เกาะติด 4PW

ล็อคเป้า เชื่อมโยง นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขับเคลื่อนมติฯ

   แม้จะยังไม่พรั่งพร้อมและยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน หากแต่ความสำคัญของ “การเดิน” และการใช้ “จักรยาน” ในชีวิตประจำวัน ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในระดับสาธารณะตั้งแต่เมื่อ 7 ปีก่อน ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ซึ่งได้มีฉันทมติร่วมกันใน มติ 5.1 การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เรื่อยมาจนถึงขณะนี้ ชัดเจนว่าผลการขับเคลื่อนอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ เห็นได้จากรูปธรรมพื้นที่ตัวอย่างหรือพื้นที่ที่ใช้จักรยานเดินทางในวิถีชีวิตที่กระจายตัวอยู่ตามชุมชนทุกๆ ภูมิภาค
 

ชงเข้ม! มาตรการ ‘แบน’ แร่ใยหิน

   มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ซึ่งเคยเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ในปี 2553 ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือเพื่อทำการ “ทบทวน” อีกครั้ง ภายหลังสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงไป และผลการศึกษาทางวิชาการมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
 
   เป้าหมายสูงสุดของการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 3.1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน คือการ “แบน” ให้พ้นไปจากประเทศไทย เช่นเดียวกับที่กว่า 60 ประเทศทั่วโลกได้ดำเนินการ เนื่องจากเห็นตรงกันว่า “แร่ใยหิน” มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะฝุ่นผงที่คลุ้งกระจายและส่งผลกระทบโดยตรงต่อปอด และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
 

ลุ้นเคาะ ‘ธีม’ จัดสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 12

   ความพร้อมของการจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ที่จะเปิดฉากในช่วงปลายปีนี้มีมากขึ้นตามลำดับ โดยความคืบหน้าล่าสุดถูกส่งออกมาจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พ.ศ.2561-2562 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา
 
   การประชุมวันดังกล่าว นับเป็นนัดที่ 2 ของ คจ.สช. หลังจากได้ข้อยุติเรื่องสถานที่และกรอบเวลาในการจัดงานไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2562 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

จับมือภาคีเปิดวงขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ
เกาะติด 4PW

   พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับ NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แทบทั้งสิ้น
 
   ในแต่ละวันเราจึงสุ่มเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันประกอบด้วย เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง มะเร็งชนิดต่างๆ ไม่มากก็น้อย ตั้งแต่หมูปิ้ง-หมูกระทะไหม้เกรียม ไปจนถึงน้ำตาลในกาแฟ น้ำชง ชาไข่มุก หรือความเค็มในมื้ออาหาร ตลอดจนพฤติกรรมเนือยนิ่งบนเก้าอี้ทำงาน และหลังพวงมาลัยรถยนต์
 

ติดอาวุธ ‘ท้องถิ่น’ คุ้มครองสุขภาวะประชาชน ขับเคลื่อนมติ ‘น้ำดื่มปลอดภัย’
น้ำดื่มปลอดภัย

   ระยะเวลาเพียง 2 ปีของการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 9.1 น้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ภายใต้การสานพลังจากทุกภาคส่วนอย่างเข้มข้น ก่อกำเนิดดอกผลให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนับตั้งแต่นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เรื่อง น้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน ได้รับฉันทมติจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2559 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนั้น
 
   ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าการทำงานอย่างจริงจัง มีส่วนสำคัญต่อการ “ลดความเสี่ยง” ของประชาชนที่จะได้รับจาก “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ” ได้เป็นอย่างดี
 

หยุดหมอกควัน-ยับยั้งไฟป่า การแก้ปัญหาต้องเริ่มจาก ‘ชุมชน’

   ฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของคนกรุงเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เข้าปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและกำลังจะกลายเป็นต้นเหตุภัยสุขภาพของคนในพื้นที่
 
   ภาพความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ปรากฏแก่สาธารณชนผ่านสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง เกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
 
   นอกเหนือจากภาคขนส่ง-คมนาคมที่เป็นต้นกำเนิดของมลพิษขนาดจิ๋วแล้ว ปัญหา “การเผาป่า” ก็เป็นที่พูดถึงและถูกเรียกร้องให้วางมาตรการเข้มในการแก้ไขอย่างยั่งยืน
 

‘THAILAND BIG MOVE ROAD SAFETY’ เอาชนะภัยบนท้องถนนด้วย ‘พลังบวก’

   ความสูญเสียบนท้องถนน นอกจากชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบเหตุแล้ว ยังจะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติอีกมหาศาล
 
   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) ประเมินตัวเลขเอาไว้สูงถึงปีละ 545,435 ล้านบาท นั่นคือค่าเสียโอกาสที่ประเทศไทยต้องจ่าย
 
   เป็นเวลานานทีเดียวที่หน่วยงานรัฐและภาคส่วนต่างๆ ได้ดำเนินมาตรการและแสวงหาแนวทางเพื่อเอาชนะอุบัติภัยบนท้องถนน แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
 

หน้า