เกาะติด 4PW

สช.ยกเครื่องการสื่อสาร ‘สิทธิตายดี’ จัดทำ ‘Sit-com’

   “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รับรองสิทธิให้ทุกคนสามารถทำ “หนังสือแสดงเจตนา” ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตได้
 
   นั่นสะท้อนถึงความก้าวหน้าของประเทศไทย สะท้อนถึงการให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและความเป็นมนุษย์
 
   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะกลไกหลักภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนเรื่อง “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” อย่างจริงจัง และยังร่วมกันสื่อสารกับสังคมอย่างเข้มข้น
 

ขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย Knock door พรรคการเมืองแบนสารเคมี

   คงไม่จำเป็นต้องอธิบายความสำคัญเรื่องเกษตรและอาหารปลอดภัยให้มากความ เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่า นั่นหมายถึง “ชีวิต - ลมหายใจ” ของพวกเราทุกคน
 
   “เกษตรและอาหารปลอดภัย” นับเป็นหนึ่งใน “กลุ่มมติ” สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมโดยเร็ว อย่างจริงจัง และยั่งยืน
 
   โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สถานการณ์สารเคมีกำลังท่วมท้นผืนแผ่นดินไทย การขับเคลื่อนประเด็นนี้จึงมีเดิมพันที่สูง จังหวะและการกำหนดเส้นทางขับเคลื่อน (Roadmap) จึงต้องแหลมคม
 

ระดมสมองขยับมติฯ ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’

   ตลอดระยะเวลา 11 ปี ที่ผ่านมา มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจาก “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (อปท.) ในการขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรม ขณะเดียวกันก็มีหลากหลายพันธกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการอยู่มีความสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้วยเช่นกัน
 
   ดังนั้น หากทั้งสองฟากฝั่งหนุนเสริมซึ่งกันและกัน แน่นอนว่า ผลดี ซึ่งหมายถึง “สุขภาวะดี” ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน !!
 
   ในการประชุมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ เป็นกลุ่มมติร่วมกันผ่าน

ห่วงนโยบายดูแลชาวต่างชาติกระทบผู้ป่วย ‘บัตรทอง’

   การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในมุมหนึ่งก็คือการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างกันโดยมีมิติความสัมพันธ์และมิติเชิงอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่างย่อมหมายถึงการแลกเปลี่ยนด้วยบางสิ่งบางอย่างออกไป
 
   หลากหลายประเด็นเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศเต็มไปด้วยข้อห่วงใยและข้อกังวล เราจึงคุ้นเคยกับข่าวตามหน้าสื่อที่มักตั้งคำถามถึงความสมดุลระหว่างการได้มาและการเสียไปอยู่เสมอ
 
   หนึ่งในนั้นก็คือ ‘ตัวเลขทางเศรษฐกิจ’ กับ ‘ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน’
 

‘มาตรวัดเมือง’ เครื่องมือชิ้นใหม่ป้ายแดง

   คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ สร้าง ‘มาตรวัดเมือง’ เครื่องมือสำหรับประเมินองค์ประกอบ “เมืองแห่งความสุขของทุกคน” ดีเดย์ใช้จริงในงาน Focus Group พื้นที่นำร่องเทศบาลนครนครสวรรค์ ในเดือนมิถุนายน 2562 นี้
 

คมส. สานพลัง ‘ท้องถิ่น’ เร่งเครื่องขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ ด้านการแพทย์

   คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข เปิดฉากพูดคุยนัดแรก อัพเดทความคืบหน้า “ยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง-ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ” พร้อมพิจารณาแนวทางสร้างรูปธรรมการขับเคลื่อนมติฯ “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ-ทันตกรรม” โดยมี “ท้องถิ่น” เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงาน
 

ประชุมคณะทำงานเร่งด่วน สื่อออนไลน์กับเด็ก

   ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดและความฉับไวของการสื่อสารเพียงแค่
ปลายนิ้วสัมผัส นำมาซึ่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อสุขภาวะผู้ใช้งาน โดยเฉพาะกับ “เด็ก” ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากวุฒิภาวะยังไม่เพียงพอและพัฒนาการทางสมองยังเติบโตไม่สมบูรณ์

 
   แน่นอนว่า หากรู้เท่าทันและใช้งานอย่างสร้างสรรค์ สื่อออนไลน์ย่อมเต็มไปด้วยคุณประโยชน์ แต่จากผลการสำรวจเรื่อง “สถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ ประจำปี 2561” โดย กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ทำให้ต้องกลับมาร่วมกันทบทวนเพราะมีข้อกังวล

ขยับมติสมัชชาสุขภาพฯ ใช้กระบวนนำ-พื้นที่เป็นฐาน-บูรณาการขับเคลื่อน

   นัดแรกคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ ด้านสังคมและสุขภาวะ เตรียมสานพลัง ‘พชอ.’ ลุยงานระดับพื้นที่ 50 อำเภอนำร่อง เปิดเวที Kick off เชื่อมโยงกลไกและประเด็น ชาติ-เขต-จังหวัด-พื้นที่ วันที่ 26-27 มิ.ย.นี้ หวังขยับ 5 ประเด็นสำคัญ ผู้สูงอายุ ขยะ อุบัติเหตุ เกษตรปลอดสาร NCDs
 
   มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 81 มติ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมไม้ร่วมมือของภาคีเครือข่ายอย่างแข็งขันตลอด 11 ปีเต็ม นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งของการพัฒนาแลขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
 

ถกโครงสร้างกรุยทาง สถาปนาองค์ความรู้

   คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติเปิดประชุมนัดที่ 2 อภิปรายเข้มข้น “กรอบคิด-โครงสร้าง” การสถาปนาองค์ความรู้ท้องถิ่นด้านสุขภาพ พร้อมนำเสนอความคืบหน้าเข้าสู่เวทีวิชาการในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ช่วงปลายปีนี้
 
   การประชุมคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ นัดที่ 2 ของปี 2562 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ซึ่งมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการไว้อาลัยแก่ ผศ.ภญ.สำลี ใจดี กรรมการผู้ล่วงลับ ก่อนจะเข้าสู่การรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท
 

ขึ้นรูป ร่างระเบียบวาระ ลุ้น คจ.สช.เคาะ ‘ทบทวนแร่ใยหิน”

   ที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการ นัดที่ 3 เตรียมเสนอ คจ.สช. พิจารณา “ทบทวนมติสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และเห็นพ้องเดินหน้า “มลภาวะ- PM 2.5” และ “สุขภาพสตรีและครอบครัว”
 
   สาระสำคัญจากวง ประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการ ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทำให้พอเห็นทิศทางและความน่าจะเป็นของ “ร่างระเบียบวาระ” ที่จะเสนอให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พิจารณา เพื่อประกาศในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2562 คือ การทบทวนมติมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน พร้อมพัฒนาอีก 2 ประเด็น คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 และสุขภาพสตรีและครอบครัว

หน้า