สมัชชาสุขภาพ

‘ความมั่นคงรายได้’ โจทย์ใหญ่ สร้างสุขภาวะชาวนาไทย

   “ความมั่นคงในการประกอบอาชีพทำนา สุขภาพที่ดี และมีอำนาจต่อรอง” เป็นเป้าหมายใหญ่ของการสร้าง “สุขภาวะชาวนา” ที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร ภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมมือกันขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ
 

ทต.บ้านค้อ ตำบลสุขภาวะและสมัชชาสุขภาพตำบลต้นแบบยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านสุขอนามัยทั้งตำบลเทียบชั้นชุมชนเมือง

     สุวรรณ ไตรมาลัย,สมบูรณ์ กลิ่นขจร/ขอนแก่น แนวคิดของตำบลสุขภาวะ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคมและสติปัญญาโดยเป็นการบูรณาการเชิงพื้นที่เป็นตัวตั้ง มีกลไกที่สำคัญในระดับตำบลเป็นแรงขับเคลื่อน ซึ่งจะประกอบด้วยองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่จะต้องเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันในการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้กรอบแนวทางการทำงานใน 4 รูปแบบหลัก...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

สุขภาวะคนเมือง เรื่องใหญ่ที่ถูกมองข้าม

   สมัยก่อน...เมื่อพูดคำว่า "เมืองใหญ่" เราก็มักจะนึกถึงแต่กรุงเทพมหานคร แต่เดี๋ยวนี้ ยุคนี้ มีหัวเมืองหลักๆ ที่พัฒนาตัวเองจนเรียกว่า มหานคร มากมายครับ หัวใจสำคัญก็คือสภาพเศรษฐกิจที่เติบโต และการขยายตัวรวดเร็วของโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ผู้คนหลั่งไหลจากทุกที่ เข้าไปแออัดกันแทบทุกตารางนิ้ว ทั้งพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การทำงาน การบริโภค ทุกๆ อย่างหมุนเวียนเปลี่ยนตามไปด้วย แต่สิ่งที่เหมือน...  อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

ปั่นเพื่อแม่ของแผ่นดิน ปั่นเพื่อสุขภาวะคนไทย

   ผมเฝ้าติดตามข่าวคนไทยนับแสน ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม "ไบค์ ฟอร์ มัม ปั่นเพื่อแม่" เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนทพรรษา 83 พรรษา สมเด็จพระจางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ...แม่ของแผ่นดิน แล้วอดปลื้มใจไม่ได้ เมื่อกระแสการใช้จักรยาน เพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกขณะ  อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สู้ปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อม เสียงเตือนจากวัยใส...สู่เข็มทิศสังคมไทย

 แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมาย แผนงาน และยุทธศาสตร์ว่าด้วยการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการมานับ ๑๐ ปี แต่สถานการณ์วัยรุ่น ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร กลับไม่ดีขึ้นเท่าไหร่นัก โดยสถิติ คุณแม่วัยทีน ยังสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดในระดับนานาชาติ และเป็นเข็มทิศบ่งบอกถึงสถานการณ์สังคมในอนาคต
 

นโยบายสาธารณะ สมัชชากินได้

 ผมไปน่านเมื่อไม่นานมานี้ ที่นั่น มีการใช้กระบวนการ “สมัชชาสุขภาพ” เป็นเครื่องมือ ชวนผู้คนหลากหลายภาคส่วน มาร่วมกันทำงานพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ ทั้งที่ระดับ จังหวัด และระดับพื้นที่ เรียกชื่อว่า สมัชชาสุขภาพ บ้าง เรียกชื่ออย่างอื่นบ้าง ที่ ต.เปือ อ.เชียงกลาง ชุมชนที่นั่นรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ทั้ง อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รพ.สต. โรงเรียน วัด และประชาคมกลุ่ม ต่างๆ เต็มไปหมด  
 
 จัดทำนโยบายสาธารณะดีๆ เพื่อสุขภาพ มีการออกกติกาชุมชน เป็น “สัญญาประชาคม” ว่าในงานบุญ งานศพ ไม่มีเหล้าเบียร์ ไม่มีอบายมุข ไม่มีน้ำอัดลม ไม่มีสิ่งทำลายสุขภาพ 
 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติตั้งเป้า ๑๐ ปี ขจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

    สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๗ ตั้งเป้าลดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีภายใน ๑๐ ปี หลังพบคนไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงถึง ๖ ล้านคนโดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน หนุนขยายวงภาคีเครือข่ายทั้ง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมสร้างกลไกการทำงาน และสร้างยุทธศาสตร์สกัดโรคร้ายตั้งแต่ต้นทาง
 

สุขภาพโดยคนทั้งมวล

ช่วงที่ผ่านมา ผมได้ไป เรียนรู้การพัฒนาและขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพใน พื้นที่หลายแห่ง บอกได้ว่า ถึงวันนี้ ระบบสุขภาพเปลี่ยนไปมาก ไม่ใช่ เป็นระบบที่รอใครทำให้ จากบนลง ล่างอย่างเดียวแบบในอดีตอีกแล้ว เรื่องสุขภาพหรือสุขภาวะ ได้กลายเป็นเรื่องของทุกคน ทุก ภาคส่วน เข้ามาร่วมกันทำ ร่วมกัน เป็นเจ้าของมากขึ้นตามลำดับ 

หน้า