เกาะติด 4PW

ตอนที่ 2 ระดมสมอง ยับยั้งพฤติกรรมใช้ยา ‘ไม่สมเหตุผล’

   ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำให้ประชาชนเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลมาขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรม “การซื้อยากินเอง” ลดน้อยลง โดยในปี 2558 เหลือเพียงร้อยละ 17.5 ในขณะที่ก่อนหน้านี้เคยสูงถึงร้อยละ 60-80
 
   อย่างไรก็ดี แม้ตัวเลขการซื้อยากินเองลดน้อยลง หากแต่พบว่ามีประชาชนจ่ายเงินเพื่อซื้อยาบำรุงและอาหารเสริมเพิ่มมากขึ้น และถึงแม้ตัวเลขดังกล่าวจะดูไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในอดีต แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือ “การซื้อยากินเอง” ยังถือเป็นทางเลือกแรกๆ ของคนจำนวนมาก
 

ตอนที่ 1 ระวัง! อย่า ‘ซื้อยา’ มาทำร้ายตัวเอง

   เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะขี้เกียจไปหาหมอ เบื่อหน่ายการรอคิว แล้วยังต้องคอยลุ้นตัวเลขค่ารักษาพยาบาลอีก หลายครั้งที่เจ็บป่วยจึงสวมวิญญาณผู้เชี่ยวชาญ เปิดอินเทอร์เน็ตวินิจฉัยอาการ ก่อนจะตัดสินใจซื้อยากินเอง
 
   แต่เราอยากเตือนคุณว่า การซื้อยากินเองเต็มไปด้วยความเสี่ยง เพราะการรักษาแต่ละโรคแต่ละอาการ สัมพันธ์กับความเฉพาะโรค เฉพาะปัจเจกของตัวคุณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ฯลฯ
 
   ฉะนั้น การเดิมดุ่มๆ เข้าไปซื้อยา อาจเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี !!
 

ตอนที่ 4 สำรวจ ‘นานาทัศนะ’ Stakeholders ทุกฝ่ายเห็นพ้องภัยร้ายจาก ‘แร่ใยหิน’

   แม้จะเป็นเวลาเกือบ 1 ทศวรรษของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจาก “แร่ใยหิน” แต่เส้นทางตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่าการขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดเป็นเรื่องที่ยาก
 
   และถึงแม้ว่า ในปี 2553 ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ได้มีฉันทมติร่วมกันใน มติที่ 3.1 เรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และในปีถัดมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบพร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการ “แบนแร่ใยหิน” ภายใน 4 ปี
 

ตอนที่ 3 ต้องรอให้ป่วยเพิ่มอีกเท่าใด สังคมไทยจึงจะ ‘แบน’ แร่ใยหิน

   แม้ว่าจะมีข้อมูลทางวิชาการรองรับอย่างแน่นหนา และถึงแม้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเกือบทั่วทั้งโลกจะเห็นพ้องต้องกันว่า “แร่ใยหิน” คือหายนะต่อสุขภาพที่รัฐสมควรใช้ยาแรง “แบน” ให้หมดไปจากแผ่นดิน
 
   หากแต่จนถึงขณะนี้ สถานการณ์ในประเทศไทยกลับสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะยังคงมีปริมาณการนำเข้าแร่ใยหินมหาศาล โดยตัวเลขปี 2560 พบการนำเข้าสูงถึง 4 หมื่นตัน ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศผู้นำเข้าแร่ใยหินมากที่สุดในโลก
 

ตอนที่ 2 ‘โลก’ ล้อม ‘ไทย’ ... ถึงเวลา ‘แบน’ แร่ใยหินหรือยัง

   ในขณะที่หลายประเทศกำลังทยอยเลิกใช้ “แร่ใยหิน” ประเทศไทยกลับติด “TOP 10” ประเทศผู้นำเข้าแร่ใยหินสูงที่สุดในโลก
 
   เหตุผลเดียวที่นานาประเทศต่างพากันยกเลิกการใช้แร่ใยหินก็คือ “ทำร้ายสุขภาพประชาชน” ขณะที่ประเทศไทยเคยมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2554 ที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่บรรลุผล
 

ตอนที่ 1 ทำไมต้องทบทวนมาตรการ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   ลำพังแค่ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ปกคลุมม่านฟ้า และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ที่ถูกปล่อยออกมาตลอดเวลา ก็ทำลายระบบทางเดินหายใจของเราจนย่ำแย่เต็มทีแล้ว
 
   ทุกวันนี้ มองไปทางไหนก็ยังต้องเจอกับการก่อสร้าง ทั้งตึกรามบ้านช่อง คอนโดสูง โครงการรถไฟฟ้า ถนนหนทาง ฯลฯ อีกมากมาย
 
   ตามตรอกซอกซอยก็ไม่เว้น เราสามารถพบไซต์งานก่อสร้างได้ในทุกที่-ทุกเวลา และทุกครั้งที่เราเดินผ่านหรือเข้าใกล้ นั่นหมายถึง “ความเสี่ยง” ต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ “มะเร็ง”
 

หัวใจการขับเคลื่อนนโยบายผ่านกลไก ‘4PW’

   ที่ประชุมถ่ายทอดประสบการณ์ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านกลไก 4PW พื้นที่ ก่อนจะสรุป “หัวใจความสำเร็จ” 4 ประการ ‘เปิดพื้นที่กลาง-สร้างประเด็นร่วม-ใช้ความรู้นำ-เคลื่อนเป็นขบวน’
 
   เพียง 2 ปี (2560-2562) ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เสริมพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ภายใต้กลไก “คณะทำงาน 4PW ระดับจังหวัด” เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมการขึ้นรูปของประเด็นต่างๆ 82 พื้นที่ทั่วประเทศ รวม 237 ประเด็น
 

หน่วยงานยังมอง ‘นโยบายสาธารณะ’ เป็นแค่ทางเลือก

   สช. เปิดวงสรุปบทเรียนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ผ่านกลไก 4PW ระดับพื้นที่ พบทั้งโอกาสและข้อจำกัดการขับเคลื่อนนโยบายหลายด้าน ที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะของคนในจังหวัด พร้อมเสนอยกระดับจากประเด็น “ทางเลือก” สู่ประเด็นร่วมในระดับจังหวัดและชาติต่อไป
 

‘แลกเปลี่ยนเรียนรู้’ ‘เชื้อดื้อยา-ยุงลาย-ฆ่าตัวตาย’

   เมื่อสุขภาพเป็นสิ่งที่รอไม่ได้ ซ้ำปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยน ส่งผลให้เชื้อโรคและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ฝุ่น หมอกควัน เกิดขึ้นอย่างมากมาย การแพทย์และระบบสาธารณสุขไทยจึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การควบคุม-ป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู ให้มีประสิทธิภาพเท่าทัน จำต้องมีการสานพลังทุกภาคส่วนมาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และครอบคลุมทุกประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องเร่งพัฒนา
 

‘สุขภาวะสังคมสูงวัย’ ต้องทำเป็นอันดับหนึ่ง

   แม้ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จะประกาศใช้มาแล้วเกือบ 12 ปีเต็ม และที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ก็ได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการสานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
เข้ามาร่วมจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมมาโดยตลอด ยกตัวอย่าง การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 11 ครั้ง ซึ่งเกิดเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมากถึง 81 มติ เป็นต้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ “สุขภาวะทางสังคม” อีกเป็นจำนวนมาก

 

หน้า