โควิด19

บทเรียนโควิด-19 นำมาจัดการวิกฤต เน้นพลังพลเมืองตื่นรู้
บทเรียนโควิด-19 นำมาจัดการวิกฤต

   ท่ามกลางโควิด-19 ที่กลับมาระลอกใหม่ หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 คือเวทีเสวนา “ก้าวผ่านวิกฤตโควิด ... สู่วิถีชีวิต และการจัดการใหม่ร่วมกัน” ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนรูปธรรมการสานพลังเพื่อฟันฝ่าวิกฤตสุขภาพในครั้งนี้
 
   ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บอกว่า สถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลกยังอยู่ในขาขึ้นและไม่คงที่ โดยสถิติล่าสุดขณะนี้คือทุก 3 วัน จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากถึง 1 ล้านราย ขณะที่อัตราการเสียชีวิตทะลุ 1 หมื่นรายต่อวัน
 

‘ทีโดรส’ ยกย่องเวที ‘สมัชชาสุขภาพไทย’ บันทึกเป็น ‘ผลงานเด่น’ ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก

   “อนุทิน” เปิดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ย้ำบทเรียนความสำเร็จคุมโควิด-19 ของไทย เกิดจากบูรณาการทุกภาคส่วน ชี้สงครามโรคครั้งนี้ยังไม่ยุติ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ชี้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพไทย เป็นกลไกที่ทรงพลัง พร้อมบันทึกเป็น “ผลงานเด่น” ในคู่มือ WHO เผยแพร่ทั่วโลก
 

เปิดฉากสมัชชาสุขภาพฯ ’13 ชงมติ ‘ความมั่นคงทางอาหาร-จัดการโรคระบาดใหญ่’ รับมือวิกฤตการณ์ในอนาคต

   เริ่มแล้ว! งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 หวังเป็นต้นแบบการประชุมระดับประเทศในยุค New Normal ที่ประชุมถก 2 ระเบียบวาระ ‘ความมั่นคงทางอาหาร-จัดการโรคระบาดใหญ่” เดินหน้าสร้างนโยบายสาธารณะฯ กรุยทางสู่การทำข้อเสนอเพื่อรับมือวิกฤตการณ์อนาคต
 

วงถกฯ ยก NCDs เป็นโรคติดต่อทางสังคม เทียบชั้นโควิด-19 แนะปรับพฤติกรรมกิน-อยู่-รู้ทันโรคเรื้อรัง

   สัปดาห์สมัชชาสุขภาพฯ เวที “กินอยู่ รู้ทันโรคเรื้อรัง” ปลุกประชาชนบอกลาพฤติกรรมเนือยนิ่ง ที่ปรึกษา สปสช. แนะ เดินวันละ 5,000 ก้าว สู้โรคหลอดเลือด-ความดัน-เบาหวาน-มะเร็ง-ปอดอุดกั้น ด้านรองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชี้ NCDs นับเป็นโรคติดต่อทางสังคม ส่งผ่านสู่ลูกได้โดยพ่อแม่
 

“พัทยา - สช.” จับมือขับเคลื่อน ‘สมัชชาสุขภาพเมืองพัทยา’ วางมาตรการรับมือ ‘นักท่องเที่ยว’ ยุคโควิด-19

   “พัทยา - สช.” ประสานความร่วมมือเตรียมจัด “สมัชชาสุขภาพเมืองพัทยา” หวังจัดทำนโยบายสาธารณะสร้างสมดุลเศรษฐกิจ-สังคม-สุขภาพ พร้อมวางมาตรการรับมือ “เปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว”ยุคโควิด-19
 

สช. ชวนภาครัฐ 3 ประเทศ ไทย-เมียนมาร์-บังคลาเทศ สรุปบทเรียนสู้ภัยโควิด-19 ด้วยการสานพลัง

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง The Role of Government in multi-sectoral collaboration in response to COVID-19 เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนภาครัฐจาก 3 ประเทศ ไทย-บังคลาเทศ-เมียนมาร์ ร่วมสะท้อนมุมมอง และมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาครัฐ ประชาสังคม วิชาการ เยาวชน องค์การระหว่างประเทศ จากประเทศไทย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ตูนีเซีย อินเดีย ซึ่งวงเสวนาเห็นตรงกันว่า “พลังความร่วมมือกับหลายภาคส่วน” หนุนการทำงานภาครัฐได้เป็นอย่างดี ด้านบังคลาเทศระบุการระดมทรัพยากรมาใช้ร่วมกันคือหัวใจของความสำเร็จ ขณะที่เมียนมาร์เสนอสร้างความเข้มแข็งระบบหลักประก

พลังพลเมืองตื่นรู้กับภารกิจขับเคลื่อน ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ วาระแห่งชาติในสมัชชาสุขภาพฯ ปีนี้
พลังพลเมืองตื่นรู้กับภารกิจขับเคลื่อน ‘ความมั่นคงทางอาหาร’

   วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หลายชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบทต่างต้องหาวิธีจัดการเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ให้ได้ เนื่องจากปัญหาปากท้องเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม
 

สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’
สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ สมัชชาสุขภาพฯ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’

   สช. จับมือภาคีเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ความมั่นคงทางอาหาร-โรคอุบัติใหม่” เพื่อพัฒนาข้อเสนอสู่การจัดทำระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 โดยภาคีเครือข่ายเสนอตั้ง “ครัวชุมชน-ธนาคารอาหาร” รับมือวิกฤต ด้านอาจารย์แพทย์จุฬาฯ ชงถอดบทเรียนโควิด-19 สู่การทำ “บันทึกการทำงาน” เพื่อใช้รับมือโรคระบาดในอนาคต
 

‘สช. พร้อมภาคีฯ ปักหมุด สู้! โควิด-19’ บทพิสูจน์พลังพลเมืองตื่นรู้ฯ ตอกย้ำศักยภาพ ‘ชุมชน’

   ร่อนตะแกรงความสำเร็จปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19” พิสูจน์ชัด “อำนาจอ่อน” ช่วยหนุนเสริมมาตรการรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ “สช.” ปักหมุดความยั่งยืน เดินหน้ายกระดับจากประชาชนจิตอาสา สู่การมี “สำนึกพลเมือง” ที่รับผิดชอบต่อสังคม
 
   การร่วมหัวจมท้ายของทุกภาคส่วนอย่างเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับ “โควิด-19” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้ “อำนาจอ่อน” (Soft Power) เพื่อหนุนเสริมการทำงานของ “อำนาจแข็ง” (Hard Power) ที่กลายมาเป็นจุดแข็งและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ควรค่าแก่การบันทึกไว้
 

หน้า