สมัชชาสุขภาพ

แก้ 5 ปัญหายอดฮิตในพื้นที่ อุบัติเหตุ-ผู้สูงวัย-ขยะ-อาหารปลอดภัย-NCDs

   เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 มีการจัดประชุมปรึกษาหารือ ‘สานพลังการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เชื่อมโยงกลไกและประเด็น: ชาติ-เขต-จังหวัด-พื้นที่’ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อหารือถึงบทบาทและความร่วมมือของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) สมัชชาสุขภาพจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และหน่วยจัดการที่ทำหน้าที่สนับสนุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.

ภาคีทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

   ภาคีทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสเร่งรัดการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ทั้งการส่งเสริมให้พระสงฆ์มีเลข 13 หลักเพื่อเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพผ่านกลไกการปกครองคณะสงฆ์ จับคู่ 1 วัด 1 รพ./รพ.สต. การอบรมพระคิลานุปัฏฐาก การตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์และชุมชน การร่วมพัฒนาให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพและร่วมในโครงการ บ-ว-ร ส่วนรายการ ‘สงฆ์ไทย ไกลโรค’ พร้อมเผยแพร่ผ่าน WBTV ณ วันที่ 28 กรกฎาคมนี้
 

คจ.สช.ดันระเบียบวาระแรก ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ไฟเขียว “ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ” เป็นธีมงานปี 2562 พร้อมเห็นชอบให้ประกาศทบทวนมติฯ สังคมไทยไร้แร่ใยหินเป็นระเบียบวาระแรกของการประชุมในปีนี้ หวังเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมสนับสนุนการใช้สารทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ สู่การบริหารจัดการเพื่อควบคุม ลด และ เลิกการใช้แร่ใยหิน
 

สานพลังเอกชน-รัฐ-ชุมชน ร่วมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างชุมชนเข้มแข็ง

   เวทีสานใจสานพลังว่าด้วยดิจิทัลกับชุมชนเข้มแข็งชวน 80 กว่าชุมชนร่วมเปิดไอเดีย นำเสนอตัวอย่างชุมชนสุดล้ำ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงผู้ป่วยได้เร็วกว่ามาตรฐาน-ทำเกษตรอินทรีย์สุดไฮเทคพร้อมสื่อสารการตลาด ด้านตัวแทนภาครัฐระบุมีงบสนับสนุนจากอย่างน้อย 4 แห่งเปิดให้ยื่นขอ ส่วนภาคเอกชนพร้อมหนุนเทคโนโลยีชุมชน
 

สช.เตรียมผลักยุทธศาสตร์ 3 ปี แก้หมอกควันภาคเหนือตอนบน

   สช. ระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนในภาคเหนือ ร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ” แปลงสู่ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการขับเคลื่อน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและจังหวัดตาก หวังสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่กลไกระดับชาติเชื่อมถึงระดับพื้นที่ ในระยะ 3 ปีให้เห็นผล
 

คมส. เตรียมเชื่อมมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ – พชอ. ยกระดับ-พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกอำเภอทั่วประเทศ

   คมส. หารือการเชื่อมงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กับ พชอ. หรือ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งมีนายอำเภอเป็นพระเอกหลัก ร่วมกับทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน ประชาชน หารือปัญหา-พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับพื้นที่ ด้านกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ เตรียมตั้งหน่วยกลางรวบรวมข้อมูลภาพรวมระดับอำเภอทั่วประเทศ
 

เตรียมผลัก ‘กฎหมายอากาศสะอาด’ แก้ PM2.5 ดูประสบการณ์จากอเมริกา

   กลุ่ม ‘ไทยพร้อม’ และเครือข่ายจัดเสวนาผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ให้พรรคการเมืองต่างๆ รณรงค์ผ่าน change.org สถานทูตอเมริกาเล่าประสบการณ์ริเริ่มกฎหมายนี้ตั้งแต่ 1970 มีองค์กรกำกับดูแลเข้มงวด นักวิชาการระบุ PM2.5 ยังเป็นปัญหา มีสารพิษอื่นอีกมากในฝุ่น โต้กรมควบคุมมลพิษที่ระบุแหล่งกำเนิดหลักมาจากภาคเกษตร-ขนส่ง เพราะขาดข้อมูลภาคอุตสาหกรรม จี้เร่งทำกฎหมาย ‘บัญชีปลดปล่อยมลพิษ’ ด้าน สช. เสนอบรรจุวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนกฎหมาย
 

อุบัติเหตุเป็น 0 เป็นจริงได้ ด้วยนโยบายหยุดการตายบนท้องถนน

   ทุกคนต้องเดินทาง ทุกคนต้องใช้ถนน และคนจำนวนมากใช้ถนนหลายชั่วโมงต่อวัน แต่...ไม่น่าตกใจหรอกหรือ ที่ถนนที่เรา-ประชาชนคนไทยใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ได้ชื่อว่าเสี่ยงต่อการตายเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และสำหรับมอเตอร์ไซค์นั้น คืออันดับ 1 ของโลก
 

Mind Storming - เปลี่ยน “คนดู” เป็น “ผู้แสดง” รวมพลังคนไทยเอาชนะภัยท้องถนน
สช. รวมพลังคนไทยลดอุบัติเหตุทางถนน

   รายงานความปลอดภัยทางถนน 2018 ขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า ไทยยังติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงที่สุดในโลก แม้จำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลงจากปี 2017 คือจาก 24,237 คน เป็น 22,491 คน แต่นั่นก็เท่ากับว่า เฉลี่ยแล้วตลอดปีนี้มีคนเสียชีวิตบนถนนวันละ 61 คน นับเป็นทรัพยากรบุคคลจำนวนมหาศาลและสร้างผลกระทบต่อเนื่องอีกนับไม่ถ้วน
 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ห่วงคนไทยไม่เท่าทันโลกดิจิทัล

   วงเสวนาปิดท้ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๑ ห่วงคนไทยไม่ทันโลกดิจิทัล ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตวันละ 8 ชม. ขึ้นไป แต่กลับไม่มีภูมิคุ้มกันให้เท่าทันโลกออนไลน์ ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงให้ถูกเจาะข้อมูลได้ง่ายๆ ขณะที่หลักสูตรการศึกษาปรับตัวไม่ทัน แม้มีกลไกและกฎหมายควบคุมเพียบ แต่ทำอย่างไรให้คน “คิด” ก่อนโพสต์และแชร์
 

หน้า