คุยกับเลขา

อำลา

   คุยกับเลขาฉบับนี้ เป็นฉบับสุดท้ายของผมในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
 
   ผมมาทำงานปฏิรูประบบสุขภาพต่อเนื่องนาน 16 ปีเศษ ตั้งแต่เป็น ผอ. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) 7 ปี เป็นเลขาธิการ คสช. 8 ปีเศษ นับว่ายาวนานทีเดียว
 
   การได้มีโอกาสทำงานสำคัญนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
 

สานพลังรับมือสังคมสูงวัย

   วันนี้สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก เมื่อ30-40 ปีก่อน คนมีลูกมาก ยากจน แต่มาวันนี้ คนมีลูกน้อย ที่พร้อมไม่ค่อยท้อง ที่ท้องไม่ค่อยพร้อม แต่คนจนก็ยังมาก
 
   วันนี้มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 15แล้ว อีกเพียง 5 ปีจะมีเพิ่มเป็นร้อยละ 20 และในปี 2578 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 30
 
   สังคมไทยสูงวัย(ชรา)อย่างรวดเร็ว คนวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง เด็กเกิดน้อย ในขณะที่สังคมต้องการการผลิต การทำงาน และการพัฒนาทุกสาขาเพิ่มมากขึ้นไปตามโลก
 

ใบไม้ต้นเดียวกัน

   เมื่อปลายเดือน กพ.59 รมว.สธ. (ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร) เชิญผู้บริหาร สช.,สปสช.,สวรส.,สสส.,สรพ.,สพฉ. พร้อมกับปลัด กสธ.,รองปลัดฯ และทีมบริหารของ รมต. (ผช.รมต.,ที่ปรึกษา) ประชุมร่วมกัน เพื่อรับฟังงานของแต่ละองค์กร ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันแบบสานพลัง (synergy) ให้ไปในทิศทางเดียวกัน สู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างสุขภาวะของคนไทย
 
   องค์กรเหล่านี้คือทุนของประเทศที่เป็นองคาพยพเดียวกันในระบบสุขภาพแห่งชาติ คือ "ใบไม้ต้นเดียวกัน"
 

หนุนเสริมเติมกัน

   พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายสุขภาพ (Health) ว่าเป็นเรื่องสุขภาวะ 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม สอดคล้องความเป็นจริงที่ว่าเรื่องสุขภาพ มิใช่แค่เรื่องมดหมอ หยูกยา การแพทย์และการสาธารณสุข (Public Health) เท่านั้น
 
   นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีกลไกและเครื่องมือที่เปิดให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy) ซึ่งกว้างกว่าเรื่องนโยบายด้านสาธารณสุข (Public Health Policy) ที่มีกระทรวงสาธาณสุขดูแลเป็นหลักอยู่แล้ว
 

สุขภาพในกรอบแนวคิดใหม่

   ถ้ามองด้วยกรอบความคิดเดิม สุขภาพมีความหมายเกี่ยวกับเรื่องมดหมอ หยูกยา การป่วยไข้และการรักษาพยาบาล การสาธารณสุข สุขศึกษา การฉีดวัคซีน การจัดการงานสุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรค เป็นอาทิ
 
   เป็นกรอบคิดที่มองเรื่องสุขภาพเชื่อมโยงกับวิทยาการด้านชีวการแพทย์ (Biomedical) เป็นหลัก แต่ในความจริง สุขภาพเป็นผลรวมของการพัฒนาทั้งปวง ทุกระบบ ทุกเรื่อง ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งสิ้น เรียกภาษาวิชาการว่าปัจจัยทางสังคมที่กระทบต่อสุขภาพ (Social Determinants of Health)
 

ให้เลี้ยงเป็ดและสุกร!

   เป็นความเข้าใจกันมานานแล้วว่า นโยบายสาธารณะหมายถึงทิศทาง แนวทาง ข้อกำหนด และการกระทำของรัฐบาล ราชการ หน่วยงาน และผู้มีอำนาจ ว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนและสังคม มีทั้งที่เขียนไว้ในแผน ในคำแถลงต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ
 
   เมื่อปี ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีจึงต้องเรียกประชุมชาวบ้าน ประกาศว่า “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร”
 
   นั่นเป็นนโยบายสาธารณะแนวดิ่ง เป็นนโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งที่มองประชาชนเป็นเพียงผู้รับนโยบายและรับผลจากนโยบาย เป็นแนวคิดเก่าของการอภิบาลโดยรัฐ (governace by government)
 

หน้า