เกาะติด 4PW

สช. จับมือเพื่อนภาคี ร่วมภารกิจขับเคลื่อน “ต้านมะเร็ง”

   ไม่ว่าใครก็ตาม ล้วนมีความเสี่ยงกับ “มะเร็ง” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
 
   “มะเร็ง” ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ครองแชมป์สาเหตุการตายมานานกว่า 20 ปี และถึงแม้ทุกวันนี้ จะมีการพัฒนายาแบบพุ่งเป้าต่อโรค ตลอดจนมีวิธีการรักษาที่ล้ำสมัย หากแต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว
 
   มะเร็ง...ไม่ใช่เรื่องบาปบุญหรือเวรกรรม แต่เป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม นั่นหมายความว่า มะเร็งสามารถยับยั้งได้ ถ้าเจ้าของสุขภาพมีความตระหนักรู้ และเบนเข็มออกจากปัจจัยเสี่ยง
 

“สานพลัง” สู้ภัย “โควิด-19”

   การแพร่ระบาดของไวรัส COVID–19 นับเป็นความท้าทายระบบสุขภาพทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จนถึงขณะนี้ มีความพยายามจากทุกภาคส่วนอย่างถึงที่สุด เพื่อบรรเทาหรือชะลอไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่การแพร่ระบาดในระยะ 3
 
   แม้ว่าจะมีการประกาศให้ COVID–19 เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 เพื่อเตรียมความพร้อมและติดอาวุธในเรื่องมาตรการป้องกัน หากแต่ความหวาดวิตกของประชาชนยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะความหวาดระแวงระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
 

เปิดวงขับเคลื่อนมติฯ ‘วิถีเพศภาวะ’

   เริ่มนัดแรก! ภาคีเครือข่ายตบเท้าเข้าร่วมหารือขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ ‘วิถีเพศภาวะ’ เปิดพื้นที่กลางแลกเปลี่ยน พร้อมทำความเข้าใจรายละเอียดร่วมกัน
 
   เพียงแค่สองเดือนเศษ นับจากที่สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีฉันทมติร่วมกันในระเบียบวาระ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ภายในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จนถึงวันนี้
 

เคาะแล้ว! ‘วัน-สถานที่’ สมัชชาสุขภาพฯ ปีนี้

   เตรียมพร้อม! งานสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 13 คจ.สช. ถกนัดแรก เคาะวันจัดงาน 16 - 18 ธันวาคม ปลายปีนี้ ณ อิมแพ็ค เมืองทอง
 
   เรียกได้ว่าคึกคักตั้งแต่ต้นปี สำหรับการเตรียมความพร้อมจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 ที่มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) พ.ศ.2563 - 2564 รับไม้ต่อจาก นพ.กิจจา เรืองไทย ประธาน คจ.สช. พ.ศ.2561 - 2562
 

‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ครบเครื่องเรื่อง ‘ตายดี’

   เราคงไม่อ้อมค้อมที่จะชักชวนคุณมาร่วมงาน สร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 ก.พ. 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดี กรุงเทพมหานคร
 
   “สร้างสุขที่ปลายทาง” เป็นมหกรรมระดับชาติว่าด้วยการตายดี ที่จะพูดถึงความตายในทุกเหลี่ยมมุม ช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย และการเผชิญวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบสุข
 
   สำหรับใครหลายคน ‘ความตาย’ อาจเป็นสิ่งที่เร้นลับและน่าสะพรึงกลัว แต่ถ้าคุณมีความเข้าใจและพิจารณาความตายด้วยความประณีตแล้ว ความตายคือส่วนเติมเต็มให้ทุกชีวิตสมบูรณ์ เป็นความงอกงามในท้ายที่สุด
 

คลอด ‘ตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ’ ชุดแรกของประเทศไทย

   “สช. – IHPP - ภาคีเครือข่าย” สานพลังสร้างตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ ชุดแรกของประเทศไทย เดินหน้าเก็บข้อมูลที่พร้อมทันที
 
   แม้ว่าลึกๆ แล้ว ทุกคนอาจจะออกแบบหรือวาดภาพ “ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์” ไว้ในใจ แต่ทว่านับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยกลับไม่เคยมี “ตัวชี้วัด” ในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ นั่นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบให้ได้ว่า ระบบสุขภาพของไทยเดินมาจากจุดไหน และกำลังจะไปที่ไหน หรือระบบสุขภาพของไทยเดินทางมาถึงตรงไหนแล้ว
 

จับสัญญาณรื้อฟื้น FTA ‘ไทย-อียู’

   เปิดวงถก “คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ” นัดแรก เน้นหนักนโยบาย “เมดิคัลฮับ” พร้อมจับตาการรื้อฟื้น FTA ไทย-อียู
 
   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ข้อตกเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ไทย-สหภาพยุโรปในอดีต ที่แฝงมาด้วยการผูกขาดสิทธิบัตรยา ซึ่งจะกระทบต่อราคายา และการเข้าถึงยาของประชาชนในภาพกว้าง
 

‘สร้างสุขปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ปักธงสร้างความเข้าใจการดูแลแบบประคับประคอง

   แม้ว่าทุกวันนี้การแพทย์จะรุดหน้าไปมาก แต่ถึงอย่างไรแล้วเราก็คงหนีไม่พ้นวาระสุดท้ายของชีวิต การเผชิญหน้ากับความตายอย่างกล้าหาญ เข้าใจ และมีศักดิ์ศรี จึงเป็นโจทย์แหลมคมที่เราควรครุ่นคิดกันตั้งแต่วันนี้
 
   คำถามคือ ในช่วงสุดท้ายก่อนจะออกเดินทางไกล เราปรารถนาที่จะเห็นตัวเองอยู่ในสภาพใด? ระหว่างการนอนอยู่ท่ามกลางสายระโยงระยางในโรงพยาบาล หรือพักผ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่นที่เราคุ้นชิน
 

ระดมสมอง กรุยทางสู่ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์

   สช. เปิดวงรับฟังความคิดเห็น “ร่าง ชุดตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559” กรุยทางสู่ระบบสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศ
 
   ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ หรือ “Health in All Policies” คือเส้นทางของระบบสุขภาพทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นถนนเส้นเดียวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ภายใต้การนำของ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) คนปัจจุบัน
 

ยกเครื่อง ‘บัญชีรายการ’ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

   เมื่อ 12 ปีก่อน หรือในปี 2550 ประเทศไทยมีการออก พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นต้นทางของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ “ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์” ที่กำหนดสิทธิประโยชน์รายการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 26 รายการ
 
   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมา กองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุน จะให้สิทธิประโยชน์ที่จำเป็นแก่คนพิการแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับยังพบความเหลื่อมล้ำ และสิทธิประโยชน์บางรายการก็มีอุปสรรคขวางกั้นจนไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

หน้า