พลังพลเมืองตื่นรู้

เปิดแผนชุมชนจัดการตนเองกู้วิกฤต ‘คลองเตย’ ตัดวงระบาด-จัดระบบพักคอยรอส่งต่อ-ดูแลหลังกลับจากรพ.

   วงเสวนา “โควิด-19 รุกคลองเตย” เปิดโมเดลชุมชนจัดการตนเอง ตัดวงจรระบาด-จัดระบบส่งต่อ-ดูแลครัวเรือน-เฝ้าระวังผู้ที่หายป่วย “รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” ชี้ต้องเร่งถอดบทเรียน ขยายต้นแบบไปสู่พื้นที่อื่น ขณะที่ “สลัมสี่ภาค-เครือข่ายบ้านมั่นคง” วอนช่วยเหลือคนจนที่ได้รับผลกระทบ เสนอพักหนี้บ้าน ขอการสนับสนุนอาหาร-อุปกรณ์ป้องกันโรค
 

ศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจชุมชนคลองเตย ตัวอย่างพลังพลเมืองที่ตื่นรู้กับการจัดระบบควบคุม ป้องกันโรคในชุมชน

   สวัสดีครับเพื่อนภาคีเครือข่ายทุกท่าน สถานการณ์โควิด-19 ระลอกสามในเดือนเมษายน และพฤษภาคมนี้ ยังคงน่าวิตกอย่างยิ่ง ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันมากกว่า ๑,๕๐๐ คนตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน และทะลุ ๒,๐๐๐ คนต่อเนื่องหลายวัน สูงสุดถึง ๒,๘๓๙ คนในวันที่ ๒๔ เมษายน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ ต่อเนื่องมาถึงวันที่ ๒ มีผู้ป่วยเสียชีวิตตกวันละ ๒๑ คน ตามด้วยวันที่ ๓ เพิ่มขึ้นเป็น ๓๑ คน นับเป็นสถิติสูงสุดของไทย จากเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษที่นักวิชาการว่าข้ามมาจากกัมพูชาทางชายแดนด้านตะวันออก ขณะที่สายพันธุ์อ

ดีเดย์ 30 เม.ย. 'คลองเตย’ เปิดพื้นที่ ‘วัด’ สู้โควิด หนุนประชาชนตั้งศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจ ตัดวงจรระบาดชุมชนแออัด

   สช.จับมือ กทม. ผนึกภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและสังคม ร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” หรือ Community isolation ในชุมชนคลองเตย โดยใช้พื้นที่วัดสะพาน เขตพระโขนงเป็นฐานพักพิงใกล้บ้านใกล้ใจ หวังตัดวงจรระบาดโควิดระลอกสามในชุมชนแออัด แยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน ลดการแพร่ระบาดและดูแลเบื้องต้นระหว่างรอส่งต่อไปรักษาต่อที่ รพ. คาดเริ่มเปิดแห่งแรก 30 เม.ย.นี้
 

สช.สานพลัง ‘คนรุ่นใหม่’ แก้โจทย์ประเทศ เตรียมจัด ‘สมัชชาสุขภาพฯ เด็ก-เยาวชน’ ทั่วประเทศ

   สช. ขยายการมีส่วนร่วมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ชักชวนกลุ่ม “คนรุ่นใหม่” ร่วมคิดพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาประเทศ พร้อมจัด “สมัชชาสุขภาพฯ เด็กเยาวชน” ครั้งแรก ปูพรมทุกภูมิภาค เพื่อกำหนดโจทย์-แสวงหาคำตอบ ที่ตรงจุดตามความต้องการ
 

‘บอร์ดสุขภาพประเทศ’ ไฟเขียวแผน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19”

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบ 2 มติสมัชชาสุขภาพฯ ปี 63 เตรียมชง ครม. รับทราบเพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ ด้าน “รองนายกฯ อนุทิน” กำชับทุกฝ่ายเร่งขับเคลื่อนมติให้เกิดเป็นรูปธรรม มั่นใจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคระบาดให้ชุมชนได้ ขณะที่ “นพ.ประทีป” ชวนองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศเปิดแผนงาน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่” เดินหน้าสร้างสังคมหนึ่งเดียว สู้โรคระบาดต้องจับมือ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา
 

