นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

อุดรฯ เปิดเวทีแก้ปัญหาฝุ่นและกลิ่น มลพิษทางอากาศ สร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

   สช. ร่วมกับ สสส. และจังหวัดอุดรธานี เปิดเวทีสานพลังภาคีเครือข่าย ร่วมแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ทั้งจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และ กลิ่นจากโรงงานยางพารา พร้อมประกาศเจตนารมณ์ “อุดรธานี อากาศดีอย่างยั่งยืน” จับมือเอกชน และประชาสังคม เสนอข้อคิดเห็นผ่านกลไกสมัชชาฯ เร่งแก้ปัญหาฝุ่นละออง
 

ออกแบบ ‘อนาคต’ ตามบริบทของพื้นที่ ด้วยเครื่องมือ ‘สมัชชาฯ’

   สวัสดีครับพี่น้องภาคีเครือข่ายทุกท่าน ในเดือนกันยายนนี้จะมีการจัดประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลก (UN Food Systems Summit) ขึ้น โดยประเทศไทยจะไปนำเสนอแผน “Food System Transformation” ซึ่งมีสาระสำคัญเชื่อมร้อยกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต” เมื่อปีที่ผ่านมา
 

บอร์ดใหญ่ คสช. เปิดพื้นที่ ‘กลุ่มเปราะบาง-คนด้อยโอกาส’ สร้างนโยบายสาธารณะ รับกรอบงานสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 14

   “บอร์ดสุขภาพแห่งชาติ” รับทราบกรอบแนวทางจัดสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งที่ 14 ที่เน้นหนักเรื่องขยายการมีส่วนร่วม ดึง “กลุ่มเปราะบาง คนด้อยโอกาส เครือข่ายผู้ป่วย เด็ก-เยาวชนคนรุ่นใหม่” ร่วมเวทีสร้างนโยบายสาธารณะ ต่อยอดความสำเร็จ จัดงาน 2 วันแบบ “ไฮบริด” 15-16 ธ.ค.นี้
 

คิ๊กออฟจัดทำ ‘ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ’ ฉบับ 3 ‘ดร.สุวิทย์’ นำทัพกำหนดทิศทางสร้างสุขภาวะไทย

   เปิดวงหารือจัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3” นัดแรก “ดร.สุวิทย์” ตั้งเป้าเปลี่ยนประชาชนจาก Passive Citizen ให้เป็น Active Citizen พร้อมทั้งดึง “เอกชน-ชุมชน-เยาวชน” เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะ “ผู้รับ-ผู้ร่วม” กำหนดนโยบายสาธารณะ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เท่าทันพลวัตโลก
 
   ประชุมคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นัดแรกเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 ซึ่งมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธาน ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำข้อเสนอ และยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ที่จะใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทย
 

เตรียมพร้อมก่อนเหินฟ้า! ถก ‘ความมั่นคงอาหาร’ เวทีโลก

   กระทรวงเกษตรฯ จับมือ สช. และภาคีเครือข่าย เปิดวงรับความคิดเห็นระดับชาติ “National Dialogue” นำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต” เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูล-จัดทำแนวทาง ก่อนเข้าร่วมประชุม “UN Food System Summit” เดือน ก.ย.นี้ ณ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
 

‘เอกชน-ประชาสังคม’ แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ใช้กลไกสมัชชาสุขภาพฯ สร้างนโยบายสาธารณะ

   “สช.-สสส.” จัดเวทีระดมข้อเสนอ ดึงภาคีภาคเอกชน-ประชาสังคม ร่วมให้ข้อคิดเห็นแนวทางแก้ไขปัญหา “ฝุ่นละออง PM2.5” ผ่านกลไกสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น พร้อมรวบรวมเป็นร่างมติฯ ภายในเดือน ส.ค.นี้ หวังสานพลังแนวราบสู่บทบาทช่วยลดมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน
 

‘พระนิสิตเมียนมา’ จิตอาสา หนุนช่วยแรงงงานข้ามชาติ ฟื้นฟูจิตใจ สู้โควิด-19
‘พระนิสิตเมียนมา

   “เมียนมาดูแลเมียนมา” คือ หัวใจสำคัญของปฏิบัติการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ “แรงงานข้ามชาติ” ที่องค์กรศาสนา หน่วยงานด้านสุขภาพ สังคม และสื่อสาร ได้สานพลังความร่วมมือทุกภาคส่วนดำเนินการภายใต้แผนงาน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่” เพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มแรงงานข้ามชาติในพื้นที่เสี่ยง
 

สช. สวรส. สรพ. ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตในองค์กร ประจำปี 2564

   วันนี้ (16 ก.พ. 64) นส.พัชรา อุบลสวัสดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ 3 หน่วยงาน ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตในองค์กร ภายใต้ โครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

เริ่มแล้ว! อบรมพระนิสิตเมียนมา ทำสื่อ ให้ความรู้ช่วงโควิด สร้างกำลังใจแรงงานเพื่อนบ้าน

   สสส. จับมือ สช. ไทยพีบีเอส และภาคีสุขภาพพระสงฆ์ จัดอบรมพระนิสิตชาวเมียนมา 50 รูป ดึงทักษะเด่นด้านภาษา ช่วยเป็นล่าม-ทำคลิป-ลงพื้นที่ รุกงานสร้างความรอบรู้สุขภาพช่วงโควิด-19 ระลอกใหม่ พร้อมให้กำลังใจแรงงานชาวเมียนมาสู้ต่อ ตั้งเป้า 6 พื้นที่เสี่ยง บางขุนเทียน-บางบอน-ภาษีเจริญ-บางแค-จอมทอง-หนองแขม
 

หน้า