สมัชชาสุขภาพ

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 เปิดเวทีนักการเมืองรุ่นใหม่ เสนอนโยบายแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน พร้อมพัฒนาสุขภาพจากพลังคนยุคใหม่

   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ร่วมแลกเปลี่ยนนโยบายสาธารณะว่าด้วย “การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน” ดึงนักการเมืองรุ่นใหม่เสนอแนะวิธีแก้ไข หลังมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2552 แต่ไม่บรรลุผล หวังกึ๋นคนรุ่นใหม่เสนอนโยบายที่มีประสิทธิภาพ
 

ดัน 4 ประเด็นร้อน “อีสปอร์ต-โรคไม่ติดต่อ-พื้นที่สาธารณะ-บริการทันตกรรม” สู่นโยบายสาธารณะ ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11

   เปิดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 คึกคัก ระดมสมองจากภาคีเครือข่ายทั่วประเทศร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพ ภายใต้แนวคิดหลัก “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ” รายงานความก้าวหน้า 11 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พบความก้าวหน้าอย่างน่าพอใจ พร้อมพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะ 4 ประเด็นร้อน ชูรู้เท่าทันสุขภาพเพื่อการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ-พื้นที่สาธารณะในเขตเมือง-อีสปอร์ตกับสุขภาวะของเด็ก และการคุ้มครองบริการด้านทันตกรรม พร้อมฉลองวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล 12 ธันวาคม โดยนานาประเทศยกไทยเป็นประเทศตัวอย่างที่ดีในการพัฒนา ‘ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า’ แม้ไม่ใช่ประเทศร่ำรวย
 

เปิด ‘สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ’ ครั้งที่ 11 ป้องกันทุกขภาวะยุค 4.0 “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ”

   เปิดฉากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 พร้อมฉลองวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล (Universal Health Coverage DAY) ผนึกกำลังทุกภาคส่วนจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะ 4 ระเบียบวาระ “แก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ-สร้างพื้นที่สาธารณะในเขตเมือง-อีสปอร์ตปกป้องเด็กและเยาวชน-บริการทันตกรรม” ป้องกันโรคที่กำลังคุกคามสุขภาพคนไทยในสังคมยุค 4.0
 

รมต.สุวพันธุ์ ระบุ ภารกิจ กขป. สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมสนับสนุน “สมัชชาสุขภาพ-ธรรมนูญสุขภาพ” ทั่วประเทศ

   “มหกรรมสานพลัง สร้างสุข โฮมสุขอีสาน” สุดคึกคัก ประชาชน-ภาคีเครือข่ายสุขภาวะจาก 4 เขตสุขภาพเพื่อประชาชน 20 จังหวัด กว่า 1,000 ชีวิต ร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วางแนวทางการขับเคลื่อน 4 วาระร้อน “อาหารปลอดภัย-ขยะ-ผู้สูงอายุ-สุขภาพพระสงฆ์” ด้าน รมต.ประจำสำนักนายกฯ ระบุ ภารกิจ กขป.สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ รัฐบาลพร้อมสนับสนุน “สมัชชาสุขภาพ-ธรรมนูญสุขภาพ” ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ
 

เสียง ‘คนรุ่นใหม่’ สู่กลไกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
บทความ เสียงคนรุ่นใหม่

   เด็กและเยาวชนมีความสำคัญในการกำหนดทิศทางประเทศ แต่จะทำอย่างไรให้มี ‘ช่องทาง’ รับฟังความคิดของพวกเขาและเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกกลุ่มวัย ?
 

คมส. เร่งมติสมัชชาสุขภาพภายใน 1 ปี เชื่อมทุกพรรคการเมืองเลิก ‘พาราควอต-แร่ใยหิน’

   คมส. ยกระดับ 77 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ใส่เกียร์ห้าแก้ปัญหาสุขภาวะคนไทยแบบเร่งด่วนภายใน 1 ปี ทั้งโรค NCD น้ำดื่มปลอดภัย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พร้อมผลักดันพรรคการเมืองสร้างนโยบายยกเลิกพาราควอต-แร่ใยหินในกระแสการเลือกตั้งที่จะมาถึง
 

เปิดม่านสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ป้องกันโรคยุค 4.0 ประชาชนต้องรู้เท่าทันด้านสุขภาพ

   เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 ปี 2561 กระตุ้นสังคมไทยรู้เท่าทันสุขภาพ ลดการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ พร้อมกำกับดูแลอีสปอร์ตปกป้องเด็กและเยาวชนไทย ขยายพื้นที่สาธารณะเพื่อประชาชน และการคุ้มครองผู้บริโภคทางทันตกรรม หลังพบโลกยุค 4.0 เติบโตพร้อมโรคจากพฤติกรรมผู้บริโภค
 

ผนึกทุกภาคส่วน ชวนชาวบ้านสานพลัง สร้างโมเดลแก้วิกฤต ‘ขยะล้นชุมชน’

   เวทีสานใจฟอรั่ม วางเข็มทิศปฏิรูปขยะชุมชน นพ.ประเวศ ย้ำ 3 แนวทางผนึกความร่วมมือรูปธรรม ชูธงเมืองไทยไร้ขยะเกิดได้จริง สช. เชื่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง บูรณาการทุกหน่วยงานแก้ปัญหาทันที นำ 5 พื้นที่ตัวอย่างสร้างแรงบันดาลใจ อาทิ สมุย โคราช สงขลา พิษณุโลก ฯลฯ ภาคเอกชน ชาวบ้าน และท้องถิ่นรณรงค์ ไม่รอภาครัฐ
 

บอร์ดขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ตั้ง 4 ทีม เร่งประชาสัมพันธ์ ‘ทำบุญสุขใจ ใส่ใจสังฆทาน’

   คณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ตั้ง 4 คณะอนุกรรมการ ลงลึกเชิงปฏิบัติมุ่งทำงานระดับพื้นที่ เจาะเป้าหมายปี 2562 ขยายผล 1 วัด 1 รพ./รพ.สต. อย่างน้อย 5,000 วัด พร้อมเร่งให้ความรู้ประชาชนทำบุญและถวายสังฆทานส่งเสริมสุขภาพ
 

‘ความรอบรู้’ ตั้งอยู่บนหลักธรรม ‘พระพุทธเจ้า’ Health Literacy อาวุธทางปัญญา – วัคซีนของสังคม
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Health Literacy

   คำว่า Literacy หรือที่ในภาษาไทยเรียกว่า “ความรอบรู้” หรือ “การรู้เท่าทัน” อาจจะเป็นคำที่ไม่คุ้นหูของคนไทยสักเท่าใด หากแต่คำๆ เดียวกันนี้กลับเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนกำลังผลักดันให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
 
   นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ (Health Literacy for NCDs) อธิบายว่า Literacy เป็น “วิธีการ” ที่จะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ซี่งครอบคลุมในทุกๆ ด้าน
 

หน้า