เกาะติด365วัน

เปิดพื้นที่เสนอวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ อนุกรรมการฯ ดีเดย์ ๒๐ กันยายนนี้

   กว่าจะพัฒนาเป็น “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” เพื่อนำเข้าสู่วาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๙ ปลายปีนี้ คณะอนุกรรมการวิชาการและคณะทำงานแต่ละประเด็น ต้องใช้เวลาศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ สังเคราะห์ข้อมูล กลั่นกรองความถูกต้อง ระดมสมอง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระเบียบวาระเกิดความสมบูรณ์มากที่สุด
 
   ล่าสุดมี การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒ ระหว่างประธาน-เลขานุการคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นและคณะอนุกรรมการวิชาการ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสานใจ ๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ
 

เตรียมประกาศพื้นที่ต้นแบบ’เกษตร-อาหารปลอดภัย’ พร้อมถอดบทเรียนขยายผลทั่วประเทศ

   การประชุม “ผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อมูลจังหวัด ที่เสนอเข้าร่วม การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบการจัดการระบบเกษตรและระบบอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร ภายใต้ คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย ที่มี รศ.ภก.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธานฯ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ถือว่ามีความคืบหน้าไปมาก
 

เวิร์คชอป ขับเคลื่อนความพร้อม ๒ ประเด็น น้ำดื่มปลอดภัย-ที่อยู่อาศัยมีสุขภาวะ

   เวที สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคมนี้ ที่อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี มีการกำหนด ร่าง ระเบียบวาระสำคัญ อย่างน้อย ๒ ประเด็น ที่ถือว่า...น่าสนใจและใกล้ตัวคนไทยจริงๆ นั่นคือประเด็น “การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน เมืองสุขภาวะอย่างยั่งยืน” และ “น้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน”
 

เคาะประตูบ้าน! สานพลังเครือข่าย ร่วมเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9

   นับถอยหลังอีกไม่นาน...การจัดประชุม สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ พ.ศ.๒๕๕๙ จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคมนี้ ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยหนึ่งในไฮไลต์สำคัญของเวทีครั้งนี้ คือการที่ภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนทั่วประเทศ จะเข้าร่วมสานพลังและสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กว่า ๒,๐๐๐ คน
 

วางเกณฑ์คัดเลือก ๘ พื้นที่ต้นแบบ สร้างโมเดลเกษตร-อาหารปลอดภัย

   คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มมติเกษตรและอาหาร ที่มี รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน ได้ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๑.๕ เกษตรและอาหารในยุควิกฤต มติ ๕.๕ ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ มติ ๕.๘ การพัฒนากลไกและกระบวนการ ที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร
 

คมส.ไฟเขียวคณะกรรมการระดับชาติ ร่างยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง

   การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ ที่มี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสานใจ ๑/๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง “คณะกรรมการระดับชาติ” เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โดย คมส. จะนำเสนอต่อ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ต่อไป
 
   

3 หน่วยงานผนึกกำลังขับเคลื่อนมติสมัชชาฯ สร้างกลไกเฝ้าระวัง เกษตร-อาหาร ปลอดภัย

   การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในประเด็น เกษตรและอาหารปลอดภัย มีความก้าวหน้าอย่างมาก และอยู่ในความสนใจของทุกๆ ภาคีเครือข่าย เพราะถือเป็นเรื่องปากท้องชาวบ้าน ใกล้ชิดประชาชนจริงๆ
 

ร่างแผนปฏิบัติการฯ เสนอ คมส. ขับเคลื่อนกฎเหล็กป้องกันภัยแร่ใยหิน

   คณะทำงานขับเคลื่อน มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน มีการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสุชน ๑ ชั้น ๒ อาคารสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี
 
   คณะทำงานชุดนี้ มี ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล เป็นประธาน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยได้หารือกันถึง การปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
 

เดินหน้าพัฒนา ๔ ประเด็นนโยบายสาธารณะ จัดเวิร์คชอป ระดมสมอง คล้องแขนภาคีเครือข่าย

   ถือว่าเริ่มต้นได้อย่างสวยงาม สำหรับกระบวนการพัฒนาร่างระเบียบวาระ เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๙ พ.ศ.๒๕๕๙ ในช่วงปลายปีนี้ โดยล่าสุด การประชุมเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสานใจ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ คราคร่ำไปด้วยผู้คนจากหลากหลายองค์กรภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ประธานอนุกรรมการวิชาการ เริ่มต้นด้วยการเล่าให้ผู้เข้าร่วมประชุม เข้าใจถึงคำว่า “นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ” (Healthy Public Policy) ว่าจะต้องเป็นนโยบายที่มีผลกระทบต่อมหาชน ที่เอื้อต่

ร่างแผนปฏิบัติการฯ สานพลัง ปกป้องเด็กไทยจากสื่อออนไลน์

   “คณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ” ที่มี ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก เป็นประธาน ถือเป็นฟันเฟืองและกลไกการทำงาน ภายใต้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคม และสุขภาวะ
 
   เป้าหมายขับเคลื่อน ๒ มติ ได้แก่ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑ เรื่อง “ผลกระทบจากสื่อต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว” และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๕ เรื่อง “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ๒๔ ชม. : กรณีเด็กไทยกับไอที” ให้มีความต่อเนื่อง
 

หน้า