ปัญหาหมอกควัน

สช.เตรียมผลักยุทธศาสตร์ 3 ปี แก้หมอกควันภาคเหนือตอนบน

   สช. ระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนในภาคเหนือ ร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะ “การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ” แปลงสู่ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการขับเคลื่อน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและจังหวัดตาก หวังสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่กลไกระดับชาติเชื่อมถึงระดับพื้นที่ ในระยะ 3 ปีให้เห็นผล
 

หยุดหมอกควัน-ยับยั้งไฟป่า การแก้ปัญหาต้องเริ่มจาก ‘ชุมชน’

   ฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของคนกรุงเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เข้าปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและกำลังจะกลายเป็นต้นเหตุภัยสุขภาพของคนในพื้นที่
 
   ภาพความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ปรากฏแก่สาธารณชนผ่านสื่อมวลชนและสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง เกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
 
   นอกเหนือจากภาคขนส่ง-คมนาคมที่เป็นต้นกำเนิดของมลพิษขนาดจิ๋วแล้ว ปัญหา “การเผาป่า” ก็เป็นที่พูดถึงและถูกเรียกร้องให้วางมาตรการเข้มในการแก้ไขอย่างยั่งยืน
 

บำบัดมลพิษด้วยเทคโนโลยีอนุภาคนาโน

     เจษฎา แม่นยำ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ปัญหามลพิษเป็นภัยใกล้ตัวและมีความสำคัญมาทุกยุคสมัย ทุกวันนี้มีสารแปลกปลอมที่ถูกปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมมาจากหลายแหล่ง กำเนิด เช่น ไอเสียจากยานพาหนะ สารตกค้างจากการทำเกษตรเคมีเข้มข้น หรือของเสียที่เกินกำลังการบำบัดจากภาคอุตสาหกรรม สารเหล่านี้สามารถย้อนกลับมาสู่ร่างกายของเราได้ด้วยการรับสัมผัสโดยตรงหรือรับเข้ามาทางห่วงโซ่อาหาร ด้วยเหตุนี้นักว...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

สลายปัญหาหมอกควัน ตั้งกลไกสนับสนุน-ปรับปรุงกฎระเบียบ

    เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดประชุมปรึกษาหารือ แนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ มติที่ ๒ “ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ” ณ ห้องประชุมสานใจ ๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ
 
   การประชุมได้รับความความมือ จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม กว่า ๓๐ คน อาทิ กรมป่าไม้ กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิธนาคารต้นไม้ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) เป็นต้น