ชุมชนตื่นรู้

ฐานความสำเร็จจาก ‘ล่างขึ้นบน’ ‘สุพรรณบุรี’ ชู “ธรรมนูญสุขภาพ” สู้โควิด-19

   “หลักใหญ่ใจความคือ การที่คนในชุมชนมาร่วมคิดร่วมทำบางอย่างด้วยกันบนโจทย์ที่ว่า อยากมีวิถีชีวิตอย่างไรในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ “พอเขาทำให้เกิดธรรมนูญหรือข้อตกลงของพวกเขาร่วมกันได้ ความยั่งยืนก็จะเกิดขึ้น”นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดประเด็นพูดคุย
 

โจทย์ใหญ่! จากการป้องกันสู่การฟื้นฟู ‘พื้นที่’ สู้ภัยโควิด-19

   โจทย์ใหญ่หลังวิกฤตโควิด-19 ระยะแรกเบาบางลง ก็คือ การฟื้นฟูคุณภาพชีวิต-อาชีพ –รายได้ของประชาชน ที่ผ่านมาเครือข่ายในท้องถิ่นต่างๆ นอกจากจะทำงานด้านการป้องกันได้อย่างดีเยี่ยม ยังมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูชุมชนด้วย ตัวอย่างดีที่สุรินทร์ เน้นเกษตรอินทรีย์-จัดการอาหารชุมชน ที่ศรีสะเกษทุกส่วนร่วมร่างธรรมนูญตำบลได้อย่างรวดเร็ว
 

ปฏิบัติการ ‘พลเมืองตื่นรู้-สู้โควิด’ ครบ 1 เดือน เครือข่ายขยายกว้าง - วางทิศทางสู่ ‘New Normal’

   สรุปแผนงาน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด 19” หลังเปิดปฏิบัติการครบรอบ 1 เดือน พบภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นจาก 12 สู่ 26 องค์กร ทุกฝ่ายพร้อมเดินหน้าสร้างความร่วมมือถึงระดับชุมชน หารือมาตรการระยะถัดไปสู่ “New Normal” ในอนาคต
 
   นับเป็นเวลากว่า 1 เดือนที่ภาคีเครือข่ายด้านสังคมและสุขภาพหลากหลายองค์กร ได้จับมือกันเพื่อขับเคลื่อนแผนงานสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างพลังให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสู้ศึกครั้งนี้
 

ส่องสังคมไทยหลังโควิด19 ตอกย้ำความสำคัญการกระจายอำนาจ ปูทางสู่การปฏิรูปประเทศ

   วิกฤติสุขภาพกับโรคโควิด19 ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในทุกด้านอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทุกคนควรทำตอนนี้ คือ ความพยายามที่จะผ่านวิกฤตินี้ไปให้ได้ และไม่ควรที่จะปล่อยให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจและความยากลำบากที่เราประสบจะต้องสูญเปล่า ควรมีการเรียนรู้และมองไปข้างหน้า (Post COVID-19) พร้อมกับหาโอกาสในวิกฤติเพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ดีขึ้น