คุยกับเลขา

ศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจชุมชนคลองเตย ตัวอย่างพลังพลเมืองที่ตื่นรู้กับการจัดระบบควบคุม ป้องกันโรคในชุมชน

   สวัสดีครับเพื่อนภาคีเครือข่ายทุกท่าน สถานการณ์โควิด-19 ระลอกสามในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ ยังคงน่าวิตกอย่างยิ่ง ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันมากกว่า ๑,๕๐๐ คนตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน และทะลุ ๒,๐๐๐ คนต่อเนื่องหลายวัน สูงสุดถึง ๒,๘๓๙ คนในวันที่ ๒๔ เมษายน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ ต่อเนื่องมาถึงวันที่ ๒ มีผู้ป่วยเสียชีวิตตกวันละ ๒๑ คน ตามด้วยวันที่ ๓ เพิ่มขึ้นเป็น ๓๑ คน นับเป็นสถิติสูงสุดของไทย จากเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษที่นักวิชาการว่าข้ามมาจากกัมพูชาทางชายแดนด้านตะวันออก ขณะที่สายพันธุ์อ

เร่งสร้างมาตรการของประชาชน-สร้างภูมิคุ้มกันสังคม สู้ภัยโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

   สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ก่อนหน้าดูเหมือนว่ากำลังจะคลี่คลายและลดระดับความรุนแรงลงหลังจากที่สามารถควบคุมการระบาดระลอกที่สองที่เริ่มจากแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาครและขยายไปยังจังหวัดต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพฯได้ แต่กลับมาระบาดใหม่อีกครั้งเป็นระลอกที่สามเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นการแพร่ระบาดที่เริ่มต้นที่สถานบันเทิงของกลุ่มคนชั้นสูง มีฐานะ ใจกลางกรุงเทพฯ และแพร่กระจายเกือบครบทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว เป็นการระบาดของไวรัสที่ได้รับการยืยยันแล้วว่าเป็น “สายพันธุ์อังกฤษ” ซึ่งนอกจากจะระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติถึง ๑.๗ เท่าแล้ว ผู้ติดเชื้อครั้ง

ออกแบบ ‘อนาคต’ ตามบริบทของพื้นที่ ด้วยเครื่องมือ ‘สมัชชาฯ’

   สวัสดีครับพี่น้องภาคีเครือข่ายทุกท่าน ในเดือนกันยายนนี้จะมีการจัดประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit) ขึ้น โดยประเทศไทยจะไปนำเสนอแผน “Food System Transformation” ซึ่งมีสาระสำคัญเชื่อมร้อยกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต” เมื่อปีที่ผ่านมา
 

‘เมียนมา’ ดูแล ‘เมียนมา’ พลังสำคัญหนุนเสริมมาตรการคุม ‘โควิด’

   เพื่อนภาคีเครือข่ายทุกท่านครับ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกสอง ที่รวดเร็ว รุนแรง และจะยาวนานกว่าในระลอกแรกนั้น ผมมั่นใจว่า การร่วมไม้ร่วมมือของทุกภาคส่วนในการกำหนดมาตรการระดับพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมมาตรการของภาครัฐนั้น เป็นแนวทางสนับสนุนการคลี่คลายปัญหาได้อย่างถูกจุด และตรงประเด็นเป็นอย่างมาก
 
   เพื่อนภาคีเครือข่ายทุกท่านครับ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกแรกและระลอกสอง มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง
 

ความเชื่อมั่นและจับมือกันของภาครัฐกับประชาชน เป็นสิ่งจำเป็นในการควบคุมการระบาดของวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่

   เพื่อนภาคีเครือข่ายและกัลยาณมิตรทุกองค์กรครับ ... การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ จ.สมุทรสาคร และอีกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีความเร็ว แรง และอาจยาวนานมากขึ้นจนเป็นวิกฤตใหญ่ของประเทศได้
 
