มาตรา 7

สช.- สนง.คกก.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จับมือ วางแนวปฏิบัติข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคล

   นพ.ประทีป นำทีมผู้บริหาร สช. เคาะประตูกระทรวงดิจิทัลฯ พบเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สร้างความร่วมมือ - ตั้งคณะทำงานในการวางแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลร่วมกัน เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลบุคคลตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ - พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นเอกภาพ และไม่เป็นอุปสรรคในภาคปฏิบัติ ที่ประชุมเคาะมติตั้งคณะทำงานเฉพาะ ให้ สช.เชื่อมหน่วยงานหลักร่วมวางเกณฑ์ ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นวงกว้าง
 

สภาวิชาชีพด้านสุขภาพขานรับ แนวปฏิบัติฯใช้โซเชียลมีเดีย

   แนวปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ มีผลบังคับใช้นับแต่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้วิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข เกิดความตื่นตัวที่จะเข้ามาดูแลการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของบุคลากรอย่างจริงจังมากขึ้น
 

คุมเข้มเวชระเบียน-ฐานข้อมูลผู้ป่วย

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการและยกร่าง “แนวปฏิบัติตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข” เพื่อออกเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระบบสุขภาพ ดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ที่กำหนดให้ข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงเวชระเบียนผู้ป่วยที่อยู่ในสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ เป็นความลับส่วนบุคคล
 

สช.แนะไกด์ไลน์ใช้สื่อโซเชียล “โพสต์-เซลฟี” ไม่ละเมิดสิทธิสุขภาพ

   การแชท แชร์ โพสต์ อาจใช้เวลาเพียงชั่วพริบตา แต่ข้อมูลด้านสุขภาพต่างๆนานา ปรากฏต่อสายตาผู้คนนับล้านได้ภายในเสี้ยววินาที ... นี่คือพลังของ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งบ่อยครั้งเกิดการละเมิดสิทธิด้านสุขภาพส่วนบุคคลโดยไม่รู้ตัว
 
   โดยเฉพาะในสถานพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งดูแลข้อมูลด้านสุขภาพของคนไข้ เวชระเบียนต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องตาม มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งให้ความคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ไม่ให้มีการเปิดเผยยกเว้นเจ้าของข้อมูลอนุญาต หรือมีกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้บัญญัติให้ต้องเปิดเผยเท่านั้น
 

สช.เดินหน้าคุ้มครองข้อมูลสุขภาพคนไทย

   การคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550เนื่องจากที่ผ่านมา เกิดปัญหาการนำข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเช่น รายละเอียดการรักษาโรค ฟิล์มเอ็กซเรย์ และภาพถ่ายของผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ เวชระเบียนผู้ป่วย ถูกนำไปเผยแพร่ทางช่องทางต่างๆทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ บางครั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล
 

สช. วางแนวปฏิบัติใหม่คุ้มครองสิทธิผู้ป่วย คุ้มครองข้อมูลสุขภาพในยุคดิจิตอล

   สช. จัดเวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) แนวปฏิบัติตามมาตรา ๗ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ หวังคุ้มครองข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล วางแนวป้องกันเวชระเบียนผู้ป่วยถูกเผยแพร่สู่ภายนอก เกิดการละเมิดสิทธิ กระทบชีวิต ครอบครัว และการทำงาน
 

(ร่าง) แนวปฏิบัติตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข

ท่านสามารถให้ข้อมูลตอบแบบสอบถามโดยกดที่ ภาพด้านล่างของข้อความนี้

ท่านสามารถอ่านเอกสารประกอบได้จาก File เอกสารแนบ ด้านล่าง

จิตแพทย์แนะทางสว่างอย่าชมแชร์ถ่ายสดเหตุฆ่าตัวตาย

     หมอเตือนดูถ่ายทอดสดฆ่าตัวตายทางเฟซบุ๊คไลฟ์มีผลกระทบเยอะ แนะอย่าชมหรือแชร์ นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีหนุ่มผูกคอตายผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊คไลฟ์ เนื่องจากน้อยใจแฟนว่า เป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจอย่างมาก จากการทบทวนงานวิจัยก่อนหน้านี้มีรายงานว่า แม้รับรู้เพียงข้อมูลผ่านตัวหนังสือหรือผ่านการรายงานข่าวทั่วไป ก็สามารถเพิ่มอัตราการฆ่าตัว...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

งดไลค์เลิกแชร์สุขภาพคนป่วย

     ข้อมูลจาก นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ระบุว่า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 ทั่วเมืองไทย มีผู้ใช้สมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้รวมทั้งสิ้น 94 ล้านเครื่อง และเพิ่มจำนวนขึ้นอีกราว 2-3 ล้านเครื่องต่อไตรมาส สื่อสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ที่คนไทยนิยมใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก ล่าสุดมียอดผู้ใช้งานทั้งสิ้นประมาณ 30 ล้านคน รองลง...อ่านรายละเอียดข่าวทั้งหมด

หน้า