ระบบสุขภาพ

สช. จับมือ สธ. ถอดบทเรียน รับมือระบบสุขภาพ 20 ปีข้างหน้า

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขย้อนประวัติศาสตร์การสาธารณสุขไทย ถอดบทเรียนผลสำเร็จ-ล้มเหลว หวังวางแนวทางรับมือระบบสุขภาพอนาคตระยะ ๒๐ ปี ด้านภาคประชาชนย้ำสื่อสารแบบเคาะประตูบ้านให้เข้าถึงประชาชน เพื่อให้รู้ถึงสิทธิด้านสุขภาพ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสุขภาพ
 
   เมื่อวันที่ ๕ มีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดงาน ๑๐๐ ปีการสาธารณสุขไทย โดยมีเสวนาหัวข้อ “จากอดีต สู่อนาคตการสาธารณสุขไทย” ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ จ.นนทบุรี
 

สุขภาพโดยคนทั้งมวล

ช่วงที่ผ่านมา ผมได้ไป เรียนรู้การพัฒนาและขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพใน พื้นที่หลายแห่ง บอกได้ว่า ถึงวันนี้ ระบบสุขภาพเปลี่ยนไปมาก ไม่ใช่ เป็นระบบที่รอใครทำให้ จากบนลง ล่างอย่างเดียวแบบในอดีตอีกแล้ว เรื่องสุขภาพหรือสุขภาวะ ได้กลายเป็นเรื่องของทุกคน ทุก ภาคส่วน เข้ามาร่วมกันทำ ร่วมกัน เป็นเจ้าของมากขึ้นตามลำดับ 

“เขตสุขภาพเพื่อประชาชน” กลไกแนวนอน สานพลังสร้างสุขภาวะ

เมื่อวันที่ ๒๕ ส.ค. ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติให้จัดตั้ง “เขตสุขภาพ เพื่อประชาชน” ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อให้เป็นกลไกบูรณาการทำงานในระบบสุขภาพ ระดับพื้นที่ โดยใช้กลุ่มจังหวัดเป็นฐานการทำงาน เน้นการ สานภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข สปสช. สสส. สช.

ปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ค. ผมเล่าผ่าน facebook ถึง ความคืบหน้าของการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช. ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ในวันนั้น ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิ.ย. ที่ผ่านมา และเห็นชอบกับมติที่ ๖.๘ “ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การ ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผ่านฉันทมติจากองค์กร ภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วน จำนวน ๒๓๔ กลุ่มเครือข่าย เพื่อ เตรียมเสนอต่อ ครม.

ปฏิรูปไม่ใช่ปฏิลูบ

 ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ (Health Systems Reform) ต่อเนื่องมาเป็นสิบปีแล้ว หัวใจสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ คือ การปรับกระบวนทัศน์เรื่อง สุขภาพใหม่ จากสุขภาพที่เป็นเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย มดหมอหยูกยา การแพทย์การ สาธารณสุข ไปสู่สุขภาพที่มีความหมายกว้างว่าเป็นเรื่อง “สุขภาวะ” ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ สุขภาพจึงเป็นเรื่องของทุกคน ทุกภาคส่วน เป็นเจ้าของ ร่วมกันมีสิทธิที่จะมีสุขภาพดี และมีหน้าที่ร่วมกันทำให้เกิดสุขภาพ/สุขภาวะที่ดี (All for Health)