นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

เตรียมผลัก ‘กฎหมายอากาศสะอาด’ แก้ PM2.5 ดูประสบการณ์จากอเมริกา

   กลุ่ม ‘ไทยพร้อม’ และเครือข่ายจัดเสวนาผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ให้พรรคการเมืองต่างๆ รณรงค์ผ่าน change.org สถานทูตอเมริกาเล่าประสบการณ์ริเริ่มกฎหมายนี้ตั้งแต่ 1970 มีองค์กรกำกับดูแลเข้มงวด นักวิชาการระบุ PM2.5 ยังเป็นปัญหา มีสารพิษอื่นอีกมากในฝุ่น โต้กรมควบคุมมลพิษที่ระบุแหล่งกำเนิดหลักมาจากภาคเกษตร-ขนส่ง เพราะขาดข้อมูลภาคอุตสาหกรรม จี้เร่งทำกฎหมาย ‘บัญชีปลดปล่อยมลพิษ’ ด้าน สช. เสนอบรรจุวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนกฎหมาย
 

แนวปฏิบัติด้านสุขภาพ รับมือฝุ่น PM2.5 สถานการณ์ดีขึ้นอย่าลืมการแก้ระยะยาว

   หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนในกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นPM2.5 อย่างหนัก ขณะที่หลายหน่วยงานก็เร่งดำเนินการแก้ไขด้วยมาตรการหลายอย่าง
 
   ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็นมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกและผ่านผนังปอดเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่เส้นเลือดฝอย กระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นนี้ยังเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งอื่น
 

เปิดแนวทางแก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 สช. เล็งจัดเวทีพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้าง กทม. โฉมใหม่

   นักเศรษฐศาสตร์ชี้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจหลักหมื่นล้าน กุมารแพทย์แนะนำให้งดกิจกรรมกลางแจ้งของเด็ก นักวิชาการเสนอสร้างดัชนีคุณภาพอากาศเชิงสุขภาพของไทยขึ้นเอง และเร่งปลูกพืชใบหยาบเพื่อช่วยดูดซับฝุ่นละออง ด้าน สช. พร้อมจัดเวทีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหาทางออกวิกฤตฝุ่น ใช้โอกาสนี้ร่วมกันพลิกเมืองกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม
 

‘เพชรบุรี’ ส่งเสียง อยากทำอะไร? ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

   หลังจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2561 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้รับมอบหมายให้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างแผนระดับชาติกับชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งในด้านการสร้างความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการคิดกิจกรรมในพื้นที่
 

เปิดเวทีระดมสมองทั่วประเทศ สช. เชื่อมต่อ ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ กับพื้นที่

   “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
 
   คือเป้าหมายที่เราจะเดินไปให้ถึงภายในเวลา 20 ปีนับจากนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวปรากฏใน ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ (พ.ศ.2561-2580) มีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และเป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปีฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งก่อเกิดขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนด
 

ถอดบทเรียนจิตอาสาช่วย 13 หมูป่า/ปาบึกขึ้นบก “พลังพลเมืองอาสา สร้างสังคมสุขภาวะ”

   เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2562 ในงานมหกรรมชุมชนสุขภาวะ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2561 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2562 ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี(อาคารบี) มีการเสวนาหัวข้อ “พลังพลเมืองอาสา สร้างสังคมสุขภาวะ” โดยทีมพลเมืองอาสากรณี 13 หมูป่า ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และถอดบทเรียนอาสาสมัครครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของสังคมไทย
 

สช. ชวนทุกภาคส่วนจับเข่าคุยกัน หยุด-ยั้ง ‘มวยเด็ก’ ทำลายสุขภาพ

   เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอจัดเวทีสาธารณะให้ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหา ‘นักมวยเด็ก’ อย่างสมานฉันท์ ภายใต้กลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เพื่อให้มีมาตรการที่ยึดความปลอดภัยของเด็กเป็นศูนย์กลาง เสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและกลไกที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
   จากกรณีที่ ด.ช.อนุชา ทาสะโก นักมวยเด็กวัยเพียง 13 ปี เสียชีวิตด้วยอาการเลือดคั่งในสมองขณะขึ้นชกบนสังเวียนมวยที่จังหวัดสมุทรปราการ นำไปสู่ความตื่นตัวของทุกภาคส่วนร่วมกันหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา
 

‘ลูกขุนพลเมือง’ รู้ลึก ตกผลึกความคิด สู่นโยบายเพื่อผู้สูงวัย

   “...จากการไตร่ตรองข้อมูลทั้งข้อดีและข้อจำกัดของทางเลือกแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับนำมาใช้ในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดูแลผู้สูงอายุ ลูกขุนพลเมืองมีความเห็นดังนี้...”
 

หน้า