นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

หนองหินโมเดล สู่ชีวิตแบบ‘อยู่ดี มีแฮง’

     “ปัญหาวัยรุ่นตีกัน จนทำแผลไม่หวาดไม่ไหว บางรายสาหัส ถึงขั้นสมองได้รับความกระทบกระเทือน บางครั้งมาตีกันถึงโรงพยาบาล” เพ็ญศรี สุดชา ผู้อำนวยการ รพ.สต.หนองหิน อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ย้อนอดีต เรื่องราวที่กระทบต่อสุขภาวะของชุมชน เรียกว่า เมื่อไหร่ที่มีการจัดมหรสพขึ้นในตำบลนี้ ก็สร้างความหวาดกลัวว่า อาจมีเยาวชนหรือคนในพื้นที่ กลายเป็นศพไปก็ได้ กระทั่ง 3-4 ปีก่อน ธวัชชัย ไชยรัตน์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลหนองหิน ในขณะนั้น ริเริ่มเปิดเวทีให้ผู้นำชุมชน สอบต./เจ้าหน้าที่อบต.

ธรรมนูญสุขภาพ ต.แสงสว่าง จ.อุดรธานี ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไปสู่ชุมชนในฝัน

     หากชุมชนใดร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างดี ประชาชนที่นั่นมีความผาสุกเสมอ....ความจริงที่เราสัมผัสได้ที่ ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี เมื่อได้ชื่อว่าเป็นคนแสงสว่าง ชาวบ้านร้านตลาด หรือข้าราชการสังกัดน้อยใหญ่ ต่างพร้อมใจกันทำงานด้วยจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อหวังที่จะเห็นชุมชนของตนเองดีขึ้น “ทุกคนรู้ว่า ประโยชน์ส่วนรวม คือ ประโยชน์ของคนในชุมชน” สมาน เสโส นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แสงสว่าง ระดมหัวจิต หัวใจ ของผู้คน มาร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็ง โดยจุดประกาย ธรรมนูญสุขภาพตำบล เป็นหนึ่งในเครื่องมือ “สร้างสุข-ลด ทุกข์”ให้กับพื้นที่นี้ น้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงเกิดขึ้นแบบ ข้ามสาขา ข้ามสังกัด ทั้งองค์การ

สู่ความสุขที่ยืนยาว...ธรรมนูญสุขภาพชาวอำเภอสูงเม่น

     รอยยิ้มใสๆ ของชาว อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา หลังผู้คนในชุมชนทั้ง 12 ตำบล ร่วมจิตร่วมใจกันยกร่าง ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น ขึ้นมา และประกาศเป็นพันธะสัญญา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ธรรมนูญฉบับนี้เปรียบได้กับ แผนแม่บทด้านสุขภาพ ของพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและหัตถกรรมฝีมือ เช่น การแกะสลักไม้ ในทศวรรษที่ผ่านมา ความเป็นเมืองและชนบทมาใกล้กัน วิถีทุนนิยมเปลี่ยนชีวิตของคนสูงเม่นให้เริ่มเคร่งเครียด คำว่า "ปัจจัยสี่" เริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในที่สุดก็กลายเป็น "ปัจจัยเสี่ยง" ทางสุขภาพ พฤติกรรมทั้งเรื่องการบริโภคอาหาร ขาดกา

ก่อ-ร่าง-สร้าง-เคลื่อน ธรรมนูญสุขภาพ

     ความสุขพื้นฐานอย่างหนึ่งของสังคม คือ การที่ผู้คนในชุมชนต่างมีสุขภาวะที่ดี ตลอดช่วง 5 ปีของการใช้ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ซึ่งก่อกำเนิดตามเจตนารมย์ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มุ่งหมายให้คนไทยมีคุณภาพชีวิต ทั้งทางกาย จิต ปัญญา และสังคม เป็นธงที่โบกสะบัดบอกทิศทางการเดิมในอนาคต และให้สัญญาณว่า...ถึงเวลาแล้วที่สุขภาวะวิถีจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แนวคิด "สร้างสุขภาพ นำซ่อมสุขภาพ" และกระบวนการ "แลกเปลี่ยน เรียนรู้" ได้รับการตอบสนองจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยราชการ ประชาสังคม และนักวิชาการ ไปจนถึงคนเล็กคนน้อยในสังคมที่เคยตกสำรวจ ก็เข้าถึงระบบสุขภาพได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท

การทำงานในโลกยุคใหม่

  โลกไม่ใช่ใบเดิม โลกเปลี่ยนไปแล้วประเทศทุกประเทศไม่ได้แยกกันอยู่ ตลาดแต่ละประเทศไม่ได้แยกจากกัน แต่ถูกเชื่อมต่อกันเป็นโลกเดียว เป็นตลาดเดียวไปแล้ว (One World One Market)
 
  เทคโนโลยีสารสนเทศและโลกาภิวัตน์ ได้เชื่อมสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน ถึงกัน เชื่อมโยงกัน อย่างไม่เคยมีมาก่อนโลกเชื่อมโยงเข้าหากันใน ๔ ด้าน

หน้า