โควิด19

ทำความรู้จัก ‘ธรรมนูญ On air’ โมเดลสู้โควิด19 ของ กขป.เขต 12

   กขป. เขต 12 รวมพลังเครือข่าย 7 จังหวัดภาคใต้ฝ่าวิกฤตโควิด 19 เดินหน้าสร้างความร่วมมือ หารือ-เสาะแสวงมาตรการสู่ผลลัพธ์การปฏิบัติงานในพื้นที่ ผ่านการจัด “ธรรมนูญ on air” เปลี่ยนกระบวนการพูดคุยสู่เป้าหมายจากฐานต้นทุนเดิม
 
   “ธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่” หรือกระบวนการสร้างข้อตกลงร่วมของชุมชน เป็นเครื่องมือตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ถูกนำไปใช้เพื่อจัดการปัญหาและคลี่คลายความขัดแย้งมานักต่อนัก
 

ชุมชนมุสลิม รวมพลังป้องกัน ‘โควิด19’

   พี่น้องชาวมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้สานพลังสู้ภัยโควิด19 ขานรับมาตรการทางสังคมเหตุสอดรับกับคำสอนของศาสนาอิสลามอย่างเป็นเนื้อเดียว พร้อมระดมสมองสร้าง “ข้อตกลงร่วมของพื้นที่” ช่วยหนุนเสริมความเข้มแข็งชุมชน
 
   80% ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นับถือ “ศาสนาอิสลาม” มีความเชื่อ ความศรัทธา และปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัด การละหมาดร่วมกันที่มัสยิดในวันศุกร์ การฟังบรรยายทางศาสนา ประเพณีการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด การสัมผัสแก้ม คือวิถีชีวิตที่ผูกติดกับลมหายใจของพี่น้องมุสลิมมาอย่างยาวนาน
 

ชาวพะเยาสานพลัง จัดกติกาชุมชน ป้องกันภัยโควิด19

   เครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา สานพลังชุมชนในพื้นที่รับมือโควิด19 วางกติกาการอยู่ร่วมกัน สร้างกิจกรรมให้คนที่ต้องกักตัวตระหนักในคุณค่าตนเอง แลกเปลี่ยนข้อมูล เฝ้าระวัง ใช้กองทุนสวัสดิการหรือธนาคารหมู่บ้านช่วยเหลือสมาชิก เน้นให้กำลังใจ แบ่งปันเกื้อกูล
 

ชาวอุบลฯ งัด ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ สู้ภัยโควิด19

   ถอดบทเรียน จ.อุบลราชธานี ใช้ “ธรรมนูญสุขภาพ” สู้ภัยโควิด 19 กำหนดข้อตกลง-แนวปฏิบัติร่วมกัน หากฝ่าฝืนอาจถูกมาตรการทางสังคม “นพ.นิรันดร์” ในฐานะประธาน กขป. ระบุ เดินหน้าสานพลังเครือข่ายทุกระดับในพื้นที่ พร้อมต่อยอดความสำเร็จไปสู่เขตสุขภาพอื่น
 

สช.ผนึกกำลังองค์ภาคี สู้ศึก! ในปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ สู้ภัยโควิด19”

   3 เมษายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่าย ‘ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19’ ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กเพจ สช.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยหน่วยงานด้านนโยบายต่างๆ ได้อธิบายภาพความร่วมมือระหว่างกันและบทบาทในการสนับสนุนงานในพื้นที่
 

“ธรรมนูญสุขภาพตำบล” มาตรการสังคม ช่วยชุมชนสู้ภัยโควิด19

   นพ.นิรันดร์ ระบุเครื่องมือทางกฎหมายอย่างเดียวไม่เพียงพอสู้ภัยโควิด19 ต้องมีมาตรการทางสังคมเข้าหนุนเสริม ชี้ ‘ธรรมนูญสุขภาพตำบล’ เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การทำงานระดับพื้นที่เกิดการ บูรณาการ เชื่อว่าไทยจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้
 
   ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 สะสมในประเทศล่าสุด วันที่ 2 เมษายน 2563 อยู่ที่ 1,875 คน หลายจังหวัดมีการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันรัฐก็ใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมาย
 

‘สู้ภัยโควิด19’ เปลี่ยนวิกฤตเป็น ‘ความยั่งยืนของชุมชน’

   ตัวเลขผู้ป่วยสะสมจากไวรัสโควิด19 ที่ทวีสูงขึ้นเรื่อยๆ...ยังไม่มีใครตอบได้ว่าการระบาดครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
 
   แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเข้มข้นขึ้นทุกขณะ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่ในหลายประเทศทั่วโลก มาตรการใดๆ ก็ไม่อาจเกิดผลได้ หากคนในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตระหนัก และไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เช่นนี้แล้ว ประชาชน ‘ทุกคน’ จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้มาตรการของรัฐสัมฤทธิ์ผล รวมถึงหนุนเสริมส่วนที่ตนเองทำได้เพื่อร่วมกันต่อสู้ภัยโควิด19
 

‘ตระกูล ส.’ ผนึกภาคียุทธศาสตร์ด้านสังคม ปลุกพลเมืองสู้โควิด19

   “....บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน พวกเขาจะไม่โดดเดี่ยวในสถานการณ์สู้รบครั้งนี้...”
 
   สถานการณ์โรคโควิด19 ระบาด เพื่อผ่อนแรงไม่ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เปรียบดั่ง “ทัพหน้า” ในการสู้ศึกไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ต้องบอบช้ำจนเกินไป เหล่าทัพหลวงซึ่งก็คือ ประชาชนทุกคนในประเทศจึงต้องมีวินัยและปฏิบัติตัวตามแนวทางรับผิดชอบต่อสังคม
 

เริ่มแล้ว! ปฏิบัติการ ‘ชุมชน’ เป็นฐานต้านโควิด19 เล็งตำบลเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์

   เริ่มแล้ว! เวทีระดมความเห็น ‘รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติ สู้ภัยโควิด19’ ตั้งแต่ระดับจังหวัดถึงตำบล สร้างมาตรการสังคมรับมือผลกระทบ เน้นตำบลเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หนุนเสริมการทำงานรัฐ พร้อมสนับสนุนทุกรูปแบบ
 

หน้า