   ผลกระทบทั้งทางด้านสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ กำลังขยายวงกว้างและน่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ จากความแตกตื่น แตกแยกความคิดของประชาชนในพื้นที่นำไปสู่การกล่าวโทษ ละเลยความช่วยเหลือที่จำเป็น และขาดการให้กำลังใจแก่กลุ่มเปราะบางที่พักอาศัยในสภาพแวดล้อมแออัดและอยู่ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้
 

พลเมืองที่ตื่นรู้คือพลังสู้วิกฤตสุขภาพ

   สวัสดีครับ ... สานพลังฉบับนี้ ได้ทีมจัดทำเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ความคิดกว้างไกล และมีการเพิ่มคอลัมน์ ปรับทั้งรูปแบบและเนื้อหาให้ทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลายอย่างที่ไม่เคยเห็นก็จะได้เห็น และภายใต้วิกฤตของประเทศที่ผู้รู้หลายสำนักบอกว่าเดือนธันวาคมนี้จะหนักสุด ผมขอชวนเพื่อนๆ คุยเรื่อง “พลเมืองตื่นรู้ คือพลังสู้วิกฤตสุขภาพ (ประเทศ)”
 

พลังพลเมืองตื่นรู้...สู้วิกฤติสุขภาพ

   วิกฤตโรคระบาดและผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ผสมกับวิกฤตรัฐธรรมนูญและการเมืองกระทบต่อการจัดการและศรัทธาของคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ ทำให้เกิดคนจนและประชากรเปราะบางกลุ่มใหม่ ถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตและซ้อนวิกฤตที่ยากแก่การล้มแล้วจะลุกไว ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสมัชชาเฉพาะประเด็น หรือเฉพาะพื้นที่ เป็นตัวอย่างของการเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนานโยบาย กำหนดอนาคตของตนเองและของพื้นที่ ผมขอชวนเพื่อนๆ ติดตามความคืบหน้าและลงรายละเอียดเพิ่มเติมของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ เพราะงานใกล้งวดเข้ามาทุกทีแล้วครับ
 

พลังการมีส่วนร่วม

   สวัสดีครับ... วิกฤตเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศ และความตื่นตัวข้อกำหนดอนาคตและแก้วิกฤตประเทศของเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนคนรุ่นใหม่ สอดคล้องกับธีมงานหรือประเด็นหลักของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ ที่กำหนดไว้ว่า “พลังพลเมืองตื่นรู้ สู้วิกฤตสุขภาพ” ผมจึงอยากชวนเพื่อนภาคีเครือข่ายคุยเรื่องความเป็นพลเมืองตื่นรู้ และความสำคัญที่ประเทศต้องมีและทุกภาคส่วนต้องสนับสนุนให้เกิดพลเมืองตื่นรู้ให้เต็มพื้นที่
 

ความเท่าเทียมทางเพศ คนละเรื่องเดียวกันกับหลักประชาธิปไตย

    สวัสดีครับ ช่วงเดือนที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวหนึ่งที่สังคมพูดถึงกันอย่างมาก คือ การขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศกับการเรียกร้องประชาธิปไตย์เป็นเรื่องเดียวกันได้ เมื่อภาพประวัติศาสตร์ผืนธง Pride ธงสีรุ้งผืนใหญ่ ถูกชูขึ้นเคียงคู่กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย์เป็นครั้งแรก เมื่อเย็นวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ๓ ข้อได้แก่ ยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มเยาวชนปลดแอก และสนับสนุนข้อเรียกร้องยืนยันความเท่าเทียมทางเพศ แก้กฎหมายให้เกิดการสมรสเท่าเทียม สอดรับกับม

ยิ่งให้ ยิ่งได้

   สังคมที่น่าอยู่ และยั่งยืน ต้องเป็นสังคมที่เกื้อกูล แบ่งปันกันเหมือนที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้วประเทศในช่วงเวลาที่คนไทยได้รวมพลังเป็นพลเมืองตื่นรู้ สู้ภัยโควิด-19 และเกิดปรากฎการณ์ในลักษณะ “ยิ่งให้ ยิ่งได้” มีตัวอย่างมากมายปรากฎสู่สังคม
 

หน้า