยิดในวันศุกร์ การฟังบรรยายทางศาสนา ประเพณีการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด การสัมผัสแก้ม คือวิถีชีวิตที่ผูกติดกับลมหายใจของพี่น้องมุสลิมมาอย่างยาวนาน
 

ชาวอุบลฯ งัด ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ สู้ภัยโควิด19

   ถอดบทเรียน จ.อุบลราชธานี ใช้ “ธรรมนูญสุขภาพ” สู้ภัยโควิด 19 กำหนดข้อตกลง-แนวปฏิบัติร่วมกัน หากฝ่าฝืนอาจถูกมาตรการทางสังคม “นพ.นิรันดร์” ในฐานะประธาน กขป. ระบุ เดินหน้าสานพลังเครือข่ายทุกระดับในพื้นที่ พร้อมต่อยอดความสำเร็จไปสู่เขตสุขภาพอื่น
 

ขยับมติ ‘การใช้ยาสมเหตุผล’ สร้างความเข้าใจภาคี – วางบทบาทการขับเคลื่อน

   เริ่มแล้ว! ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ มุ่งสู่ “ประเทศไทยใช้ยาสมเหตุผล” ถกร่วมทำความเข้าใจ 10 ข้อ ก่อนประมวลทิศทางการดำเนินงาน-กำหนดบทบาทเจ้าภาพร่วมกัน
 
   ทุกวันนี้ หลายประเทศกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรม “การใช้ยาไม่สมเหตุผล” โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 10-40% ของประเทศทั่วโลก ต้องสูญเสียไปเพราะการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง
 
   WHO ยังระบุอีกว่า มากกว่า 50% ของการใช้ยาในประเทศกำลังพัฒนา เป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมและสูญเปล่า ซึ่งแน่นอนว่า “ประเทศไทย” อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
 

‘ตระกูล ส.’ ผนึกภาคียุทธศาสตร์ด้านสังคม ปลุกพลเมืองสู้โควิด19

   “....บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน พวกเขาจะไม่โดดเดี่ยวในสถานการณ์สู้รบครั้งนี้...”
 
   สถานการณ์โรคโควิด19 ระบาด เพื่อผ่อนแรงไม่ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เปรียบดั่ง “ทัพหน้า” ในการสู้ศึกไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ต้องบอบช้ำจนเกินไป เหล่าทัพหลวงซึ่งก็คือ ประชาชนทุกคนในประเทศจึงต้องมีวินัยและปฏิบัติตัวตามแนวทางรับผิดชอบต่อสังคม
 

สช. จัดระบบเฝ้าระวัง ‘ชุมชน’ สู้ภัย ‘โควิด-19’

   แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid–19) ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ดูเหมือนจะลดระดับความรุนแรงลงบ้างแล้ว แต่สำหรับพื้นที่อื่นๆ รวมถึงประเทศอื่นๆ กลับเป็นไปอย่างตรงกันข้าม
 
   “ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกประเทศจีนเพิ่มขึ้น 13 เท่า และจำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า แน่นอนว่าในวันข้างหน้าจำนวนผู้ติดเชื้อ-ผู้เสียชีวิต ก็จะเพิ่มสูงขึ้นอีก” ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ
 

เดินหน้าขับเคลื่อน ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   เป็นเวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษ ที่เครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งฟากฝั่งวิชาชีพ วิชาการ ภาคประชาสังคม ได้ทำงานล่มหัวจมท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ด้วยการ “แบนแร่ใยหิน” ให้พ้นจากประเทศอย่างถาวร
 

หน้า