สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ในสังคม

   เวที ‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ชี้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกำลังสร้างวิกฤตต่อความหมายทั้งกับชีวิตและความตาย นักวิชาการย้ำความหมายของความตายเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและสัมพันธ์กับคำถามว่า ‘ชีวิตที่ดีคืออะไร?’
 
   วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัด เสวนา REST IN PEACE 4 : วิกฤตความหมายในความตาย จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ
 

สช. เปิดเวที “เร่งตาย VS เลือกตาย” หนุนใช้สิทธิมาตรา 12 ตายตามธรรมชาติ

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “เร่งตาย VS เลือกตาย สิทธิในวาระสุดท้าย ใครกำหนด?” ผงะ! ผลโพลเพจ Drama-addict พบ 95% สนับสนุนการุณยฆาต ระบุคนโหวตยังไม่รู้จักวิธีการดูแลรักษาแบบประคับประคอง ด้านที่ปรึกษาด้านสิทธิสุขภาพและอาจารย์แพทย์หนุนใช้สิทธิตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 เลือกตายตามธรรมชาติ
 

เห็นพ้อง ‘สิทธิปฏิเสธการรักษา’ หมอทำได้ตาม ม.12 เร่งสร้างแนวปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะท้าย

   นักกฎหมายยืนยันการทำตามเจตนาของผู้ป่วยระยะท้ายตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับความคุ้มครอง แต่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับสังคม ด้านแพทย์เห็นว่าเป็นการยุติความทรมานของผู้ป่วย แนะควรสร้างระบบดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แนวทางปฏิบัติ และเสริมศักยภาพทีมแพทย์
 

สื่อสารความตายแบบ ‘เบาใจ’ สื่อสารความตายด้วยหัวใจ
สื่อสารความตายแบบ ‘เบาใจ’ สื่อสารความตายด้วยหัวใจ

   สมัยเด็กๆ ทุกคนจะมีไดอารี่เล่มเล็กๆ บอกเล่าชีวิตประจำวันและความฝันว่าอยากจะทำโน่น นี่ นั่น ... เมื่อเติบโตขึ้น หลายคนมีหน้าที่การงานรัดตัว เริ่มหลงลืมไดอารี่เล่มเดิม มานึกขึ้นได้อีกครั้งวันวัยก็ร่วงโรยห่างไกลจากครั้งที่เริ่มเขียนไดอารี่เล่มแรกไปไกลโข
 
   ถ้าใครอยากเขียนบันทึกชีวิตตัวเองอีกครั้ง ขอแนะนำ “สมุดเบาใจ” ที่คงไม่ใช่ไดอารี่สวยหรูเพ้อฝัน แต่เป็นสมุดโน้ตที่บอกเล่า “ความต้องการของฉัน” เกี่ยวกับสุขภาวะในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตและ “การตายดี”
 

ผนึกภาคีเครือข่ายสร้างสุขที่ปลายทาง พลิกโฉมระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสู่ ‘การตายดี’

   คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางเดินหน้าพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ร่วมกับเครือข่ายและจิตอาสา เปลี่ยนทัศนคติสังคม-สานพลัง 4 ประเด็นหลัก ขณะที่แพทย์เตือนประเทศไทยเผชิญหน้าภาวะสึนามิลูกใหญ่ในระบบสุขภาพ เสนอออกกฎหมายเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำงาน
 

มุมมอง ‘ความตาย’ ในทัศนะ ‘คนรุ่นใหม่’

   หลายคนอาจมองว่า ‘ความตาย’ กับ “วัยหนุ่มสาว” น่าจะยังเป็นเรื่องห่างไกล หากในความจริง วัยนี้ก็ไม่ต่างจากวัยอื่น มีโอกาสอยู่ในสถานการณ์เฉียดตายได้เช่นเดียวกัน !!
 
   ดังกรณีของ “ปูเป้” ปริญลดา ศรีภัทราพันธุ์ อดีตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย ซึ่งตรวจพบในวัยเพียง 17 ปี ในช่วงเวลาที่ควรใช้ชีวิตวัยเด็กอย่างสนุกสนาน แต่กลับต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อทำเคมีบำบัดนับเดือน นับปี และนั่นคือจุดพลิกผัน ทำให้ “ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว” สำหรับเธอ
 

ผนึก ๕ องค์กรร่วมพัฒนามาตรฐานกลาง ยกระดับระบบบริการสุขภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของประเทศไทย

   ๕ องค์กรภาครัฐและวิชาการร่วมลงนาม MOU จัดทำนิยามปฏิบัติการของคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคองของประเทศไทย หวังรับมือสถานการณ์สังคมผู้สูงวัยและโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น มั่นใจช่วยยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เล็งเสนอคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศฯ เพื่อขับเคลื่อนนำไปปฏิบัติในสถานพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมดัน ๓ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลเบิกจ่ายอย่างครอบคลุม
 

วางพิมพ์เขียว Hospice ศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เชื่อมโรงพยาบาล-บ้าน สร้างคุณภาพชีวิตก่อนตาย

   ทุกภาคส่วนจับมือเดินหน้าผลักดันแนวทางสร้างศูนย์การดูแลผู้ป่วยระยะเวลาสุดท้ายก่อนเสียชีวิต (Hospice) โดย มธ. พร้อมให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ขณะที่ รพ.รามาฯ เตรียมสร้าง End of life ward รองรับการตายดีในโรงพยาบาล
 
   เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๑ มีการจัดเสวนา “Hospice กับการรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล” โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ใน งานประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ ๑๙ (19th HA National Forum) ร่วมด้วย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ณ ศูนย์การประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี
 

หน้า