วิกฤตฝุ่น

ปรับขบวนครั้งใหญ่! กู้วิกฤต ‘มลพิษอากาศ’ ปูพรม ‘สมัชชาสุขภาพฯ’ ทั่ว ปท.
มลพิษในอากาศ

   สภาพปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ได้สร้างผลกระทบรุนแรงต่อคนไทยทั่วทุกภูมิภาค ล่าสุดตัวเลขค่าฝุ่นละอองที่ จ.เชียงใหม่ สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ติดอันดับ TOP 5 ของโลก
 
   แม้ว่าต้นเหตุของการเกิดมลพิษสัมพันธ์กันในหลายมิติ ตั้งแต่ผลกระทบข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงนโยบายการคมนาคมในประเทศ แน่นอน ทุกความซับซ้อนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ
 
   ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการวางแนวทางแก้ไข PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง และเรื่องนี้จำเป็นต้องทำต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน ในระหว่างที่ภาครัฐดำเนินการไป ภาคเอกชน-ประชาสังคม ก็มีความพยายามจัดการปัญหาอย่างน่าสนใจ

อุดรฯ เปิดเวทีแก้ปัญหาฝุ่นและกลิ่น มลพิษทางอากาศ สร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

   สช. ร่วมกับ สสส. และจังหวัดอุดรธานี เปิดเวทีสานพลังภาคีเครือข่าย ร่วมแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ทั้งจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และ กลิ่นจากโรงงานยางพารา พร้อมประกาศเจตนารมณ์ “อุดรธานี อากาศดีอย่างยั่งยืน” จับมือเอกชน และประชาสังคม เสนอข้อคิดเห็นผ่านกลไกสมัชชาฯ เร่งแก้ปัญหาฝุ่นละออง
 

‘เอกชน-ประชาสังคม’ แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ใช้กลไกสมัชชาสุขภาพฯ สร้างนโยบายสาธารณะ

   “สช.-สสส.” จัดเวทีระดมข้อเสนอ ดึงภาคีภาคเอกชน-ประชาสังคม ร่วมให้ข้อคิดเห็นแนวทางแก้ไขปัญหา “ฝุ่นละออง PM2.5” ผ่านกลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น พร้อมรวบรวมเป็นร่างมติฯ ภายในเดือน ส.ค.นี้ หวังสานพลังแนวราบสู่บทบาทช่วยลดมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน
 

เตรียมผลัก ‘กฎหมายอากาศสะอาด’ แก้ PM2.5 ดูประสบการณ์จากอเมริกา

   กลุ่ม ‘ไทยพร้อม’ และเครือข่ายจัดเสวนาผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ให้พรรคการเมืองต่างๆ รณรงค์ผ่าน change.org สถานทูตอเมริกาเล่าประสบการณ์ริเริ่มกฎหมายนี้ตั้งแต่ 1970 มีองค์กรกำกับดูแลเข้มงวด นักวิชาการระบุ PM2.5 ยังเป็นปัญหา มีสารพิษอื่นอีกมากในฝุ่น โต้กรมควบคุมมลพิษที่ระบุแหล่งกำเนิดหลักมาจากภาคเกษตร-ขนส่ง เพราะขาดข้อมูลภาคอุตสาหกรรม จี้เร่งทำกฎหมาย ‘บัญชีปลดปล่อยมลพิษ’ ด้าน สช. เสนอบรรจุวาระในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนกฎหมาย
 

แนวปฏิบัติด้านสุขภาพ รับมือฝุ่น PM2.5 สถานการณ์ดีขึ้นอย่าลืมการแก้ระยะยาว

   หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนในกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นPM2.5 อย่างหนัก ขณะที่หลายหน่วยงานก็เร่งดำเนินการแก้ไขด้วยมาตรการหลายอย่าง
 
   ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็นมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกและผ่านผนังปอดเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่เส้นเลือดฝอย กระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นนี้ยังเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งอื่น
 

เปิดแนวทางแก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 สช. เล็งจัดเวทีพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้าง กทม. โฉมใหม่

   นักเศรษฐศาสตร์ชี้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจหลักหมื่นล้าน กุมารแพทย์แนะนำให้งดกิจกรรมกลางแจ้งของเด็ก นักวิชาการเสนอสร้างดัชนีคุณภาพอากาศเชิงสุขภาพของไทยขึ้นเอง และเร่งปลูกพืชใบหยาบเพื่อช่วยดูดซับฝุ่นละออง ด้าน สช. พร้อมจัดเวทีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหาทางออกวิกฤตฝุ่น ใช้โอกาสนี้ร่วมกันพลิกเมืองกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม