พลังชุมชน

กทม. จับมือ สช. สร้างชุมชนนำร่อง รับมือโควิด-19 ป้องกันระลอกสอง

   สำนักอนามัย กรุงเทพฯ จับมือ สช. สร้าง “ธรรมนูญชุมชน” หรือ “มาตรการทางสังคม” ใน 60 ชุมชนนำร่อง ร่วมป้องกันโควิด-19 รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ย้ำ ประชาชนอย่าประมาทระลอกสอง ป้องกันตัวเองเหมือนเดิม เสริมด้วยแอพลิเคชัน ‘ไทยชนะ - ผู้พิทักษ์ไทยชนะ’ ช่วยรัฐติดตามควบคุมโรคได้เร็ว
 

“โรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน” กับพลังชุมชน

   การประท้วง การร้องเรียน กระทั่งการอภิปรายในรัฐสภาเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้อีสานเป็นไบโอฮับหรือศูนย์กลางฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และตั้งแต่ปี 2558 ก็มียุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย 10 ปี 2558-2569 โดยตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 6 ล้านไร่ภายในปี 2569 เพิ่มการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในภาคอีสานจาก 20 เป็น 30 แห่ง พ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 29 แห่ง
 

‘ภาคประชาสังคม’ สู้โควิด-19 พบทั้ง ‘ไทย-เทศ’ ต่างเชื่อมร้อย ‘ชุมชน’

   ตลอดช่วงระยะเวลาของสถานการณ์โควิด-19 หลายเดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ประจักษ์ให้เห็นชัดแจ้งมาอย่างต่อเนื่อง คือ บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ประชาชน ที่กลายมาเป็นหนี่งในปัจจัยสำคัญต่อการรับมือกับวิกฤติการณ์
 
   ในขณะที่ภาพความร่วมมือในการรวมพลัง จัดสรรทรัพยากร บูรณาการภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทบาทของ “ภาคประชาสังคม” ในการเชื่อมร้อยประสานงานระดับพื้นที่ก็เด่นชัดไม่แพ้กัน
 

‘โคกจาน’ พลังท้องถิ่นร่วมฟื้นฟู-สู้ภัยโควิด-19

   การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่าท้องถิ่นทั่วประเทศเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน นางสาวอุไร โปร่งจิต ปลัดเทศบาลตำบลโคกจาน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการสานพลังสร้างสุขภาวะ ออกอากาศทาง FM96.5 เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นภาพการทำงานในพื้นที่อย่างชัดเจนขึ้นว่า
 

ประชาสังคมสงขลาเชื่อมเทคโนโลยี-ธรรมนูญสุขภาพ สู้ภัยโควิด-19

   ภาคประชาสังคมสงขลาจับมือหน่วยงานรัฐสู้ภัยโควิด-19 ผ่านกระบวนการหลากหลาย ทั้งธรรมนูญสุขภาพ การแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างฐานข้อมูลเพื่อดูแลประชาชนเปราะบางในพื้นที่ เชื่อจะเป็นโอกาสสำคัญในการปรับตัวเพื่อถักทอเครือข่ายและพัฒนาพื้นที่
 
   “องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่มานาน ทำให้มีต้นทุน มีฐานอยู่แล้ว นำมาใช้รับมือสถานการณ์โควิดได้ง่ายกว่าหน่วยงานจากภายนอก เพราะคนในพื้นที่เกาะเกี่ยวกันได้ง่ายกว่า”
 

12 องค์กรจับมือประสานแนวรบ ขับเคลื่อนธรรมนูญชุมชน สู้ภัยโควิด19

   ศูนย์ประสานปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ฯ สร้างฐานปฏิบัติการสานพลังเครือข่ายทุกฝ่าย สร้างกลไกประสาน หนุนช่วย กำหนดทิศทาง รวมถึงขับเคลื่อนชุมชนสร้างธรรมนูญชุมชนร่วมสู้ภัยโควิด19 อย่างยั่งยืน
 

เปลี่ยนศูนย์กักตัวฯ เป็น “รพ.สนาม” ที่ด่านสะเดา ร่วมดูแลแรงงานต่างชาติ ต้านโควิด19

   ผอ.รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เล่าการเปลี่ยนห้องขังเป็น ‘โรงพยาบาลสนาม’ ที่ศูนย์กักกันด่านสะเดา จ.สงขลา หลังมีแรงงานต่างชาติติดโควิด 42 คน เน้นทำความเข้าใจกับชุมชนให้มั่นใจว่าจะไม่ส่ง ผลกระทบ พร้อมยกตัวอย่างดีๆ ในพื้นที่เปลี่ยนจากรังเกียจเป็นร่วมดูแลผู้ป่วยโควิด19
 
   เมื่อไม่นานมานี้ (25 เม.ย.2563) กรณีที่แรงงานต่างชาติถึง 42 คน ถูกกักตัวอยู่ที่ศูนย์กักตัวฯ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ติดโควิด19 เรื่องนี้ย่อมทำให้ประชาชนวิตกกังวลถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดไม่มากก็น้อย
 

“ธรรมนูญสงฆ์” รวมพลังชุมชน พระ วัดทั่วไทย ต้านภัยโควิด19

   สช. ปฏิบัติการสานพลังเครือข่ายร่วมกับพระสงฆ์ทั่วประเทศรับมือวิกฤตโควิด19ด้านพระสงฆ์ชูตัวอย่างกิจกรรมที่วัดมีบทบาทดูแลชุมชน
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ร่วมกับมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย จัดเวที ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติกู้ภัยโควิด19 “ธรรมนูญสงฆ์ รวมพลังบวร สู้วิกฤตโควิด19”ถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ วัดยานนาวา เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมาโดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคมและประธานกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ สัมโมทนียกถาเปิดการเสวนา
 

กองทุนสุขภาพท้องถิ่น สร้าง ‘บรรทัดฐานใหม่’ ด้านสุขภาพ

   สช.- สปสช. หารือแนวทางสานต่อภารกิจพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนช่วงโควิด 19 ที่ประชุมเห็นพ้องใช้เงิน 50% ของงบค้างท่อกองทุนตำบลกว่า 1,500 ล้าน สร้าง “New-Normal” รณรงค์สร้างเสริมสุขภาพ-ยับยั้ง NCDs
 
   จากแนวคิดพลิกวิกฤติเป็นโอกาสภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพต่างเห็นตรงกันว่าช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะทำการรณรงค์เพื่อสร้าง “บรรทัดฐานใหม่” (New Norm) ในการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยยับยั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อันเป็นภัยสุขภาพลำดับต้นๆ ของไทยและของโลกได้
 

ผนึก ‘ธรรมนูญพื้นที่ - กองทุนตำบล' สู้โควิด19 และโรค NCDs

   วงถก ‘New-Norm’ สร้างสุขภาพฯ เสนอบูรณาการ 2 เครื่องมือ “ธรรมนูญพื้นที่-กองทุนตำบล” สู้ภัยโควิด-ยับยั้ง NCDs ในชุมชน
 
   แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะรุนแรงในระดับประวัติศาสตร์ หากแต่อีกด้านก็นับว่าเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้รณรงค์และปลูกฝังพฤติกรรมเชิงบวกเพื่อสร้าง “บรรทัดฐานใหม่” ในการดูแลสุขภาพให้เกิดขึ้นกับประชาชน
 
   โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสู้รบกับ “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” (NCDs : Non-Communicable Diseases) มหันตภัยด้านสุขภาพที่หยั่งรากลงลึกและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
 

หน้า