นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

ยิ่งให้ ยิ่งได้

   สังคมที่น่าอยู่ และยั่งยืน ต้องเป็นสังคมที่เกื้อกูล แบ่งปันกันเหมือนที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้วประเทศในช่วงเวลาที่คนไทยได้รวมพลังเป็นพลเมืองตื่นรู้ สู้ภัยโควิด-19 และเกิดปรากฎการณ์ในลักษณะ “ยิ่งให้ ยิ่งได้” มีตัวอย่างมากมายปรากฎสู่สังคม
 

เมื่อเอกชนร่วมสานฝัน มติสมัชชาสุขภาพฯ ‘การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ’
การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ

   

ระดมสมองสร้าง ‘ตำบลเข้มแข็ง’ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมสร้าง - รัฐเร่งกระจายอำนาจ

   กมธ. แก้ไขปัญหาความยากจน กมธ.พัฒนาสังคม วุฒิสภา ร่วมกับ สช.- พอช.จัดเสวนาระดมความคิดชุมชนจะเข้มแข็งได้อย่างไรในยุคหลังโควิด-19 ชี้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางออก กฎหมายที่แข็งตัวแก้ปัญหาไม่ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหา รัฐต้องปรับปรุงระบบบริหารราชการ มุ่งกระจายอำนาจเพื่อเพิ่มสิทธิ หน้าที่ และทรัพยาการให้ชุมชนจัดการกันเอง
 

“โรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน” กับพลังชุมชน

   การประท้วง การร้องเรียน กระทั่งการอภิปรายในรัฐสภาเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้อีสานเป็นไบโอฮับหรือศูนย์กลางฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และตั้งแต่ปี 2558 ก็มียุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย 10 ปี 2558-2569 โดยตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 6 ล้านไร่ภายในปี 2569 เพิ่มการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในภาคอีสานจาก 20 เป็น 30 แห่ง พ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 29 แห่ง
 

สมัชชาพลเมืองตื่นรู้ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชนจากวิกฤตโควิด-19

   เมื่อคืนวันที่ ๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา สังคมไทยได้สูญเสียนักการแพทย์และสาธารณสุขที่ยิ่งใหญ่ของโลก ศ.นพ.อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานการสาธารณสุขมูลฐานของไทย ผู้ให้กำเนิดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) ที่เป็นกำลังสำคัญช่วยไทยให้พ้นวิกฤตสุขภาพครั้งแล้วครั้งเล่า และพ้นภัยโควิด-19 ท่านอาจารย์จากไปด้วยวัย ๙๒ ปี
 

สมัชชาสุขภาพชัยภูมิ วางแผนเชิงรุก! ‘พาลูกหลานไปโรงเรียนอย่างไร ปลอดภัยจากโควิด-19’

   สมัชชาสุขภาพจังหวัดชัยภูมิเตรียมสนับสนุนองค์ความรู้และจัดเวทีผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพฯ เชิญทุกฝ่ายร่วมสร้างมาตรการ ‘พาลูกหลานไปโรงเรียนอย่างไร ปลอดภัยจากโควิด-19’ หารูปแบบและแนวทางที่เหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียน วางเป้าเริ่มนำร่อง 4-5 แห่ง
 
   สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้นทุกขณะ จากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ถึงตอนนี้เริ่มมีการคลายล็อคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายยังต้องให้ความใส่ใจคือการ์ดจะต้องไม่ตก เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดระลอกสอง
 

ปฏิบัติการรวมพลังสู้โควิด-19 ระยะยาว วางหมากระดับจังหวัด-หนุนฟื้นฟูทั่วถึง

   สช. ระดมภาคียุทธศาสตร์เดินหน้าระยะสอง “ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19” มุ่งสร้างเวทีระดับจังหวัด หนุนภาคประชาชนจับมือรัฐฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชน
 
   นับเป็นภารกิจความร่วมมือที่ลุล่วงไปแล้วในระยะแรกกับปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จับมือกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ รวม 26 องค์กร หนุนเสริมมาตรการของรัฐในการป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
 

ฐานความสำเร็จจาก ‘ล่างขึ้นบน’ ‘สุพรรณบุรี’ ชู “ธรรมนูญสุขภาพ” สู้โควิด-19

   “หลักใหญ่ใจความคือ การที่คนในชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำบางอย่างด้วยกันบนโจทย์ที่ว่า อยากมีวิถีชีวิตอย่างไรในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ “พอเขาทำให้เกิดธรรมนูญหรือข้อตกลงของพวกเขาร่วมกันได้ ความยั่งยืนก็จะเกิดขึ้น”นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดประเด็นพูดคุย
 

สช. เร่งขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ หวังพัฒนาระบบอาหารนักเรียนและเด็กเล็กรับวิกฤตโควิด-19

   สช.ประสาน 5 กระทรวงหลัก ศึกษาธิการ-มหาดไทย-เกษตร-สาธารณสุข-อุดมศึกษาฯ และเครือข่ายภาคีในพื้นที่ ปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนข้อเสนอเพิ่มคุณภาพการจัดการอาหารกลางวันของนักเรียนและเด็กเล็กในโรงเรียนทั่วประเทศ มุ่งเสริมสร้างพัฒนาการเด็กทั้งด้านกาย จิต สังคม ปัญญา พร้อมสร้างข่ายความร่วมมือ โรงเรียน-ชุมชน-ท้องถิ่น รับวิกฤตโควิด-19
 

ถอดบทเรียน ‘สมัชชาอนามัยโลก’ ปรับตัวรับโควิด-19

   รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ถอดบทเรียน “สมัชชาอนามัยโลก” สู่การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 มีการปรับตัวรับโควิด-19 ครั้งใหญ่ ด้วยการเปิดวงถกออนไลน์เป็นครั้งแรก ร่นระยะเวลาจาก 2 สัปดาห์เหลือเพียง 2 วัน แต่ยังมีข้อจำกัด-อภิปรายไม่ครบถ้วน คาดจะเปิดประชุมอีกครั้งปลายปีนี้
 

หน้า