คุยกับเลขา

สมัชชาพลเมืองตื่นรู้ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชนจากวิกฤตโควิด-19

   เมื่อคืนวันที่ ๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา สังคมไทยได้สูญเสียนักการแพทย์และสาธารณสุขที่ยิ่งใหญ่ของโลก ศ.นพ.อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานการสาธารณสุขมูลฐานของไทย ผู้ให้กำเนิดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) ที่เป็นกำลังสำคัญช่วยไทยให้พ้นวิกฤตสุขภาพครั้งแล้วครั้งเล่า และพ้นภัยโควิด-19 ท่านอาจารย์จากไปด้วยวัย ๙๒ ปี
 

สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19

   สวัสดีครับ...นิตยสารสานพลังฉบับนี้ ผมอยากชวนเพื่อนภาคีแลกเปลี่ยนเรื่อง “สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19” หลังจากรัฐบาลได้ใช้มาตรการค้อนเหล็ก เน้น Social distancing ปิดการเดินทางเข้าออกประเทศและบางจังหวัด ปิดสถานประกอบการและปิดกิจกรรมรวมคนทุกประเภท ร่วมกับมาตรการของประชาชนภายใต้ข้อตกลงร่วมหรือธรรมนูญประชาชน ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19 หรือที่เรียกชื่ออื่น ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง และการยินยอม พร้อมใจ มีส่วนร่วมของประชาชน อาสาสมัคร องค์กรชุมชน เครือข่ายประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ทุกตำบล ชุมชน หมู่บ้าน ทำให้ประเทศไทยขึ้นอันดับเป็นประเทศท

รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19

   นิตยสารสานพลังฉบับนี้ สู่สายตาเพื่อนภาคีเครือข่ายและท่านผู้อ่านขณะที่ประเทศไทยอยู่ในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการ Lockdown กรุงเทพมหานคร ค่อยๆเข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งจังหวัดต่างๆ กำลังทยอยปิดตาม เพื่อรับมือกับการะบาดของโรคโควิด19 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นจนเป็นวิกฤตของประเทศ ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศกำลังขยายวงน่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญไวรัสกำลังเดินทางเข้าสู่ชุมชนหมู่บ้านทั่วประเทศที่เป็นแหล่งรวมของผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงสูงนี้เมื่อป่วยเป็นโรคโควิด19 จะมีอาการรุนแรงมาก เป็นภาระงานหนักมากของโรงพยา

สตรี “สตรอง” รู้ทัน...ปกป้อง “สิทธิ”

   สวัสดีครับ...นิตยสารสานพลังฉบับต้อนรับวันสตรีสากล ๘ มีนาคม ๒๕๖๓ ผมขอขึ้นต้นและลงท้ายด้วย สตรี “สตรอง” รู้ทัน...ปกป้อง “สิทธิ” ย้อนรำลึกถึงตำนานการลุกขึ้นสู้ของสตรี เริ่มตั้งแต่กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้ารัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ลุกขึ้นประท้วงขอเพิ่มค่าแรงและเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่เหตุการณ์นั้นผู้หญิงกว่าร้อยรายก็ต้องจบชีวิตลงเนื่องจากมีการลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่ชุมนุมกัน ตามด้วยการต่อสู้ของกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก เพราะทนไม่ไหวต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง จากที่ต้องทำงานหนักวันละ ๑๗ ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ไม่มีสวัสดิการใดๆ และการต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่าเ

เดือนแห่งความรัก

   ไม่แน่ใจว่าช่วงเวลาที่เพื่อนภาคีและท่านที่กำลังอ่าน “นิตยสารสานพลังนี้” เจ้าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกกันเป็นรหัสว่า 2019-nCoV เพราะเกิดครั้งแรกเมื่อปลายปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ตอนกลางของจีน และแพร่กระจายจากคนสู่คน ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมทั้งประเทสไทยด้วย ว่าจนถึงขณะนี้จะสามารถควบคุม และหยุดการระบาดได้แล้วหรือไม่ แม้ว่าองค์การอนามัยโลก และนานาประเทศต่างชื่นชมรัฐบาลจีนที่ดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้อย่างรวดเร็วและจริงจังตามมาตรฐานการควบคุมโรคระบาดในระดับสากล ช่วยให้ไม่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเหมือนการระบาดของไวรัสอื่นที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยเราหลายภาคส่วนน

วิถีเพศภาวะ

   นิตยสารสานพลัง ฉบับนี้ยังคงอยู่ในบรรยายกาศของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ ภายใต้ธีมงาน “ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ” ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๐ ธันวาคม นี้ ซึ่งมี ๔ ระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกว่าสามพันคนจากผู้แทนทุกภาคส่วนทั่วประเทศ และที่ Hot Hit มากที่สุดคือระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องวิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว (Gender Approach: Family Health Empowerment) ที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทยและดูห่างไกลจากคนส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้วมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างสุขทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม เป็นเรื่อ

ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ

   นิตยสารสานพลัง ฉบับนี้ถือเป็นฉบับปฐมฤกษ์ที่แปลงโฉมมาจาก นสพ.สานพลัง เพื่อให้เนื้อหาเข้มข้นครอบคลุมมากขึ้นและปรับรูปเล่มให้ง่ายกับการหยิบอ่านมากขึ้น รวมทั้งมีการพิมพ์เป็นรูปอิเล็กทรอนิกส์ให้ง่ายกับการติดตามด้วย และเนื่องจากงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ ภายใต้ธีมงาน “ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ” ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๐ ธันวาคม นี้ ใกล้เข้ามาถึงแล้ว และขณะนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้เคาะ ๔ ระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้แล้ว ประกอบด้วย ๑.ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ๒.ว

สช. เติบใหญ่ สร้างบ้าน และสร้างงาน

   วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ เป็นวันแรกของปีงบประมาณใหม่ และเป็นวันแรกที่ผมได้เริ่มงานในหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ร่วมกับทีมงานเจ้าหน้าที่ สช. และจะมีโอกาสร่วมงานกับเพื่อนๆ ภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในพื้นที่ แทน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ที่ลาออกไปเพราะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งที่ผ่านมาอดีตเลขาธิการ คสช. นับแต่ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ต่อด้วย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป และทีมงาน สช. ร่วมกับเพื่อนภาคีเครือข่ายทั้งในระดับชาติและพื้นที่ ได้สร้างผลงานให้ สช. จนเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนของประเทศ ดังนั้นภารกิจของผมจึงเน้นที่จะสานและต่อยอดงานภายใต้แนวคิดว่า “สช.

“สานต่อและต่อยอด”

   ผมคิดว่า 4 ประเด็นใหญ่ๆ ที่จะดำเนินการ ประเด็นแรกคือ ที่จริงแล้ว สช. ไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการทั่วๆ ไป แต่เป็นหน่วยงานแบบใหม่ แต่ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานแบบใหม่นี้กลับได้รับการกระทบหรือความเสียหายจากความพยายามถูกดึงให้ไปเป็นหน่วยงานราชการแบบเก่า ซึ่งผมคิดว่าจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยถ้ากลับไปเป็นแบบนั้น
 

เล่า...เรื่องของ สช.

   เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่มีการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกนับตั้งแต่มีรัฐบาลชุดใหม่ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในที่ประชุม นายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีในนามของ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)
 

หน้า