ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ

“ธรรมนูญสงฆ์” รวมพลังชุมชน พระ วัดทั่วไทย ต้านภัยโควิด19

   สช. ปฏิบัติการสานพลังเครือข่ายร่วมกับพระสงฆ์ทั่วประเทศรับมือวิกฤตโควิด19ด้านพระสงฆ์ชูตัวอย่างกิจกรรมที่วัดมีบทบาทดูแลชุมชน
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)ร่วมกับมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย จัดเวที ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติกู้ภัยโควิด19 “ธรรมนูญสงฆ์ รวมพลังบวร สู้วิกฤตโควิด19”ถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ วัดยานนาวา เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมาโดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคมและประธานกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ สัมโมทนียกถาเปิดการเสวนา
 

ผนึก ‘ธรรมนูญพื้นที่ - กองทุนตำบล' สู้โควิด19 และโรค NCDs

   วงถก ‘New-Norm’ สร้างสุขภาพฯ เสนอบูรณาการ 2 เครื่องมือ “ธรรมนูญพื้นที่-กองทุนตำบล” สู้ภัยโควิด-ยับยั้ง NCDs ในชุมชน
 
   แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะรุนแรงในระดับประวัติศาสตร์ หากแต่อีกด้านก็นับว่าเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้รณรงค์และปลูกฝังพฤติกรรมเชิงบวกเพื่อสร้าง “บรรทัดฐานใหม่” ในการดูแลสุขภาพให้เกิดขึ้นกับประชาชน
 
   โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสู้รบกับ “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” (NCDs : Non-Communicable Diseases) มหันตภัยด้านสุขภาพที่หยั่งรากลงลึกและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
 

สช. จับมือภาคี ดันธรรมนูญสงฆ์ หนึ่งในต้นแบบสู้ภัยโควิด19

   สช.ร่วมกับภาคีเครือข่าย เตรียมจัดเวที ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติกู้ภัยโควิด19: ธรรมนูญสงฆ์ รวมพลังบวร สู้วิกฤตโควิด19’ สื่อสารกับพระสงฆ์และเครือข่ายทั่วประเทศ สานพลังพระสงฆ์-ชุมชน-ภาคประชาสังคม-ภาครัฐ ในวันที่ 28 เม.ย.นี้
 
   สถานการณ์โควิด19 แพร่ระบาด บทบาทของวัด พระสงฆ์ ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงต้องประสานกันเพื่อปกป้องดูแลทั้งพระสงฆ์และฆราวาส หลายวัดทำโรงทานขึ้นเพื่อคนยากจนตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แต่บทบาทของวัดและพระสงฆ์ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
 

สช. สานพลังพระสงฆ์ทั่วไทยร่วมสู้โควิด19 พร้อมให้ความรู้-เยียวยาประชาชน

   สช.สานพลังพระสงฆ์ร่วมดูแลประชาชนทุกมิติ พร้อมขยายความร่วมมือทั่วประเทศ เน้นย้ำตัวอย่างการสร้างธรรมนูญสุขภาพในหลายพื้นที่ในการับมือทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจด้วยต้นทุนของชุมชนในการรับมือภัยโควิด19
 

‘นครสวรรค์’ ดัน ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ สู้ภัยโควิด19

   ชาวบ้านนครสวรรค์ 10 กว่าตำบล ร่วมพูดคุยจัดทำธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ วางกติกาการอยู่ร่วมกัน การป้องกัน และการช่วยเหลือกันในช่วงการระบาดของโควิด19 ขณะที่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดเตรียมวางแผนรับมือด้านเศรษฐกิจชุมชน หลังสถานการณ์คลี่คลาย
 
   ขณะที่หน่วยงานส่วนกลางกำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ประชาชนก็ให้ความร่วมมือด้วยการ ‘อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ’ ในเวลาเดียวกันชุมชนต่างๆ ก็เข้ามาหนุนเสริมการทำงานภาครัฐอย่างแข็งขัน ดังตัวอย่างของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
 

