ต้านภัยโควิด

บทเรียนโควิด-19 นำมาจัดการวิกฤต เน้นพลังพลเมืองตื่นรู้
บทเรียนโควิด-19 นำมาจัดการวิกฤต

   ท่ามกลางโควิด-19 ที่กลับมาระลอกใหม่ หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 คือเวทีเสวนา “ก้าวผ่านวิกฤตโควิด ... สู่วิถีชีวิต และการจัดการใหม่ร่วมกัน” ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนรูปธรรมการสานพลังเพื่อฟันฝ่าวิกฤตสุขภาพในครั้งนี้
 
   ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บอกว่า สถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลกยังอยู่ในขาขึ้นและไม่คงที่ โดยสถิติล่าสุดขณะนี้คือทุก 3 วัน จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากถึง 1 ล้านราย ขณะที่อัตราการเสียชีวิตทะลุ 1 หมื่นรายต่อวัน
 

ประกาศแล้ว! ผลประกวดผลิตสื่อ ‘เยาวชนสู้โควิด’ ‘รองนายก อนุทิน’ มั่นใจ เยาวชนตื่นรู้คือกำลังสำคัญรับมือวิกฤตอนาคต

   สช.จัดพิธีมอบรางวัล-เกียรติบัตรการประกวดผลิตสื่อ ‘รวมพลังเยาวชนตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19’ รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน” ดีใจเยาวชนค้นคว้าข้อมูลช่วยเหลือสังคม ตอกย้ำ! คนรุ่นใหม่ที่ตื่นรู้คือกำลังสำคัญที่จะช่วยประเทศรับมือวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดพิธีมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรการประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟฟิก โครงการรวมพลังเยาวชนตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 ขึ้นเมื่อวันที่ 16 พ.ย.263 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน
 

สช. ชวนภาครัฐ 3 ประเทศ ไทย-เมียนมาร์-บังคลาเทศ สรุปบทเรียนสู้ภัยโควิด-19 ด้วยการสานพลัง

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง The Role of Government in multi-sectoral collaboration in response to COVID-19 เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนภาครัฐจาก 3 ประเทศ ไทย-บังคลาเทศ-เมียนมาร์ ร่วมสะท้อนมุมมอง และมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาครัฐ ประชาสังคม วิชาการ เยาวชน องค์การระหว่างประเทศ จากประเทศไทย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ตูนีเซีย อินเดีย ซึ่งวงเสวนาเห็นตรงกันว่า “พลังความร่วมมือกับหลายภาคส่วน” หนุนการทำงานภาครัฐได้เป็นอย่างดี ด้านบังคลาเทศระบุการระดมทรัพยากรมาใช้ร่วมกันคือหัวใจของความสำเร็จ ขณะที่เมียนมาร์เสนอสร้างความเข้มแข็งระบบหลักประก

26 องค์กรผนึกกำลังชุมชนรับมือโควิด-19 ระลอก 2 ‘ฟื้นเศรษฐกิจ ไม่เป็นพิษกับสุขภาพ’

   ตัวแทนจากหลายหน่วยงานร่วมวางแผนอนาคต เตรียมรับมือการเปิดประเทศ-เพื่อนบ้านระบาดหนัก หวังฟื้นเศรษฐกิจพร้อมควบคุมโรคระบาด หนุนชุมชนท้องถิ่นเป็นพระเอกประสานความร่วมมือทุกส่วน ระดมสมองวางมาตรการแก้ปัญหาตนเอง แสดงพลังผ่าน ‘สมัชชาสุขภาพจังหวัด’ ที่จะจัดทั่วประเทศเดือน พ.ย.นี้
 

สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’
สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ สมัชชาสุขภาพฯ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’

   สช. จับมือภาคีเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ความมั่นคงทางอาหาร-โรคอุบัติใหม่” เพื่อพัฒนาข้อเสนอสู่การจัดทำระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 โดยภาคีเครือข่ายเสนอตั้ง “ครัวชุมชน-ธนาคารอาหาร” รับมือวิกฤต ด้านอาจารย์แพทย์จุฬาฯ ชงถอดบทเรียนโควิด-19 สู่การทำ “บันทึกการทำงาน” เพื่อใช้รับมือโรคระบาดในอนาคต
 

‘สช. พร้อมภาคีฯ ปักหมุด สู้! โควิด-19’ บทพิสูจน์พลังพลเมืองตื่นรู้ฯ ตอกย้ำศักยภาพ ‘ชุมชน’

   ร่อนตะแกรงความสำเร็จปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19” พิสูจน์ชัด “อำนาจอ่อน” ช่วยหนุนเสริมมาตรการรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ “สช.” ปักหมุดความยั่งยืน เดินหน้ายกระดับจากประชาชนจิตอาสา สู่การมี “สำนึกพลเมือง” ที่รับผิดชอบต่อสังคม
 
   การร่วมหัวจมท้ายของทุกภาคส่วนอย่างเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับ “โควิด-19” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้ “อำนาจอ่อน” (Soft Power) เพื่อหนุนเสริมการทำงานของ “อำนาจแข็ง” (Hard Power) ที่กลายมาเป็นจุดแข็งและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ควรค่าแก่การบันทึกไว้
 

ส่องบทบาทเยาวชน 5 ประเทศ ร่วมกับทุกภาคส่วนเร่งสู้ภัย ‘โควิด-19’

   สช. ชวนเยาวชน 5 ประเทศ ร่วมเสวนาออนไลน์ถอดบทเรียนการทำงานสู้โควิด-19 บนพลังการมีส่วนร่วม พบ “เทคโนโลยี-ประสานเครือข่าย-หาเป้าหมายร่วม” คือ เครื่องมือสำคัญของเยาวชนในการรับมือกับปัญหา
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเสวนาออนไลน์ (Webinar) ในหัวข้อ “The Role of Young Generation in Multi-Sectoral Collaboration against COVID-19” เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อบอกเล่าถึงบทบาทของภาคเยาวชนและความร่วมมือกับหลายภาคส่วน ในการต่อสู้กับโควิด-19 โดยมีตัวแทนเยาวชนจาก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมาร์ ร่วมพูดคุย
 

สมัชชาสุขภาพชัยภูมิ วางแผนเชิงรุก! ‘พาลูกหลานไปโรงเรียนอย่างไร ปลอดภัยจากโควิด-19’

   สมัชชาสุขภาพจังหวัดชัยภูมิเตรียมสนับสนุนองค์ความรู้และจัดเวทีผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพฯ เชิญทุกฝ่ายร่วมสร้างมาตรการ ‘พาลูกหลานไปโรงเรียนอย่างไร ปลอดภัยจากโควิด-19’ หารูปแบบและแนวทางที่เหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียน วางเป้าเริ่มนำร่อง 4-5 แห่ง
 
   สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้นทุกขณะ จากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ถึงตอนนี้เริ่มมีการคลายล็อคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายยังต้องให้ความใส่ใจคือการ์ดจะต้องไม่ตก เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดระลอกสอง
 

ปฏิบัติการรวมพลังสู้โควิด-19 ระยะยาว วางหมากระดับจังหวัด-หนุนฟื้นฟูทั่วถึง

   สช. ระดมภาคียุทธศาสตร์เดินหน้าระยะสอง “ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19” มุ่งสร้างเวทีระดับจังหวัด หนุนภาคประชาชนจับมือรัฐฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชน
 
   นับเป็นภารกิจความร่วมมือที่ลุล่วงไปแล้วในระยะแรกกับปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จับมือกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ รวม 26 องค์กร หนุนเสริมมาตรการของรัฐในการป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
 

หน้า