ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ

ขีดกรอบ ‘ธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติฯ ฉบับ 3’ สร้างสุขภาวะไทยตอบโจทย์โลกหลังโควิด-19

   วงถกหารือกรอบแนวทาง-กระบวนการยกร่าง “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3” ตั้งเป้าเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ-แผนงานทุกระดับ สอดรับทิศทางการสร้างสังคมสุขภาวะบนบริบทโลกยุคใหม่ ให้ทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าของ-นำไปประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม
 

คิ๊กออฟจัดทำ ‘ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ’ ฉบับ 3 ‘ดร.สุวิทย์’ นำทัพกำหนดทิศทางสร้างสุขภาวะไทย

   เปิดวงหารือจัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3” นัดแรก “ดร.สุวิทย์” ตั้งเป้าเปลี่ยนประชาชนจาก Passive Citizen ให้เป็น Active Citizen พร้อมทั้งดึง “เอกชน-ชุมชน-เยาวชน” เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะ “ผู้รับ-ผู้ร่วม” กำหนดนโยบายสาธารณะ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เท่าทันพลวัตโลก
 
   ประชุมคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นัดแรกเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 ซึ่งมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธาน ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำข้อเสนอ และยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ที่จะใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทย
 

‘บอร์ดสุขภาพประเทศ’ ไฟเขียวแผน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19”

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบ 2 มติสมัชชาสุขภาพฯ ปี 63 เตรียมชง ครม. รับทราบเพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ ด้าน “รองนายกฯ อนุทิน” กำชับทุกฝ่ายเร่งขับเคลื่อนมติให้เกิดเป็นรูปธรรม มั่นใจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคระบาดให้ชุมชนได้ ขณะที่ “นพ.ประทีป” ชวนองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศเปิดแผนงาน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่” เดินหน้าสร้างสังคมหนึ่งเดียว สู้โรคระบาดต้องจับมือ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา
 

คลอดแล้ว! ‘ธรรมนูญสุขภาพ กทม.’ คนกรุงเคาะกติกา ‘หาบเร่แผงลอยและการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน’

   สมัชชาสุขภาพ กทม. ครั้งแรกของประเทศ เห็นพ้องกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา “หาบเร่แผงลอยและการใช้พื้นที่สาธารณะ” ตั้งเป้า 5 ปี บรรลุผล พร้อมให้ฉันทมติต่อ “ธรรมนูญสุขภาพกรุงเทพฯ” สร้างกรอบ-ข้อตกลง กรุยทางสู่เมืองสุขภาวะบนวิถีชีวิตผู้คนที่หลากหลาย
 

‘บอร์ดสุขภาพประเทศ’ หนุนสร้างสุขภาวะ ‘คนกรุง’ ตั้ง “สุวิทย์ เมษินทรีย์” เป็นประธานยกร่างธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ

   วงถกคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เห็นพ้องใช้กลไกสมัชชากรุงเทพฯ แก้ปัญหา ‘หาบเร่แผงลอย’ เพื่อหาข้อตกลงอยู่ร่วมกันแบบ “ดีทุกฝ่ายได้ทุกคน” พร้อมตั้ง “สุวิทย์ เมษินทรีย์” เป็นประธานกรรมการสังคายนายกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ มุ่งปรับ “เข็มทิศด้านสุขภาพของประเทศ” ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง “อนุทิน” มั่นใจ สมัชชาสุขภาพจังหวัดที่จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ จะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้คนไทยตระหนักรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น ช่วยรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่ได้ ด้าน “นพ.ประทีป” ระบุ สมัชชาสุขภาพ กทม. 26 พ.ย.นี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนกรุง
 

เปิดศาลาว่าการ กทม. แก้ปัญหา ‘สุขภาวะคนกรุง’ คาดกว่าพันชุมชน ร่วมกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกัน

   กทม.จับมือ สช. สสส. และภาคีเครือข่าย จัดงานสมัชชาสุขภาพกรุงเทพฯ – จัดทำธรรมนูญสุขภาพกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก 26 พ.ย.นี้ มุ่งหวังกำหนดข้อตกลง-กติกาการอยู่ร่วมกันบนความเห็นพ้องของคนทุกฝ่าย นำร่องเรื่อง “หาบเร่แผงลอย” รองผู้ว่าฯ คาด มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 ชีวิต พร้อมผู้นำชุมชนอีกกว่า 1,000 แห่ง เข้าร่วมผ่านทางออนไลน์
 

KICK OFF ธรรมนูญสุขภาพ กทม. สานพลังสร้าง ‘กติกาชุมชน’ เสริมสุขภาวะคนกรุง

   สช. สานพลังภาคียุทธศาสตร์สุขภาพ-สังคม คิ๊กออฟ “ธรรมนูญสุขภาพ กทม.” เดินหน้าสร้างกติกาชุมชนภายใต้กระบวนการการมีส่วนร่วม หวังแก้ปัญหาตามบริบทของพื้นที่ที่มีความแตกต่าง เริ่มนำร่องใน 13 เขต เพื่อกรุยทางสู่เมืองสุขภาวะ
 

สช.จับมือเครือข่ายต่อยอดมาตรการสู้ ‘โควิด-19’ จ่อทำ ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ กทม. ครั้งแรก!
ทำ ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ กทม.

   สช. ระดม 3 ภาคส่วน “รัฐ-วิชาการ-ประชาชน” ถอดบทเรียนมาตรการชุมชน “สู้ภัยโควิด-19” พร้อมต่อยอดการมีส่วนร่วมสู่การขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพระดับเขต” กทม. เป็นครั้งแรก ผสานกลไก พชข.-กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปั้นสุขภาวะคนกรุง
 

ปฏิบัติการ ‘พลเมืองตื่นรู้-สู้โควิด’ ครบ 1 เดือน เครือข่ายขยายกว้าง - วางทิศทางสู่ ‘New Normal’

   สรุปแผนงาน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด 19” หลังเปิดปฏิบัติการครบรอบ 1 เดือน พบภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นจาก 12 สู่ 26 องค์กร ทุกฝ่ายพร้อมเดินหน้าสร้างความร่วมมือถึงระดับชุมชน หารือมาตรการระยะถัดไปสู่ “New Normal” ในอนาคต
 
   นับเป็นเวลากว่า 1 เดือนที่ภาคีเครือข่ายด้านสังคมและสุขภาพหลากหลายองค์กร ได้จับมือกันเพื่อขับเคลื่อนแผนงานสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างพลังให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสู้ศึกครั้งนี้
 

ส่องสังคมไทยหลังโควิด19 ตอกย้ำความสำคัญการกระจายอำนาจ ปูทางสู่การปฏิรูปประเทศ

   วิกฤติสุขภาพกับโรคโควิด19 ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะโรคระบาดที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในทุกด้านอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทุกคนควรทำตอนนี้ คือ ความพยายามที่จะผ่านวิกฤตินี้ไปให้ได้ และไม่ควรที่จะปล่อยให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจและความยากลำบากที่เราประสบจะต้องสูญเปล่า ควรมีการเรียนรู้และมองไปข้างหน้า (Post COVID-19) พร้อมกับหาโอกาสในวิกฤติเพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ดีขึ้น
 

หน้า