นพ.อำพล

อำลา

   คุยกับเลขาฉบับนี้ เป็นฉบับสุดท้ายของผมในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
 
   ผมมาทำงานปฏิรูประบบสุขภาพต่อเนื่องนาน 16 ปีเศษ ตั้งแต่เป็น ผอ. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) 7 ปี เป็นเลขาธิการ คสช. 8 ปีเศษ นับว่ายาวนานทีเดียว
 
   การได้มีโอกาสทำงานสำคัญนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
 

เตรียมส่งไม้

   ผมมารับหน้าที่เป็นแกนขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี 2543 มีภารกิจจัดกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงานปฏิรูประบบสุขภาพในทิศทาง “สร้างนำซ่อม” โดยขยายความหมายสุขภาพ จากเรื่อง “มดหมอหยูกยา” เป็นเรื่องของสุขภาวะทางกาย ใจ จิตวิญญาณ (ปัญญา) และสังคม
 
   พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติประกาศใช้เมื่อปี 2550 มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นกลไกหลักในการเชื่อมทุกภาคส่วน อันได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ วิชาชีพ และภาคสังคม เข้ามาร่วมทำงานด้านสุขภาพ ตามแนวทางการอภิบาลแบบเครือข่ายหรือหุ้นส่วน
 

หยุดวิกฤตศรัทธาสถาบันแพทย์

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ข่าวศาลลงโทษแพทย์ที่นครศรีธรรมราชเมื่อหลายปีก่อน ถูกกระพือเกินจริงจนทำให้หมอหวาดวิตกกันไปทั่ว ข่าวความขัดแย้งเรื่องอำนาจการจัดสรรเงินทองในระบบหลักประกันสุขภาพที่โรงพยาบาลและหมอภาครัฐต้องมีภาระงานเพิ่มล้นมือ ในขณะที่ดูเหมือนว่าเงินจะน้อยลง สัมพันธภาพของหมอกับคนไข้และประชาชนเปลี่ยนไป หมอพี่ๆ น้องๆ ในระบบเดียวกันที่ทำงานต่างระดับ ทะเลาะกัน ขัดแย...อ่านรายละเอียดทั้งหมด

ครม. ไฟเขียวเดินหน้าเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

   ครม. เห็นชอบ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เน้นตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในแต่ละเขตพื้นที่ เตรียมตั้ง ๑๓ เขตทั่วประเทศ มั่นใจเป็นมิติใหม่ที่ช่วยหนุนเสริมการทำงานทุกภาคส่วน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
 

สานพลังรับมือสังคมสูงวัย

   วันนี้สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก เมื่อ30-40 ปีก่อน คนมีลูกมาก ยากจน แต่มาวันนี้ คนมีลูกน้อย ที่พร้อมไม่ค่อยท้อง ที่ท้องไม่ค่อยพร้อม แต่คนจนก็ยังมาก
 
   วันนี้มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 15แล้ว อีกเพียง 5 ปีจะมีเพิ่มเป็นร้อยละ 20 และในปี 2578 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 30
 
   สังคมไทยสูงวัย(ชรา)อย่างรวดเร็ว คนวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง เด็กเกิดน้อย ในขณะที่สังคมต้องการการผลิต การทำงาน และการพัฒนาทุกสาขาเพิ่มมากขึ้นไปตามโลก
 

กรรมการสุขภาพแห่งชาติห่วงผลกระทบสุขภาพคนไทย เสนอ ครม. เตรียมพร้อมเรื่องการค้าเสรี ทั้งเชิงรุกเชิงรับ

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ ๔ แนวทางลดผลกระทบด้านสุขภาพ สร้างความสมดุลจากการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ หวั่นต่างชาติคุมธุรกิจและสิทธิบัตรยาเบ็ดเสร็จ กระทบผู้ป่วยคนไทยต้องซื้อยาแพงและเข้าถึงการรักษายากลำบาก พร้อมหนุนรัฐลดเงื่อนไขกีดกันบริษัทคนไทยในประเทศคู่ค้า หวังสร้างความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น
 

ใบไม้ต้นเดียวกัน

   เมื่อปลายเดือน กพ.59 รมว.สธ. (ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร) เชิญผู้บริหาร สช.,สปสช.,สวรส.,สสส.,สรพ.,สพฉ. พร้อมกับปลัด กสธ.,รองปลัดฯ และทีมบริหารของ รมต. (ผช.รมต.,ที่ปรึกษา) ประชุมร่วมกัน เพื่อรับฟังงานของแต่ละองค์กร ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันแบบสานพลัง (synergy) ให้ไปในทิศทางเดียวกัน สู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างสุขภาวะของคนไทย
 
   องค์กรเหล่านี้คือทุนของประเทศที่เป็นองคาพยพเดียวกันในระบบสุขภาพแห่งชาติ คือ "ใบไม้ต้นเดียวกัน"
 

น่าเป็นห่วง

   ประเทศไทยตกหล่ม ติดขัด ไม่ขยับไปไหนมาหลายปีแล้ว จนบางคนบอกว่าจะกลายเป็น “หลุมดำของอาเซียน” ไปแล้ว
 
   เรามีความขัดแย้งแตกแย้งกันมาก สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคือ การพัฒนาที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม รวยกระจุก จนกระจาย ยิ่งพัฒนา คนส่วนน้อยได้มาก คนส่วนมากได้น้อย ช่องว่างห่างมากขึ้นไปเรื่อย
 
   ไม่ว่ารัฐบาลใด มาจากไหน ก็แก้ไม่ได้ ยิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งเร่งพัฒนา ทำโน่นทำนี่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด รวดเร็ว ไม่ฟังใคร ยิ่งอาจทำให้ปัญหาหนักขึ้น ชุมชนท้องถิ่น คนเล็กคนน้อยได้รับผลกระทบจากนโยบายและการดำเนินงานของรัฐมากขึ้น เหลื่อมล้ำมากขึ้น แตกแยกมากขึ้น
 

จากปฏิรูปสา’สุข สู่ปฏิรูปศึกษา

   เมื่อเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ผมพาอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) กัลยาณมิตร ของผม ผู้มีตำแหน่งประธานกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ สปท. ไปทัวร์ การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8
 
   
 

หนุนเสริมเติมกัน

   พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายสุขภาพ (Health) ว่าเป็นเรื่องสุขภาวะ 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม สอดคล้องความเป็นจริงที่ว่าเรื่องสุขภาพ มิใช่แค่เรื่องมดหมอ หยูกยา การแพทย์และการสาธารณสุข (Public Health) เท่านั้น
 
   นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีกลไกและเครื่องมือที่เปิดให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy) ซึ่งกว้างกว่าเรื่องนโยบายด้านสาธารณสุข (Public Health Policy) ที่มีกระทรวงสาธาณสุขดูแลเป็นหลักอยู่แล้ว
 

หน้า