นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

สุขภาพโดยคนทั้งมวล

ช่วงที่ผ่านมา ผมได้ไป เรียนรู้การพัฒนาและขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพใน พื้นที่หลายแห่ง บอกได้ว่า ถึงวันนี้ ระบบสุขภาพเปลี่ยนไปมาก ไม่ใช่ เป็นระบบที่รอใครทำให้ จากบนลง ล่างอย่างเดียวแบบในอดีตอีกแล้ว เรื่องสุขภาพหรือสุขภาวะ ได้กลายเป็นเรื่องของทุกคน ทุก ภาคส่วน เข้ามาร่วมกันทำ ร่วมกัน เป็นเจ้าของมากขึ้นตามลำดับ 

ปลุกจริยธรรม 'โซเชียลมีเดีย’สช.ดึงเครือข่ายคุมเข้มภาพ-ข้อมูลสุขภาพบุคคล

สช.ขับเคลื่อนแนวทางคุ้มครองข้อมูลผู้ป่วยทางโซเชียลมีเดีย พร้อมจับมือสมาพันธ์องค์กรผู้บริโภค เครือข่ายพลเมืองเน็ต และสมาคมวิชาชีพสื่อ งัดกฎหมายมาตรา ๗ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เร่งดำเนินการ ปลุกจริยธรรมกำกับ แนะโรงพยาบาลทั่วประเทศออกมาตรการคุมเข้มประวัติผู้ป่วยรั่วไหล พร้อมอบรมบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

ร่วมด้วยช่วยกัน ผลักดันปฏิรูป

ต้องขอขอบคุณ คณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มีมติเมื่อวันที่ ๘ ส.ค. ๒๕๕๗ เสนอชื่อ ดร.ศิรินา ปวโรราฬวิทยา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ และผม เข้ารับการคัดเลือกเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อทำ หน้าที่ดูแลการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ ฉบับใหม่ และขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ และต้องขอ ขอบคุณคณะกรรมการสรรหาและ คัดเลือก ที่คัดเลือกให้เราทั้ง ๒ คน เข้าไปเป็น สปช. ด้านสังคม เพื่อ ทำงานให้ประเทศชาติครับ 

ปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค. ผมเล่าผ่าน facebook ถึง ความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช. ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันนั้น ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิ.ย. ที่ผ่านมา และเห็นชอบกับมติที่ ๖.๘ “ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การ ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผ่านฉันทมติจากองค์กร ภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วน จำนวน ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย เพื่อ เตรียมเสนอต่อ ครม.

ปฏิรูปไม่ใช่ปฏิลูบ

 ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ (Health Systems Reform) ต่อเนื่องมาเป็นสิบปีแล้ว หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ คือ การปรับกระบวนทัศน์เรื่อง สุขภาพใหม่ จากสุขภาพที่เป็นเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย มดหมอหยูกยา การแพทย์การ สาธารณสุข ไปสู่สุขภาพที่มีความหมายกว้างว่าเป็นเรื่อง “สุขภาวะ” ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ สุขภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคน ทุกภาคส่วน เป็นเจ้าของ ร่วมกันมีสิทธิที่จะมีสุขภาพดี และมีหน้าที่ร่วมกันทำให้เกิดสุขภาพ/สุขภาวะที่ดี (All for Health) 
 

ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รองรับสังคมผู้สูงอายุ

เมื่อปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา คสช. ได้พิจารณาให้ หยิบยกประเด็น “สุขภาพผู้สูงอายุ” ขึ้นมาเป็น ๑ ใน ๔ เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยผลักดันให้ มีการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเรื่องนี้ ด้วยเล็งเห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูง อายุแล้ว และจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) จึงจำเป็น ต้องมีการเตรียมตัวและวางแผนรองรับให้ดี 

หน้า