สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

ผุดแผน! ดูแลผู้ป่วยตามความต้องการ สร้างมาตรฐานกลางระบบบริการสุขภาพไทย

   สช. ระดมผู้เชี่ยวชาญจัดทำแนวทาง “Advance care plan” วางแผนการดูแลล่วงหน้า หวังสร้างเป็นระบบมาตรฐานในการรักษาพยาบาล “นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย” เสนอชง “แพทยสภา” รับรองให้เป็นแนวทางกลาง เดินหน้าตามหลักการ ม.8 และ ม.12 พ.ร.บ.สุขภาพฯ เพื่อรับรองสิทธิของบุคคลในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรับบริการสาธารณสุข
 

สธ. - สช. - สภาการพยาบาล ปูพรมนโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะ ‘ผู้ป่วยระยะสุดท้าย’ ทั่วประเทศ

   สธ.- สช.- สภาการพยาบาลจับมือเดินหน้ามอบนโยบายบูรณาการการดำเนินงาน “สิทธิการตายดี” ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หรือ Living Will และการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) แก่ผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด และเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต เตรียมดันเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิ เข้าถึงชุมชน ครอบคลุมทุกโรคทุกช่วงวัย ทั่วประเทศ
 

สช. จับมือ สธ. - สปสช. - 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อน Palliative Care และ Living Will

   สช. ร่วมกับ สธ., สปสช. และ 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศเดินหน้าขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง และการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ เปิดม่านเขตสุขภาพที่ 11 เป็นพื้นที่แรก ทำความเข้าใจทั้งแง่กฎหมาย องค์ความรู้ จริยธรรมวิชาชีพ เรียนรู้ต้นแบบ รพ.ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความร่วมมือ พร้อมผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
 

สช.- สนง.คกก.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จับมือ วางแนวปฏิบัติข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคล

   นพ.ประทีป นำทีมผู้บริหาร สช. เคาะประตูกระทรวงดิจิทัลฯ พบเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สร้างความร่วมมือ - ตั้งคณะทำงานในการวางแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลร่วมกัน เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลบุคคลตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ - พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นเอกภาพ และไม่เป็นอุปสรรคในภาคปฏิบัติ ที่ประชุมเคาะมติตั้งคณะทำงานเฉพาะ ให้ สช.เชื่อมหน่วยงานหลักร่วมวางเกณฑ์ ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นวงกว้าง
 

สช. ลุยสร้างความเท่าเทียม ‘คนเปราะบาง’ ผุดแผนปฏิบัติการปี 64 เน้น ‘สิทธิสุขภาพ’
สช. ลุยสร้างความเท่าเทียม ‘คนเปราะบาง’ ผุดแผนปฏิบัติการปี 64 เน้น ‘สิทธิสุขภาพ’

   สช. ระดมภาคีร่วมกระบวนการ “Think Tank” หารือสนับสนุนการดำเนินงานมาตรา 6 พ.ร.บ.สุขภาพฯ ขับเคลื่อนสิทธิ “กลุ่มเปราะบาง” บรรจุลงแผนงานปี 2564 เดินหน้าสร้างความเท่าเทียมในสังคม
 

สช. สานพลังพระสงฆ์ทั่วไทยร่วมสู้โควิด19 พร้อมให้ความรู้-เยียวยาประชาชน

   สช.สานพลังพระสงฆ์ร่วมดูแลประชาชนทุกมิติ พร้อมขยายความร่วมมือทั่วประเทศ เน้นย้ำตัวอย่างการสร้างธรรมนูญสุขภาพในหลายพื้นที่ในการับมือทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจด้วยต้นทุนของชุมชนในการรับมือภัยโควิด19
 

‘นครสวรรค์’ ดัน ‘ธรรมนูญสุขภาพ’ สู้ภัยโควิด19

   ชาวบ้านนครสวรรค์ 10 กว่าตำบล ร่วมพูดคุยจัดทำธรรมนูญสุขภาพในพื้นที่ วางกติกาการอยู่ร่วมกัน การป้องกัน และการช่วยเหลือกันในช่วงการระบาดของโควิด19 ขณะที่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดเตรียมวางแผนรับมือด้านเศรษฐกิจชุมชน หลังสถานการณ์คลี่คลาย
 
   ขณะที่หน่วยงานส่วนกลางกำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ประชาชนก็ให้ความร่วมมือด้วยการ ‘อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ’ ในเวลาเดียวกันชุมชนต่างๆ ก็เข้ามาหนุนเสริมการทำงานภาครัฐอย่างแข็งขัน ดังตัวอย่างของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
 

ชาวพะเยาสานพลัง จัดกติกาชุมชน ป้องกันภัยโควิด19

   เครือข่ายสร้างบ้านแปงเมืองพะเยา สานพลังชุมชนในพื้นที่รับมือโควิด19 วางกติกาการอยู่ร่วมกัน สร้างกิจกรรมให้คนที่ต้องกักตัวตระหนักในคุณค่าตนเอง แลกเปลี่ยนข้อมูล เฝ้าระวัง ใช้กองทุนสวัสดิการหรือธนาคารหมู่บ้านช่วยเหลือสมาชิก เน้นให้กำลังใจ แบ่งปันเกื้อกูล
 

สช.ผนึกกำลังองค์ภาคี สู้ศึก! ในปฏิบัติการ “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ สู้ภัยโควิด19”

   3 เมษายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่าย ‘ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19’ ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กเพจ สช.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดยหน่วยงานด้านนโยบายต่างๆ ได้อธิบายภาพความร่วมมือระหว่างกันและบทบาทในการสนับสนุนงานในพื้นที่
 

“ธรรมนูญสุขภาพตำบล” มาตรการสังคม ช่วยชุมชนสู้ภัยโควิด19

   นพ.นิรันดร์ ระบุเครื่องมือทางกฎหมายอย่างเดียวไม่เพียงพอสู้ภัยโควิด19 ต้องมีมาตรการทางสังคมเข้าหนุนเสริม ชี้ ‘ธรรมนูญสุขภาพตำบล’ เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้การทำงานระดับพื้นที่เกิดการ บูรณาการ เชื่อว่าไทยจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้
 
   ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 สะสมในประเทศล่าสุด วันที่ 2 เมษายน 2563 อยู่ที่ 1,875 คน หลายจังหวัดมีการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันรัฐก็ใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นอำนาจทางกฎหมาย
 

หน้า