เกาะติด365วัน

รมว.สาธารณสุข ส่งสัญญาณชัด เร่งขับเคลื่อน ๖๙ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

   การประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๙ นับเป็นการประชุม คมส.นัดแรกของปีนี้ โดยมี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการเข้าร่วม เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความเห็นภายหลัง การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ “สานพลังปัญญาและภาคี สร้างวิถีสุขภาวะไทย” เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
 

คจ.สช.ขับเคลื่อน ๕ ประเด็นสำคัญ สู่เวที สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘

   การประชุม คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ (คจ.สช.) ครั้งที่ ๖/๒๕๕๘ ที่มี อ.เจษฎา มิ่งสมร เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการสรุปประเด็นครั้งสุดท้าย ก่อนบรรจุเข้าสู่วาระ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคมนี้
 

ตั้งทีมประมวลผลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พัฒนานโยบายสาธารณะ...สู่มติที่มีชีวิต

   การจัด สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ดำเนินการมาแล้ว ๗ ครั้ง เรียกได้ว่าผ่านร้อน ผ่านฝน ผ่านหนาว มาจนถึงปีนี้ นับเป็นครั้งที่ ๘
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงมีการประเมินผลความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆในเวทีแห่งนี้ มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
 
    ปีนี้ สช.ได้มอบให้ รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าทีม มาประเมินผลการทำงานในครั้งที่ ๘ นี้ เพื่อปรับปรุงการกระบวนการทำงาน ในปีต่อๆไปด้วย
 

สานพลัง สร้างศักยภาพ ยกระดับ 280 กลุ่มเครือข่าย

   เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ “สานพลังปัญญาและภาคี สร้างวิถีสุขภาวะไทย” ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว ทาง คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดกลุ่มเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วม จึงจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสุชน ชั้น ๒ อาคารสุขภาพแห่งชาติ มุ่งหวังให้เวทีใหญ่ครั้งนี้ ทุกคน ทุกภาคส่วน ได้มาร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์มากที่สุด
 

ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย ลดบริโภคเกลือ...ลดเสี่ยงโรค NCDs

   หนึ่งในปัญหาการบริโภค ที่ส่งผลต่อ “สุขภาวะ” คนไทย และกำลังถูกการยกระดับ ขึ้นเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อเสนอต่อ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ นั่นคือ “นโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)” โดย เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในสังคม
 

ทบทวนมติ “แร่ใยหิน-การแก้ปัญหาหมอกควัน" ผลักดันเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8

   หลังจาก คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เห็นชอบให้มีการ Revisit หรือ การทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงเนื้อหามติ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ นำไปสู่การขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาระเบียบวาระ ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ วันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี
 

จัดกลุ่มมติสมัชชาฯ แก้ปัญหาเร่งด่วน เสนอ คมส.ชุดใหญ่ขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

   นับจากที่ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น ๒ ชุด ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องการแพทย์และสาธารณสุข มี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ เป็นประธาน มีมติที่เกี่ยวข้อง ๓๐ มติ และ คณะอนุกรรมการ ฯ ที่เกี่ยวข้องสุขภาพสังคมและสุขภาวะ มี รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นประธาน มีมติที่เกี่ยวข้อง ๓๔ มติ หวังยกระดับการทำงานติดตาม ขับเคลื่อน ให้เกิดรูปธรรมและมีผลในทางปฏิบัติมากขึ้น
 

วางกรอบประเด็น สุขภาพในเมืองใหญ่ พร้อมเปิดเวทีรับฟัง 27 ต.ค. นี้

   คณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย "การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองอย่างมีส่วนร่วม" ที่มีนพ.ชวินทร์ ศิรินาค เป็นประธาน ได้มีการหารืออย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ ๔ โดยที่ประชุมมีการปรับปรุงเอกสารหลัก รวมถึงร่างมติให้มีความกระชับ และสอดคล้องกัน พร้อมระบุเวลาของการขับเคลื่อนแต่ละมติให้ชัดเจนมากขึ้น
 

สร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับ จากพื้นที่สู่ยุทธศาสตร์ชาติ จุดหมายที่ต้องไปให้ถึง

   ประกาศกันไปแล้ว สำหรับระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณา ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมนี้ รวมทั้งสิ้น ๔ ประเด็น
 
   โดยแต่ละประเด็นล้วนแต่มีความสำคัญ ต่อทุกภาคส่วนในสังคม ได้แก่ ๑. วิกฤตการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ ๒. สุขภาวะชาวนา ๓. การพัฒนาระบบสุขภาพแขตเมืองอย่างมีส่วนร่วม : ระบบบริการสุขภาพ และ ๔. นโยบายการลดบริโภคเกลือ
 

ยกระดับการมีส่วนร่วม 6 กลุ่มเครือข่าย นำร่องสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

   การประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดกลุ่มเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ครั้งที่ ๕/๕๘ ที่มี ดร.ไชยยศ บุญญากิจ เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ มีการสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อความสำเร็จ ของการจัดประชุม รวมพลังเครือข่ายฯ เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา และได้ทบทวนการจัด “กลุ่มเครือข่าย” เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอีกด้วย
 

หน้า