นโยบายสาธารณะ สมัชชากินได้

 ผมไปน่านเมื่อไม่นานมานี้ ที่นั่น มีการใช้กระบวนการ “สมัชชาสุขภาพ” เป็นเครื่องมือ ชวนผู้คนหลากหลายภาคส่วน มาร่วมกันทำงานพัฒนานโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ ทั้งที่ระดับ จังหวัด และระดับพื้นที่ เรียกชื่อว่า สมัชชาสุขภาพ บ้าง เรียกชื่ออย่างอื่นบ้าง ที่ ต.เปือ อ.เชียงกลาง ชุมชนที่นั่นรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ทั้ง อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รพ.สต. โรงเรียน วัด และประชาคมกลุ่ม ต่างๆ เต็มไปหมด  
 
 จัดทำนโยบายสาธารณะดีๆ เพื่อสุขภาพ มีการออกกติกาชุมชน เป็น “สัญญาประชาคม” ว่าในงานบุญ งานศพ ไม่มีเหล้าเบียร์ ไม่มีอบายมุข ไม่มีน้ำอัดลม ไม่มีสิ่งทำลายสุขภาพ 
 
 กลุ่มแม่บ้านมาช่วยกันประกอบ อาหารปลอดภัยเลี้ยงผู้มาร่วมงาน เน้น อาหารจานเดียวเรียบง่ายตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีอาหารสุกๆ ดิบๆ น้ำตาลน้อย ไม่มีน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม 
 
 ที่ จ.ศรีสะเกษ มีการจัด สมัชชาสุขภาพจังหวัดไปเมื่อไม่นานมานี้ จับประเด็นสำคัญ ๓ เรื่อง มาพัฒนา เป็นนโยบายสาธารณะร่วมกันของคน ทุกภาคส่วนในจังหวัด ได้แก่ การ ลดสารเคมีในการเกษตร : กรณีการ เพาะปลูกพริก การจัดทำและขับเคลื่อน แผนแม่บทการกำจัดขยะครบวงจร และ การพัฒนาชุมชนจัดการสุขภาพ ซึ่ง มีการนำรูปธรรมความสำเร็จมาจัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดการ ทำงานดีๆ ในพื้นที่หลายเรื่อง เช่น การ ลดและแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น การจัดการขยะในชุมชน 
 
 เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้คนใน พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศโดยใช้เครื่องมือ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติไปใช้หรือ ปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ทั่วประเทศ

 ทั้งหมดนี้เป็นการขับเคลื่อน ระบบสุขภาพในทิศทาง “สุขภาพโดย คนทั้งมวล เพื่อคนทั้งมวล” ไม่ใช่ สุขภาพที่รอให้คนอื่นทำให้ ไม่ใช่สุขภาพ แบบตั้งรับ รอป่วยแล้วค่อยเข้า “โรง ซ่อม” เท่านั้น  
 
 เป็นการให้ความสำคัญ กับมิติสุขภาพในทุกนโยบาย ในทุก ภาคส่วนและเน้น การรวมตัวร่วมคิด ร่วมทำข้ามสาขา เป็นรูปธรรมการทำงาน ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อ สุขภาพที่สอดคล้องในชีวิตจริง ติดดินและกินได้ครับ