เกาะติด 4PW

‘มาตรวัดเมือง’ เครื่องมือชิ้นใหม่ป้ายแดง

   คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ สร้าง ‘มาตรวัดเมือง’ เครื่องมือสำหรับประเมินองค์ประกอบ “เมืองแห่งความสุขของทุกคน” ดีเดย์ใช้จริงในงาน Focus Group พื้นที่นำร่องเทศบาลนครนครสวรรค์ ในเดือนมิถุนายน 2562 นี้
 

คมส. สานพลัง ‘ท้องถิ่น’ เร่งเครื่องขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ ด้านการแพทย์

   คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข เปิดฉากพูดคุยนัดแรก อัพเดทความคืบหน้า “ยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง-ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ” พร้อมพิจารณาแนวทางสร้างรูปธรรมการขับเคลื่อนมติฯ “ความรอบรู้ด้านสุขภาพ-ทันตกรรม” โดยมี “ท้องถิ่น” เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงาน
 

ประชุมคณะทำงานเร่งด่วน สื่อออนไลน์กับเด็ก

   ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดและความฉับไวของการสื่อสารเพียงแค่
ปลายนิ้วสัมผัส นำมาซึ่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อสุขภาวะผู้ใช้งาน โดยเฉพาะกับ “เด็ก” ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากวุฒิภาวะยังไม่เพียงพอและพัฒนาการทางสมองยังเติบโตไม่สมบูรณ์

 
   แน่นอนว่า หากรู้เท่าทันและใช้งานอย่างสร้างสรรค์ สื่อออนไลน์ย่อมเต็มไปด้วยคุณประโยชน์ แต่จากผลการสำรวจเรื่อง “สถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ ประจำปี 2561” โดย กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ทำให้ต้องกลับมาร่วมกันทบทวนเพราะมีข้อกังวล

ขยับมติสมัชชาสุขภาพฯ ใช้กระบวนนำ-พื้นที่เป็นฐาน-บูรณาการขับเคลื่อน

   นัดแรกคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ ด้านสังคมและสุขภาวะ เตรียมสานพลัง ‘พชอ.’ ลุยงานระดับพื้นที่ 50 อำเภอนำร่อง เปิดเวที Kick off เชื่อมโยงกลไกและประเด็น ชาติ-เขต-จังหวัด-พื้นที่ วันที่ 26-27 มิ.ย.นี้ หวังขยับ 5 ประเด็นสำคัญ ผู้สูงอายุ ขยะ อุบัติเหตุ เกษตรปลอดสาร NCDs
 
   มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 81 มติ ที่เกิดขึ้นจากความร่วมไม้ร่วมมือของภาคีเครือข่ายอย่างแข็งขันตลอด 11 ปีเต็ม นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งของการพัฒนาแลขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
 

ถกโครงสร้างกรุยทาง สถาปนาองค์ความรู้

   คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติเปิดประชุมนัดที่ 2 อภิปรายเข้มข้น “กรอบคิด-โครงสร้าง” การสถาปนาองค์ความรู้ท้องถิ่นด้านสุขภาพ พร้อมนำเสนอความคืบหน้าเข้าสู่เวทีวิชาการในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ช่วงปลายปีนี้
 
   การประชุมคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ นัดที่ 2 ของปี 2562 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ซึ่งมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการไว้อาลัยแก่ ผศ.ภญ.สำลี ใจดี กรรมการผู้ล่วงลับ ก่อนจะเข้าสู่การรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท
 

ขึ้นรูป ร่างระเบียบวาระ ลุ้น คจ.สช.เคาะ ‘ทบทวนแร่ใยหิน”

   ที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการ นัดที่ 3 เตรียมเสนอ คจ.สช. พิจารณา “ทบทวนมติสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และเห็นพ้องเดินหน้า “มลภาวะ- PM 2.5” และ “สุขภาพสตรีและครอบครัว”
 
   สาระสำคัญจากวง ประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการ ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทำให้พอเห็นทิศทางและความน่าจะเป็นของ “ร่างระเบียบวาระ” ที่จะเสนอให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พิจารณา เพื่อประกาศในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2562 คือ การทบทวนมติมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน พร้อมพัฒนาอีก 2 ประเด็น คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 และสุขภาพสตรีและครอบครัว

ล็อคเป้า เชื่อมโยง นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขับเคลื่อนมติฯ

   แม้จะยังไม่พรั่งพร้อมและยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน หากแต่ความสำคัญของ “การเดิน” และการใช้ “จักรยาน” ในชีวิตประจำวัน ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในระดับสาธารณะตั้งแต่เมื่อ 7 ปีก่อน ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ซึ่งได้มีฉันทมติร่วมกันใน มติ 5.1 การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เรื่อยมาจนถึงขณะนี้ ชัดเจนว่าผลการขับเคลื่อนอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ เห็นได้จากรูปธรรมพื้นที่ตัวอย่างหรือพื้นที่ที่ใช้จักรยานเดินทางในวิถีชีวิตที่กระจายตัวอยู่ตามชุมชนทุกๆ ภูมิภาค
 

ชงเข้ม! มาตรการ ‘แบน’ แร่ใยหิน

   มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ซึ่งเคยเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ในปี 2553 ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือเพื่อทำการ “ทบทวน” อีกครั้ง ภายหลังสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงไป และผลการศึกษาทางวิชาการมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
 
   เป้าหมายสูงสุดของการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 3.1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน คือการ “แบน” ให้พ้นไปจากประเทศไทย เช่นเดียวกับที่กว่า 60 ประเทศทั่วโลกได้ดำเนินการ เนื่องจากเห็นตรงกันว่า “แร่ใยหิน” มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะฝุ่นผงที่คลุ้งกระจายและส่งผลกระทบโดยตรงต่อปอด และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
 

ลุ้นเคาะ ‘ธีม’ จัดสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 12

   ความพร้อมของการจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ที่จะเปิดฉากในช่วงปลายปีนี้มีมากขึ้นตามลำดับ โดยความคืบหน้าล่าสุดถูกส่งออกมาจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พ.ศ.2561-2562 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา
 
   การประชุมวันดังกล่าว นับเป็นนัดที่ 2 ของ คจ.สช. หลังจากได้ข้อยุติเรื่องสถานที่และกรอบเวลาในการจัดงานไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2562 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

จับมือภาคีเปิดวงขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ
เกาะติด 4PW

   พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราตั้งแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งเข้านอน ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับ NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แทบทั้งสิ้น
 
   ในแต่ละวันเราจึงสุ่มเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันประกอบด้วย เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง มะเร็งชนิดต่างๆ ไม่มากก็น้อย ตั้งแต่หมูปิ้ง-หมูกระทะไหม้เกรียม ไปจนถึงน้ำตาลในกาแฟ น้ำชง ชาไข่มุก หรือความเค็มในมื้ออาหาร ตลอดจนพฤติกรรมเนือยนิ่งบนเก้าอี้ทำงาน และหลังพวงมาลัยรถยนต์
 

หน้า