เกาะข่าว สช.

ตั้งทีมประมวลผลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พัฒนานโยบายสาธารณะ...สู่มติที่มีชีวิต

   การจัด สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ดำเนินการมาแล้ว ๗ ครั้ง เรียกได้ว่าผ่านร้อน ผ่านฝน ผ่านหนาว มาจนถึงปีนี้ นับเป็นครั้งที่ ๘
 
   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงมีการประเมินผลความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆในเวทีแห่งนี้ มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
 
    ปีนี้ สช.ได้มอบให้ รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าทีม มาประเมินผลการทำงานในครั้งที่ ๘ นี้ เพื่อปรับปรุงการกระบวนการทำงาน ในปีต่อๆไปด้วย
 

สช.-สธ.ร่วมเดินหน้าขับเคลื่อน มาตรฐานการตรวจสุขภาพสำหรับประชาชน

   สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น หนุนการจัดทำแนวทางมาตรฐานในการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ เรื่อง “นโยบายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” โดยมีกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำร่างแนวทางฯ ร่วมกับสภาวิชาชีพ สถาบันวิชาการ และหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เชื่อประชาชนได้ประโยชน์ในการเลือกบริการตรวจสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมเตรียมนำเข้าเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ วันที่ ๒๑-๒๓ ธ.ค.นี้ และนำร่องใช้เป็นมาตรฐานในโรงพยาบาลสังกัด สธ.
 

สานพลัง สร้างศักยภาพ ยกระดับ 280 กลุ่มเครือข่าย

   เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ “สานพลังปัญญาและภาคี สร้างวิถีสุขภาวะไทย” ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว ทาง คณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดกลุ่มเครือข่ายและสนับสนุนการมีส่วนร่วม จึงจัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสุชน ชั้น ๒ อาคารสุขภาพแห่งชาติ มุ่งหวังให้เวทีใหญ่ครั้งนี้ ทุกคน ทุกภาคส่วน ได้มาร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์มากที่สุด
 

ระดมเครือข่ายแนะกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาบุคลากร ผ่านกลไก “ประเมินผลกระทบ”

   สช. จัดประชุมคู่ขนาน ประชุมวิชาการนานาชาติระดับอาเซียน ระดมเครือข่ายภาครัฐ วิชาการ เอกชน ประชาชน แนะแนวทางการประเมินผลกระทบ การพัฒนาบุคลากร กลไกสร้างความยั่งยืน ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
 

ปิดประชุมวิชาการนานาชาติอาเซียน ไทยประกาศโรดแมพขับเคลื่อนกระบวนการเอชไอเอในอาเซียน

   ปิดการประชุมประชุมวิชาการนานาชาติระดับอาเซียน เรื่อง การประเมินผลกระทบและการบรรเทาผลกระทบ ภายใต้แนวคิดความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ ๑ เลขาธิการคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติเผยผลสำเร็จประชุมตลอด 3 วัน สร้างกระบวนการเรียนรู้ผลกระทบจากการเจริญ เติบโตเศรษฐกิจ พร้อมประกาศโรดแมพสร้างพลังเครือข่ายอาเซียนขับเคลื่อนกลไก HIA สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 

กรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดประชุมวิชาการเอชไอเอนานาชาติ รวมพลังเครือข่าย สร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืน

   เปิดฉากการประชุมวิชาการนานาชาติระดับอาเซียน การประเมินผลกระทบและการบรรเทาผลกระทบภายใต้แนวคิดความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ ๑ รองนายกรัฐมนตรี ย้ำความร่วมมือระดับประเทศ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่สังคมสุขภาวะภูมิภาคอาเซียน แบ่งปันเอื้ออาทรควบคู่กับการพัฒนา
 

เอดีบีหนุนโครงการพลังงานสะอาด เชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนาพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

   ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) หนุนโครงการพลังงานสะอาด หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งเป้า 5 ปี ขยายปล่อยกู้ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เร่งพัฒนาพลังงานและโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน ขณะที่กรีนพีซยกบทเรียนความเสียหายจากมลพิษโรงไฟฟ้าถ่านหินอินโดนีเซีย เตือนประเทศสมาชิกอาเซียนทบทวนแผนขยายโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชี้ต้นทุนต่ำแต่ไม่คุ้มค่าการป้องกันเยียวยาผลกระทบ
 

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติยก 5 วาระเพื่อสุขภาพคนไทย ลดพฤติกรรมคนไทยชอบกินเค็ม เสี่ยง ความดัน หัวใจ ไตพัง

   คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชูแนวคิด “สานพลังปัญญาและภาคี สร้างวิถีสุขภาพไทย” ชี้ปัญหาสุขภาพคนไทยหลายเรื่องเกิดเพราะพฤติกรรมสุขภาพ กินเค็มจัด ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเกินจำเป็น คนเมืองมีปัญหาสุขภาพ ขณะที่สุขภาวะชาวนาก็ย่ำแย่ ต้องร่วมกันทุกฝ่ายเพื่อแก้ไข
 

ประมวลร่างเอกสารมติ 4 ประเด็นสำคัญ ก่อนเข้าสู่เวทีสมัชชาฯเดือนธ.ค.นี้

   คณะทำงานวิชาการฯ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายหลัก กำลังทำงานหนัก เพื่อยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและร่างมติ ๔ ประเด็นหลัก ประกอบด้วย ๑.สุขภาวะเมืองใหญ่ : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองอย่างมีส่วนร่วม ๒.นโยบายลดบริโภคเกลือ ๓.วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ ๔.สุขภาวะชาวนา ก่อนนำเข้าสู่วาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อหาฉันทามติในวันที่ ๒๑-๒๓ ธ.ค. ๒๕๕๘
 

ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย ลดบริโภคเกลือ...ลดเสี่ยงโรค NCDs

   หนึ่งในปัญหาการบริโภค ที่ส่งผลต่อ “สุขภาวะ” คนไทย และกำลังถูกการยกระดับ ขึ้นเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อเสนอต่อ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๕๘ นั่นคือ “นโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)” โดย เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในสังคม
 

หน้า