นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

นักวิชาการแนะจัดการการเงินการคลังเพื่อสุขภาพ ลดเหลื่อมล้ำ ๓ กองทุน

   สช. จับมือมหาวิทยาลัยนเรศวรและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จัดเวทีวิชาการปฎิรูปการเงินการคลังเพื่อสุขภาพคนไทย ชี้โจทย์ใหญ่ที่ท้าทายคือภาระงบประมาณและการยกระดับหลักประกันสุขภาพทั้ง ๓ ระบบให้เท่าเทียมกัน พร้อมรับมือสังคมผู้สูงวัยซึ่งรัฐจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่า ขณะที่นักวิชาการจากออสเตรเลียย้ำต้องกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่จะช่วยตอบสนองความต้องการประชาชนได้ตรงจุด พร้อมชื่นชมประเทศไทยในการพัฒนาระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
 

ดร. ศุภชัย ห่วง TPP ไม่ตอบโจทย์ประเทศไทย แนะอย่ารีบโดดร่วมวง ต้องศึกษารอบด้านก่อน

   อดีตเลขาธิการองค์การการค้าโลก (WTO) และ UNCTAD เผยความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP เป็นเพียงเกมการค้าของขั้วมหาอำนาจ แนะรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาผลได้-เสียอย่างรอบด้าน หลังพบไทยมีข้อตกลงทวิภาคีแล้วถึง ๙ จาก ๑๒ กลุ่มประเทศก่อตั้ง ควรผลักดันกรอบ AEC และ RCEP ให้แข็งแกร่งก่อน ด้าน คจคส. ห่วงการเข้า TPP อาจส่งผลกระทบต่อการผูกขาดสิทธิบัตรและการเข้าถึงยาของประชาชน
 

ร่างพิมพ์เขียวกำลังคนด้านสุขภาพทศวรรษหน้า ห่วงสังคมดิจิตอลกระทบแผนผลิตแพทย์รุ่นใหม่

   คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพเร่งศึกษาการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพในทศวรรษหน้า พร้อมตั้งทีมยกร่างยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติฯ ระยะที่ ๒ มุ่งบูรณาการทุกหน่วยงาน ทั้งระดับสภาวิชาชีพจนถึงระดับท้องถิ่น หลังพบสารพัดปัจจัยภัยคุกคามสุขภาพคนไทย และสังคมยุคดิจิตอลในปัจจุบันทำให้เยาวชนหันไปเรียนและประกอบอาชีพด้านอื่นแทน
 

NCITHS สนับสนุนเวทีใหญ่ถก TPP ศึกษาผลกระทบสุขภาพทุกมิติ

   คณะกรรมการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลระทบต่อสุขภาพฯ หรือ NCITHS แนะควรศึกษาผลดีผลเสีย TPP ในทุกด้าน ห่วงผลเสียต่อระบบสุขภาพคนไทย สนับสนุนให้จัดเวทีประชุมวิชาการครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคมนี้ ให้ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่แนวทางเจรจาที่สร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสุขภาพ
 

บอร์ดสุขภาพคนพิการแนะ ๒ กองทุน ขยายสิทธิประโยชน์รักษาคนพิการ

   คณะกรรมการสุขภาพคนพิการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของคนพิการ เสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์และลดความเหลื่อมล้ำในกองทุนหลักประกันสุขภาพและกองทุนประกันสังคม พร้อมหารือบริษัทประกันหลังพบการปฏิเสธรับทำประกันสุขภาพ
 
   เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ได้มีการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาการดูแลสุขภาพคนพิการ และการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ณ ห้องประชุมสุปัญญา ชั้น ๔ อาคารสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี
 

รัฐมนตรีอิหร่านดูงาน สช.

   เมื่อวันพุธที่ 27 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสุขภาพและศึกษาทางการแพทย์ประประเทศอิหร่าน นำโดย ดร.โมฮัมมัด อยาซิ รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงสุขภาพฯ ด้านการมีส่วนร่วม และดร. อเมอร์โฮสเซน ทาเคียน รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสุขภาพฯ ด้านการต่างประเทศ เข้าเยี่ยมบ้าน สช. และศึกษาดูงานด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ พร้อมกับการวางแนวทางการทำงานร่วมกัน โดยมีนางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและทีมงาน สช. ให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ ดร.โมฮัมมัดฯ ยังได้ร่วมวาดภาพศิลปะติดผนังเพื่อเป็นที่ระลึกอีกด้วย
 

ให้เลี้ยงเป็ดและสุกร!

   เป็นความเข้าใจกันมานานแล้วว่า นโยบายสาธารณะหมายถึงทิศทาง แนวทาง ข้อกำหนด และการกระทำของรัฐบาล ราชการ หน่วยงาน และผู้มีอำนาจ ว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนและสังคม มีทั้งที่เขียนไว้ในแผน ในคำแถลงต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ
 
   เมื่อปี ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีจึงต้องเรียกประชุมชาวบ้าน ประกาศว่า “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร”
 
   นั่นเป็นนโยบายสาธารณะแนวดิ่ง เป็นนโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งที่มองประชาชนเป็นเพียงผู้รับนโยบายและรับผลจากนโยบาย เป็นแนวคิดเก่าของการอภิบาลโดยรัฐ (governace by government)
 

ธรรมนูญสุขภาพคลองอาราง หมู่บ้าน 4 ดี วิถีพอเพียง

     “ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ไม่มีใครแก้ได้ ถ้าไม่ใช่คนในชุมชนเอง” บ้านคลองอาราง อ.เมือง จ.สระแก้ว เป็นหนึ่งในชุมชนที่เคยประสบปัญหาสารพัด ทั้งสุขภาพ การพนัน ยาเสพติด เหล้า บุหรี่ และผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ยิ่งนานวัน ยิ่งสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและวิถีชุมชนดั้งเดิม ทำให้ พัฒนา พรมเผ่า ผู้ใหญ่บ้านคลองอาราง ได้นำแนวทาง “ธรรมนูญสุขภาพ” เข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา จุดเด่นสำคัญที่นำธรรมนูญสุขภาพมาใช้ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ได้คิด ตัดสินใจ กำหนด “ข้อตกลงร่วม” แก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน...

‘ธรรมนูญสุขภาวะโรงเรียน’ เพื่อรอยยิ้มลูกหลานของเรา

     ถ้าแววตาของเด็กนักเรียนที่เปล่งประกาย ถ่ายทอดออกมาเป็นถ้อยคำได้ พวกเขาคงอยากบอกผู้ใหญ่ ให้ช่วยแก้ปัญหาหลายเรื่องที่กระทบกระเทือน สุขภาวะ ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ภัยคุกคามสุขภาพ มิได้บั่นทอนภาพรวมสังคมไทย แต่ยังแทรกซึมไปถึง โรงเรียนชั้นประถมศึกษา ไม่ว่าสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ยาเสพติด ร้านเกมส์ และการใช้สารเคมีทางการเกษตร แนวคิด “ธรรมนูญสุขภาวะโรงเรียนเพื่อลูกหลานของเรา” จึงถูกริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นแผนแม่บทให้กับชุมชน และโรงเรียน ตามแนวทางของ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552” ภายใต้ “พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550”...

หน้า