สมัชชาสุขภาพ

เปิดสมัชชาสันติภาพสี่จังหวัดชายแดนใต้

   จากสถานการณ์ความไม่สงบ ความรุนแรง และการสูญเสียชีวิตในสี่จังหวัดชายแดนใต้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงได้จับมือกับสภาประชาสังคมชายแดนใต้ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส. มอ.) และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) สร้างกลไกการมีส่วนร่วมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพทุกกลุ่มวัย และสร้างสันติภาพผ่านเครื่องมือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
 

ตอนที่ 3 ความละเอียดอ่อนทาง ‘เพศ’ คือต้นทางสร้าง ‘สุขภาวะครอบครัว’

   อีกเพียง 2 เดือน งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ก็จะเปิดฉากขึ้น โดยปีนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้ประกาศระเบีบบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาจัดทำเป็นนโยบายสาธารณะใน 4 เรื่องใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ “วิถีเพศภาวะ : เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว” ที่นับเป็นรากฐานของการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และมีความสำคัญเชิงประเด็นในระดับนานาชาติ
 

ตอนที่ 2 ‘วิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว’

   แม้ว่าประเทศไทยจะรับ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ที่ยืนยันหลักการว่าการเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และถึงแม้ว่าที่ผ่านมารัฐไทยจะส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศ และพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก “เพศภาวะ”
 
   ย้อนกลับไปราว 17-18 ปีก่อน คือในปี 2544 ทุกกระทรวงในประเทศไทย (ยกเว้นกระทรวงกลาโหม) ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point : GFP) ขึ้น ทำหน้าที่สร้างความเข้าใจให้ข้าราชการ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในประเด็นเพศภาวะ
 

ตอนที่ 1 ทุกเพศมีความแตกต่าง : ถ้าเข้าใจกันก็มีสุข

   สำหรับบรรดาเหล่าพ่อบ้าน-คุณสามีทั้งหลาย ลองได้มีโอกาสได้รวมรุ่นตั้งกลุ่มสังสรรค์กับพวกพ้องแบบปล่อยแก่ เดาได้เลยว่าบทสนทนาที่นำมาซึ่งความคึกคะนองหนีไม่พ้นเรื่องการ “นินทาภรรยา”
 
   เรื่องที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุย หรือล้อเลียนกันอยู่ในวงบ่อยครั้ง คือเรื่องความเจ้าอารมณ์ของผู้หญิง ความแปรปรวน หงุดหงิดง่าย เราคุ้นชินและออกไปทางขำขันกับประโยคที่ว่า “ไม่รู้เมียหรือแม่กันแน่” โดยที่ไม่ได้คิดอะไร
 

รวมพลังชุมชนต้านมะเร็ง

   รู้หรือไม่ว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทยมาตั้งแต่ปี 2541
 
   สถิติของผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง คิดเป็นร้อยละ 16 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือประมาณ 78,540 รายต่อปี สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ปัจจุบันไทยครองแชมป์อันดับ 1 ของโลกเสียอีก
 
   ยิ่งไปกว่านั้น มะเร็งยังครองแชมป์ 20 ปีซ้อน ในฐานะสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย เพชฌฆาตรายนี้ปลิดชีพผู้ป่วยชาวไทยเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 ศพ
 

ตอนที่ 2 ลัดเลาะเวทีรับฟังความคิดเห็น ‘รวมพลังชุมชนต้านมะเร็ง’

   มุกตลกที่ได้ยินบ่อยๆ “มะเร็ง (มา-เล็ง) ไม่น่ากลัวเท่ามายิง” ชักจะไม่ค่อยขำแล้ว เพราะทุกวันนี้อัตราการเสียชีวิตของ ‘มะเร็ง’ น่าจะสูงกว่ามายิงแน่นอน เพราะ ‘มะเร็ง’ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยตลอด 20 ปี ไม่เคยมีโรคใดล้มแชมป์ได้
 

ตอนที่ 1 ‘รวมพลังชุมชนต้านมะเร็ง’ ล้มแชมป์สาเหตุการตาย 20 ปีซ้อน

   รู้สึกไหมว่าทุกวันนี้คนรอบข้างหรือคนที่รู้จักป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ?
 
   หลายต่อหลายครั้งที่เราได้ยินข่าวคราวว่ามีเพื่อนพ้อง-ญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็ง เปิดรับสื่อหรือมองไปทางไหนก็เจอแต่มะเร็ง และถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่มีใครอยากเป็น แต่มะเร็งก็ได้ขึ้นแท่นโรคยอดฮิตโรคหนึ่งของคนไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 
   มะเร็งครองแชมป์ 20 ปีซ้อน ในฐานะสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย เพชฌฆาตรายนี้ปลิดชีพผู้ป่วยชาวไทยเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 ศพ
 

ตอนที่ 2 ระดมสมอง ยับยั้งพฤติกรรมใช้ยา ‘ไม่สมเหตุผล’

   ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำให้ประชาชนเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลมาขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรม “การซื้อยากินเอง” ลดน้อยลง โดยในปี 2558 เหลือเพียงร้อยละ 17.5 ในขณะที่ก่อนหน้านี้เคยสูงถึงร้อยละ 60-80
 
   อย่างไรก็ดี แม้ตัวเลขการซื้อยากินเองลดน้อยลง หากแต่พบว่ามีประชาชนจ่ายเงินเพื่อซื้อยาบำรุงและอาหารเสริมเพิ่มมากขึ้น และถึงแม้ตัวเลขดังกล่าวจะดูไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในอดีต แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือ “การซื้อยากินเอง” ยังถือเป็นทางเลือกแรกๆ ของคนจำนวนมาก
 

ตอนที่ 1 ระวัง! อย่า ‘ซื้อยา’ มาทำร้ายตัวเอง

   เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะขี้เกียจไปหาหมอ เบื่อหน่ายการรอคิว แล้วยังต้องคอยลุ้นตัวเลขค่ารักษาพยาบาลอีก หลายครั้งที่เจ็บป่วยจึงสวมวิญญาณผู้เชี่ยวชาญ เปิดอินเทอร์เน็ตวินิจฉัยอาการ ก่อนจะตัดสินใจซื้อยากินเอง
 
   แต่เราอยากเตือนคุณว่า การซื้อยากินเองเต็มไปด้วยความเสี่ยง เพราะการรักษาแต่ละโรคแต่ละอาการ สัมพันธ์กับความเฉพาะโรค เฉพาะปัจเจกของตัวคุณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ฯลฯ
 
   ฉะนั้น การเดิมดุ่มๆ เข้าไปซื้อยา อาจเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี !!
 

ตอนที่ 4 สำรวจ ‘นานาทัศนะ’ Stakeholders ทุกฝ่ายเห็นพ้องภัยร้ายจาก ‘แร่ใยหิน’

   แม้จะเป็นเวลาเกือบ 1 ทศวรรษของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจาก “แร่ใยหิน” แต่เส้นทางตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่าการขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดเป็นเรื่องที่ยาก
 
   และถึงแม้ว่า ในปี 2553 ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ได้มีฉันทมติร่วมกันใน มติที่ 3.1 เรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และในปีถัดมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบพร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการ “แบนแร่ใยหิน” ภายใน 4 ปี
 

หน้า