สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ

สช. จุดประกายภาคีเครือข่าย ปลุกพลังเรียนรู้ สร้างสุขที่ปลายทาง

   สช. เผยทุกภาคส่วนในสังคมไทยขานรับการ “สร้างสุขที่ปลายทาง” เพื่อสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต โดยเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และนักวิชาการ ต่างร่วมกันขับเคลื่อนการเรียนรู้ แนะเร่งพัฒนาระบบการแพทย์แบบประคับประคอง
 

สช.มธ. จับมือพัฒนาวิชาการ ‘สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ

   สช. ลงนามบันทึกความตกลงกับ มธ. สานต่อการพัฒนาวิชาการหมวดสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อาทิ สิทธิการทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ด้าน อธิบการบดี มธ. เผยทุ่มงบ ๒๕๐ ล้านบาท สร้างศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หวังให้จากไปอย่างสงบ สอดคล้องกับ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ คาดแล้วเสร็จอีก ๒ ปีข้างหน้า
 

‘เช็คก่อนแชร์’ เตือนอาจผิด พ.ร.บ.สุขภาพ โทษจำคุก

   เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แนะผู้ใช้สังคมออนไลน์ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลก่อนส่งต่อ โดยเฉพาะข้อมูลสุขภาพ นอกจากละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ยังผิด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ โทษปรับ/จำคุก
 

สช.-สธ.ร่วมเดินหน้าขับเคลื่อน มาตรฐานการตรวจสุขภาพสำหรับประชาชน

   สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น หนุนการจัดทำแนวทางมาตรฐานในการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ เรื่อง “นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” โดยมีกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำร่างแนวทางฯ ร่วมกับสภาวิชาชีพ สถาบันวิชาการ และหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เชื่อประชาชนได้ประโยชน์ในการเลือกบริการตรวจสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมเตรียมนำเข้าเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ ๒๑-๒๓ ธ.ค.นี้ และนำร่องใช้เป็นมาตรฐานในโรงพยาบาลสังกัด สธ.
 

'สิทธิสุดท้าย'แห่งชีวิต

     เปิดแนวคิดสิทธิผู้ป่วยเลือกปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งผ่านมา 8 ปีแล้ว พบว่า มีคนไทยใช้สิทธิไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงสิทธิดังกล่าว ขณะเดียวกัน ในวงการแพทย์ยังมีข้อถกเถียง แพทย์จำนวนหนึ่งมองว่า กฎหมายฉบับนี้ ขัดจรรยาบรรณ และยังผลักภาระความรับผิดชอบมาให้แพทย์ โดยเฉพาะหากเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เมื่อผู้ป่วยยังไม่...อ่านรายละเอียดบทความทั้งหมด

9 วิธีพูดถึง'ความตาย'ให้ธรรมดา

     เมื่อพูดถึง "ความตาย" คนส่วนใหญ่อาจจะยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องอัปมงคล จึงหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงหรือนำมาพูดคุยกัน ในขณะที่วงสนทนาของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับมีความเห็นว่า "หากใครที่ได้ลองคิด ลองคุยถึงความตาย และมีการวางแผนชีวิตในช่วงวาระสุดท้ายได้ดี ก็มีโอกาสที่คนๆ นั้นจะสามารถจากโลกนี้ไปได้อย่างสงบ" เอกภพ สิทธิวรรณธนะ ผู้จัดการโครงการความตายพูดได้ เครือข่ายพุทธิกาให้คำแนะนำถึงวิธีการพูดคุยเรื่องความตายไว้ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้ ...อ่านรายละเอียดข่าวตัดทั้งหมด

สช. หนุนวางกรอบใช้โซเชียลมีเดีย สกัดละเมิดสิทธิสุขภาพ

   เวที สช. เจาะประเด็น ห่วงสังคมไทยใช้เทคโนโลยีไม่ยั้งคิด ละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ยกกรณีเหตุระเบิดราชประสงค์-ดาราในห้องฉุกเฉินเป็นอุทาหรณ์ นักวิชาการหนุนวางบรรทัดฐาน มาตรา ๗ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ ให้องค์กรวิชาชีพถือปฏิบัติ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญโซเชียลมีเดียแนะเผยแพร่กติกา ความรู้ ให้กับสังคมควบคู่ไปด้วย
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวที สช. เจาะประเด็น ครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ เรื่อง “ระวัง! แชท แชร์ ทวิต ละเมิดสิทธิสุขภาพ” เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ ที่ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี
 

หน้า