นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

เปิดแผนชุมชนจัดการตนเองกู้วิกฤต ‘คลองเตย’ ตัดวงระบาด-จัดระบบพักคอยรอส่งต่อ-ดูแลหลังกลับจากรพ.

   วงเสวนา “โควิด-19 รุกคลองเตย” เปิดโมเดลชุมชนจัดการตนเอง ตัดวงจรระบาด-จัดระบบส่งต่อ-ดูแลครัวเรือน-เฝ้าระวังผู้ที่หายป่วย “รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” ชี้ต้องเร่งถอดบทเรียน ขยายต้นแบบไปสู่พื้นที่อื่น ขณะที่ “สลัมสี่ภาค-เครือข่ายบ้านมั่นคง” วอนช่วยเหลือคนจนที่ได้รับผลกระทบ เสนอพักหนี้บ้าน ขอการสนับสนุนอาหาร-อุปกรณ์ป้องกันโรค
 

ศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจชุมชนคลองเตย ตัวอย่างพลังพลเมืองที่ตื่นรู้กับการจัดระบบควบคุม ป้องกันโรคในชุมชน

   สวัสดีครับเพื่อนภาคีเครือข่ายทุกท่าน สถานการณ์โควิด-19 ระลอกสามในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ ยังคงน่าวิตกอย่างยิ่ง ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันมากกว่า ๑,๕๐๐ คนตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน และทะลุ ๒,๐๐๐ คนต่อเนื่องหลายวัน สูงสุดถึง ๒,๘๓๙ คนในวันที่ ๒๔ เมษายน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ ต่อเนื่องมาถึงวันที่ ๒ มีผู้ป่วยเสียชีวิตตกวันละ ๒๑ คน ตามด้วยวันที่ ๓ เพิ่มขึ้นเป็น ๓๑ คน นับเป็นสถิติสูงสุดของไทย จากเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษที่นักวิชาการว่าข้ามมาจากกัมพูชาทางชายแดนด้านตะวันออก ขณะที่สายพันธุ์อ

ดีเดย์ 30 เม.ย. 'คลองเตย’ เปิดพื้นที่ ‘วัด’ สู้โควิด หนุนประชาชนตั้งศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจ ตัดวงจรระบาดชุมชนแออัด

   สช.จับมือ กทม. ผนึกภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและสังคม ร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” หรือ Community isolation ในชุมชนคลองเตย โดยใช้พื้นที่วัดสะพาน เขตพระโขนงเป็นฐานพักพิงใกล้บ้านใกล้ใจ หวังตัดวงจรระบาดโควิดระลอกสามในชุมชนแออัด แยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน ลดการแพร่ระบาดและดูแลเบื้องต้นระหว่างรอส่งต่อไปรักษาต่อที่ รพ. คาดเริ่มเปิดแห่งแรก 30 เม.ย.นี้
 

“พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง - สนธยา คุณปลื้ม” ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

   “พล.ต.ท.คำรณวิทย์ – สนธยา คุณปลื้ม” ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติในสัดส่วนองค์กรบริหารส่วนจังหวัด-การปกครองรูปแบบพิเศษ แทนผู้ที่หมดวาระลง
 
   ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2564 ซึ่งมี นางปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา เป็นประธาน มีมติรับทราบผลการคัดเลือกบุคคลเข้ารับตำแหน่ง ในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย 1. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 2. นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา
 

เร่งสร้างมาตรการของประชาชน-สร้างภูมิคุ้มกันสังคม สู้ภัยโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

   สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ก่อนหน้าดูเหมือนว่ากำลังจะคลี่คลายและลดระดับความรุนแรงลงหลังจากที่สามารถควบคุมการระบาดระลอกที่สองที่เริ่มจากแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาครและขยายไปยังจังหวัดต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพฯได้ แต่กลับมาระบาดใหม่อีกครั้งเป็นระลอกที่สามเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นการแพร่ระบาดที่เริ่มต้นที่สถานบันเทิงของกลุ่มคนชั้นสูง มีฐานะ ใจกลางกรุงเทพฯ และแพร่กระจายเกือบครบทุกจังหวัดอย่างรวดเร็ว เป็นการระบาดของไวรัสที่ได้รับการยืยยันแล้วว่าเป็น “สายพันธุ์อังกฤษ” ซึ่งนอกจากจะระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติถึง ๑.๗ เท่าแล้ว ผู้ติดเชื้อครั้ง

สช.สานพลัง ‘คนรุ่นใหม่’ แก้โจทย์ประเทศ เตรียมจัด ‘สมัชชาสุขภาพฯ เด็ก-เยาวชน’ ทั่วประเทศ

   สช. ขยายการมีส่วนร่วมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ชักชวนกลุ่ม “คนรุ่นใหม่” ร่วมคิดพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาประเทศ พร้อมจัด “สมัชชาสุขภาพฯ เด็กเยาวชน” ครั้งแรก ปูพรมทุกภูมิภาค เพื่อกำหนดโจทย์-แสวงหาคำตอบ ที่ตรงจุดตามความต้องการ
 

ระดมสมอง 46 จว.จัดทำข้อเสนอ ‘ประเทศไทย’ เตรียม ‘โชว์เคส’ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาหารโลก

   สช. ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ ชักชวนสมาชิกสมัชชาสุขภาพจังหวัด 46 พื้นที่ทั่วประเทศ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับชาติ เพื่อจัดทำข้อเสนอ-กำหนดท่าทีของประเทศไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก ก.ย. นี้ “รองปลัด กษ.” ระบุ เตรียมร่อนตะแกรงหา “โชว์เคส” ความสำเร็จ แลกเปลี่ยนยูเอ็น
 

ขีดกรอบ ‘ธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติฯ ฉบับ 3’ สร้างสุขภาวะไทยตอบโจทย์โลกหลังโควิด-19

   วงถกหารือกรอบแนวทาง-กระบวนการยกร่าง “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3” ตั้งเป้าเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ-แผนงานทุกระดับ สอดรับทิศทางการสร้างสังคมสุขภาวะบนบริบทโลกยุคใหม่ ให้ทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าของ-นำไปประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม
 

เปิดรับสมัคร ‘กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน’ ร่วมกำหนดทิศทางด้านสุขภาวะระดับพื้นที่

   สช.ชูกลไก “คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน” หรือ กขป. เชื่อมร้อยการทำงาน กำหนดทิศทางแก้ไขปัญหาสุขภาพ-สุขภาวะของแต่ละพื้นที่ เผยตัวอย่างรูปธรรมจากเหนือจรดใต้ สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งปัญหาฝุ่นควัน-จราจร-โรคภัย-กลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมชวนทุกภาคส่วนสมัครเข้าร่วมเป็น กขป. ได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 เม.ย.นี้
 

ปรับขบวนครั้งใหญ่! กู้วิกฤต ‘มลพิษอากาศ’ ปูพรม ‘สมัชชาสุขภาพฯ’ ทั่ว ปท.
มลพิษในอากาศ

   สภาพปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ได้สร้างผลกระทบรุนแรงต่อคนไทยทั่วทุกภูมิภาค ล่าสุดตัวเลขค่าฝุ่นละอองที่ จ.เชียงใหม่ สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ติดอันดับ TOP 5 ของโลก
 
   แม้ว่าต้นเหตุของการเกิดมลพิษสัมพันธ์กันในหลายมิติ ตั้งแต่ผลกระทบข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงนโยบายการคมนาคมในประเทศ แน่นอน ทุกความซับซ้อนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ
 
   ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการวางแนวทางแก้ไข PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง และเรื่องนี้จำเป็นต้องทำต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน ในระหว่างที่ภาครัฐดำเนินการไป ภาคเอกชน-ประชาสังคม ก็มีความพยายามจัดการปัญหาอย่างน่าสนใจ

หน้า