บทเรียนโควิด-19 นำมาจัดการวิกฤต เน้นพลังพลเมืองตื่นรู้
บทเรียนโควิด-19 นำมาจัดการวิกฤต

   ท่ามกลางโควิด-19 ที่กลับมาระลอกใหม่ หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 คือเวทีเสวนา “ก้าวผ่านวิกฤตโควิด ... สู่วิถีชีวิต และการจัดการใหม่ร่วมกัน” ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนรูปธรรมการสานพลังเพื่อฟันฝ่าวิกฤตสุขภาพในครั้งนี้
 
   ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บอกว่า สถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลกยังอยู่ในขาขึ้นและไม่คงที่ โดยสถิติล่าสุดขณะนี้คือทุก 3 วัน จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากถึง 1 ล้านราย ขณะที่อัตราการเสียชีวิตทะลุ 1 หมื่นรายต่อวัน
 

‘บอร์ดสุขภาพประเทศ’ หนุนสร้างสุขภาวะ ‘คนกรุง’ ตั้ง “สุวิทย์ เมษินทรีย์” เป็นประธานยกร่างธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ

   วงถกคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เห็นพ้องใช้กลไกสมัชชากรุงเทพฯ แก้ปัญหา ‘หาบเร่แผงลอย’ เพื่อหาข้อตกลงอยู่ร่วมกันแบบ “ดีทุกฝ่ายได้ทุกคน” พร้อมตั้ง “สุวิทย์ เมษินทรีย์” เป็นประธานกรรมการสังคายนายกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ มุ่งปรับ “เข็มทิศด้านสุขภาพของประเทศ” ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง “อนุทิน” มั่นใจ สมัชชาสุขภาพจังหวัดที่จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ จะสร้างแรงสั่นสะเทือนให้คนไทยตระหนักรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น ช่วยรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่ได้ ด้าน “นพ.ประทีป” ระบุ สมัชชาสุขภาพ กทม. 26 พ.ย.นี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนกรุง
 

“พัทยา - สช.” จับมือขับเคลื่อน ‘สมัชชาสุขภาพเมืองพัทยา’ วางมาตรการรับมือ ‘นักท่องเที่ยว’ ยุคโควิด-19

   “พัทยา - สช.” ประสานความร่วมมือเตรียมจัด “สมัชชาสุขภาพเมืองพัทยา” หวังจัดทำนโยบายสาธารณะสร้างสมดุลเศรษฐกิจ-สังคม-สุขภาพ พร้อมวางมาตรการรับมือ “เปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว”ยุคโควิด-19
 

พลังพลเมืองตื่นรู้กับภารกิจขับเคลื่อน ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ วาระแห่งชาติในสมัชชาสุขภาพฯ ปีนี้
พลังพลเมืองตื่นรู้กับภารกิจขับเคลื่อน ‘ความมั่นคงทางอาหาร’

   วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หลายชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบทต่างต้องหาวิธีจัดการเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ให้ได้ เนื่องจากปัญหาปากท้องเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม
 

สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’
สช. เปิดรับฟังความเห็น ‘ข้อถกแถลง’ สมัชชาสุขภาพฯ เดินหน้า ‘สร้างความมั่นคงอาหาร-รับมือโรคอุบัติใหม่’

   สช. จับมือภาคีเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ความมั่นคงทางอาหาร-โรคอุบัติใหม่” เพื่อพัฒนาข้อเสนอสู่การจัดทำระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 โดยภาคีเครือข่ายเสนอตั้ง “ครัวชุมชน-ธนาคารอาหาร” รับมือวิกฤต ด้านอาจารย์แพทย์จุฬาฯ ชงถอดบทเรียนโควิด-19 สู่การทำ “บันทึกการทำงาน” เพื่อใช้รับมือโรคระบาดในอนาคต
 

หน้า