สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

เชิญชวนตอบแบบสอบถาม

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีกำหนดการจัดอบรมวิชาการให้แก่บุคลากรสถานบริการสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการดูแลแบบประคับประคองให้มีความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติในเรื่องการแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.

สช. จับมือภาคี จัดเวทีเสวนา สิทธิการตายดีตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จับมือศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จัดเวทีเสวนาวิชาการ “สิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และแนวปฏิบัติกรณีการเสียชีวิตที่บ้าน” ไขข้อข้องใจ เมื่อเลือกวาระสุดท้าย จากไปอย่างสงบที่บ้าน ต้องผ่าศพหรือไม่
 

สภาวิชาชีพด้านสุขภาพขานรับ แนวปฏิบัติฯใช้โซเชียลมีเดีย

   แนวปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ มีผลบังคับใช้นับแต่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้วิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข เกิดความตื่นตัวที่จะเข้ามาดูแลการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของบุคลากรอย่างจริงจังมากขึ้น
 

คุมเข้มเวชระเบียน-ฐานข้อมูลผู้ป่วย

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการและยกร่าง “แนวปฏิบัติตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข” เพื่อออกเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระบบสุขภาพ ดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ที่กำหนดให้ข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงเวชระเบียนผู้ป่วยที่อยู่ในสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ เป็นความลับส่วนบุคคล
 

สช.แนะไกด์ไลน์ใช้สื่อโซเชียล “โพสต์-เซลฟี” ไม่ละเมิดสิทธิสุขภาพ

   การแชท แชร์ โพสต์ อาจใช้เวลาเพียงชั่วพริบตา แต่ข้อมูลด้านสุขภาพต่างๆนานา ปรากฏต่อสายตาผู้คนนับล้านได้ภายในเสี้ยววินาที ... นี่คือพลังของ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งบ่อยครั้งเกิดการละเมิดสิทธิด้านสุขภาพส่วนบุคคลโดยไม่รู้ตัว
 
   โดยเฉพาะในสถานพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งดูแลข้อมูลด้านสุขภาพของคนไข้ เวชระเบียนต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องตาม มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งให้ความคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ไม่ให้มีการเปิดเผยยกเว้นเจ้าของข้อมูลอนุญาต หรือมีกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้บัญญัติให้ต้องเปิดเผยเท่านั้น
 

สช.เดินหน้าคุ้มครองข้อมูลสุขภาพคนไทย

   การคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดปัญหาการนำข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเช่น รายละเอียดการรักษาโรค ฟิล์มเอ็กซเรย์ และภาพถ่ายของผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ เวชระเบียนผู้ป่วย ถูกนำไปเผยแพร่ทางช่องทางต่างๆทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางครั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล
 

หน้า