“ธรรมนูญสุขภาพตำบล” มาตรการสังคม ช่วยชุมชนสู้ภัยโควิด19

   นพ.นิรันดร์ ระบุเครื่องมือทางกฎหมายอย่างเดียวไม่เพียงพอสู้ภัยโควิด19 ต้องมีมาตรการทางสังคมเข้าหนุนเสริม ชี้ ‘ธรรมนูญสุขภาพตำบล’ เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การทำงานระดับพื้นที่เกิดการ บูรณาการ เชื่อว่าไทยจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้
 
   ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 สะสมในประเทศล่าสุด วันที่ 2 เมษายน 2563 อยู่ที่ 1,875 คน หลายจังหวัดมีการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันรัฐก็ใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมาย
 

ขยะท่วมเมือง! ‘คนอ่าวนาง’ เอือมระอา

   ชาวอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ เอือมระอาปัญหาขยะมูลฝอยเกลื่อนเมือง ผนึกกำลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อน-ร่วมกันสร้าง “ธรรมนูญสุขภาพ” หวังใช้เป็นเครื่องมือสร้างกติกาหนุนเสริมการทำงานของท้องถิ่น ทางด้าน “อบต.อ่าวนาง” สบช่อง กำหนดนโยบายขานรับข้อบัญญัติในธรรมนูญสุขภาพ ก่อนจะแตกหน่อต่อยอดเป็นมาตรการสุดสร้างสรรค์ ผุดโครงการ “สายตรวจซาเล้ง” เปิดให้ขึ้นทะเบียน แจกเสื้อกั๊กสัญลักษณ์การันตีความปลอดภัย-แยกขยะได้อย่างเปิดเผย
 

เห็นพ้อง ‘สิทธิปฏิเสธการรักษา’ หมอทำได้ตาม ม.12 เร่งสร้างแนวปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะท้าย

   นักกฎหมายยืนยันการทำตามเจตนาของผู้ป่วยระยะท้ายตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับความคุ้มครอง แต่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับสังคม ด้านแพทย์เห็นว่าเป็นการยุติความทรมานของผู้ป่วย แนะควรสร้างระบบดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แนวทางปฏิบัติ และเสริมศักยภาพทีมแพทย์
 

จากอดีตสู่อนาคต ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ เครื่องมือปฏิวัติความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์-ยั่งยืน

   ปิดฉากมหกรรมชุมชนสุขภาวะ ชี้ธรรมนูญสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญยกระดับประชาชนเป็นพลเมือง ร่วมกำหนดชีวิตตนเอง เป็นประชาธิปไตยจากฐานราก หวังพรรคการเมืองหยิบธรรมนูญของชุมชนไปสร้างนโยบายจากล่างขึ้นบน สร้างการปฏิวัติความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์และยั่งยืน
 
   วันที่ 9 มกราคม 2562 ภายในงานมหกรรมชุมชนสุขภาวะ ครั้งที่ 1 วันสุดท้าย ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารรัฐประศาสนภักดี แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีการจัดเสวนาในหัวข้อ จากอดีต สู่อนาคต ‘ธรรมนูญสุขภาพตำบล: ธรรมนูญชุมชนสภาวะ’ เพื่อสำรวจความเป็นมาและความสำเร็จของการสร้างธรรมนูญสุขภาพ
 

คมส. เคลียร์ยุทธศาสตร์ฯ เขตเมือง บูรณาการแผนดูแลสุขภาพคนเมือง

   คมส. ให้ความเห็นยุทธศาสตร์สุขภาพเขตเมือง บูรณาการการทำงานของรัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่น ลดซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ เน้นระบบดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิและการส่งต่อ เพิ่มอัตรากำลังหมอครอบครัวแก้ปัญหาสุขภาพคนเมือง พร้อมสรุป ๘ แนวทางปรับการทำงาน คมส. พลิกโฉมหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้เป็นรูปธรรม
 

หน้า