สมัชชาสุขภาพ

สช. เร่งขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ หวังพัฒนาระบบอาหารนักเรียนและเด็กเล็กรับวิกฤตโควิด-19

   สช.ประสาน 5 กระทรวงหลัก ศึกษาธิการ-มหาดไทย-เกษตร-สาธารณสุข-อุดมศึกษาฯ และเครือข่ายภาคีในพื้นที่ ปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนข้อเสนอเพิ่มคุณภาพการจัดการอาหารกลางวันของนักเรียนและเด็กเล็กในโรงเรียนทั่วประเทศ มุ่งเสริมสร้างพัฒนาการเด็กทั้งด้านกาย จิต สังคม ปัญญา พร้อมสร้างข่ายความร่วมมือ โรงเรียน-ชุมชน-ท้องถิ่น รับวิกฤตโควิด-19
 

แบบเสนอข้อเสนอ เพื่อพิจารณากำหนดเป็น ร่าง ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2563 – 2564

1 ชื่อองค์กร/หน่วยงาน/เครือข่าย

2 ตามประกาศคณะอนุกรรมการวิชาการฯ เรื่อง ประกาศหมวดประเด็นย่อยเพื่อพัฒนาเป็น ร่าง ระเบียบวาระการประชุมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2563 – 2564 สามารถดาวน์โหลดประกาศฯ ได้ที่ https://www.samatcha.org/sites/default/files/document/app_sam13_2563_226...

3 สถานการณ์และความสำคัญของปัญหาตามชื่อข้อเสนอ ได้แก่

4 ความสอดคล้องของข้อเสนอกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559
ท่านสามารถดาวน์โหลดธรรมนูญฯ ได้ที่ https://www.nationalhealth.or.th/node/1216

5 ข้อมูลสำคัญอื่นๆ

ติดต่อสอบถาม หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
วรรณวิมล ขวัญยาใจ โทร. 081-342-7319 อีเมล์ wanwimol@nationalhealth.or.th

ถอดบทเรียน ‘สมัชชาอนามัยโลก’ ปรับตัวรับโควิด-19

   รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ถอดบทเรียน “สมัชชาอนามัยโลก” สู่การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 มีการปรับตัวรับโควิด-19 ครั้งใหญ่ ด้วยการเปิดวงถกออนไลน์เป็นครั้งแรก ร่นระยะเวลาจาก 2 สัปดาห์เหลือเพียง 2 วัน แต่ยังมีข้อจำกัด-อภิปรายไม่ครบถ้วน คาดจะเปิดประชุมอีกครั้งปลายปีนี้
 

สช. จับมือภาคีเดินหน้าดันกฎหมายกำกับดูแลอีสปอร์ต คุ้มครองเด็กและเยาวชน

   มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมุ่งปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากโลกโซเซียลมีเดียอย่างไร้การควบคุม มีการแข่งขันเกมออนไลน์หรืออีสปอร์ตที่ขาดกฎหมายในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง ส่งผลด้านลบต่อสุขภาวะ และเพิ่มปัญหาสังคม
 

สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19

   สวัสดีครับ...นิตยสารสานพลังฉบับนี้ ผมอยากชวนเพื่อนภาคีแลกเปลี่ยนเรื่อง “สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19” หลังจากรัฐบาลได้ใช้มาตรการค้อนเหล็ก เน้น Social distancing ปิดการเดินทางเข้าออกประเทศและบางจังหวัด ปิดสถานประกอบการและปิดกิจกรรมรวมคนทุกประเภท ร่วมกับมาตรการของประชาชนภายใต้ข้อตกลงร่วมหรือธรรมนูญประชาชน ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19 หรือที่เรียกชื่ออื่น ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง และการยินยอม พร้อมใจ มีส่วนร่วมของประชาชน อาสาสมัคร องค์กรชุมชน เครือข่ายประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ทุกตำบล ชุมชน หมู่บ้าน ทำให้ประเทศไทยขึ้นอันดับเป็นประเทศท

รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19

   นิตยสารสานพลังฉบับนี้ สู่สายตาเพื่อนภาคีเครือข่ายและท่านผู้อ่านขณะที่ประเทศไทยอยู่ในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการ Lockdown กรุงเทพมหานคร ค่อยๆเข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งจังหวัดต่างๆ กำลังทยอยปิดตาม เพื่อรับมือกับการะบาดของโรคโควิด19 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นจนเป็นวิกฤตของประเทศ ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศกำลังขยายวงน่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญไวรัสกำลังเดินทางเข้าสู่ชุมชนหมู่บ้านทั่วประเทศที่เป็นแหล่งรวมของผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงสูงนี้เมื่อป่วยเป็นโรคโควิด19 จะมีอาการรุนแรงมาก เป็นภาระงานหนักมากของโรงพยา

บนเส้นทาง...สู่ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 58 มีมติหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการป้องกันและควบคุมมะเร็ง และการประชุมครั้งที่ 60 มีการรณรงค์ยกเลิกใช้แร่ใยหินทุกชนิดเพื่อควบคุมและกำจัดโรคที่จะเกิดจากแร่ใยหิน ขณะเดียวกันรายงานการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กระทรวงสาธารณสุขปี 2556 พบว่า สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคปอดจากแร่ใยหินในประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งเยื่อเลื่อม 12 คน โดยมีความสัมพันธ์กับการสัมผัสแร่ใยหิน จำนวน 5 คน
 
   ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องนี้มากว่า 10 ปีแล้ว ตัวอย่างสำคัญปรากฏในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3

สตรี “สตรอง” รู้ทัน...ปกป้อง “สิทธิ”

   สวัสดีครับ...นิตยสารสานพลังฉบับต้อนรับวันสตรีสากล ๘ มีนาคม ๒๕๖๓ ผมขอขึ้นต้นและลงท้ายด้วย สตรี “สตรอง” รู้ทัน...ปกป้อง “สิทธิ” ย้อนรำลึกถึงตำนานการลุกขึ้นสู้ของสตรี เริ่มตั้งแต่กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้ารัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ลุกขึ้นประท้วงขอเพิ่มค่าแรงและเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่เหตุการณ์นั้นผู้หญิงกว่าร้อยรายก็ต้องจบชีวิตลงเนื่องจากมีการลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่ชุมนุมกัน ตามด้วยการต่อสู้ของกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก เพราะทนไม่ไหวต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง จากที่ต้องทำงานหนักวันละ ๑๗ ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ไม่มีสวัสดิการใดๆ และการต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่าเ

เดินหน้าขับเคลื่อน ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’

   เป็นเวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษ ที่เครือข่ายด้านสุขภาพ ทั้งฟากฝั่งวิชาชีพ วิชาการ ภาคประชาสังคม ได้ทำงานล่มหัวจมท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ด้วยการ “แบนแร่ใยหิน” ให้พ้นจากประเทศอย่างถาวร
 

สช. จับมือเพื่อนภาคี ร่วมภารกิจขับเคลื่อน “ต้านมะเร็ง”

   ไม่ว่าใครก็ตาม ล้วนมีความเสี่ยงกับ “มะเร็ง” ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
 
   “มะเร็ง” ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ครองแชมป์สาเหตุการตายมานานกว่า 20 ปี และถึงแม้ทุกวันนี้ จะมีการพัฒนายาแบบพุ่งเป้าต่อโรค ตลอดจนมีวิธีการรักษาที่ล้ำสมัย หากแต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว
 
   มะเร็ง...ไม่ใช่เรื่องบาปบุญหรือเวรกรรม แต่เป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม นั่นหมายความว่า มะเร็งสามารถยับยั้งได้ ถ้าเจ้าของสุขภาพมีความตระหนักรู้ และเบนเข็มออกจากปัจจัยเสี่ยง
 

หน้า