เกาะข่าว สช.

เปิดแผนชุมชนจัดการตนเองกู้วิกฤต ‘คลองเตย’ ตัดวงระบาด-จัดระบบพักคอยรอส่งต่อ-ดูแลหลังกลับจากรพ.

   วงเสวนา “โควิด-19 รุกคลองเตย” เปิดโมเดลชุมชนจัดการตนเอง ตัดวงจรระบาด-จัดระบบส่งต่อ-ดูแลครัวเรือน-เฝ้าระวังผู้ที่หายป่วย “รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” ชี้ต้องเร่งถอดบทเรียน ขยายต้นแบบไปสู่พื้นที่อื่น ขณะที่ “สลัมสี่ภาค-เครือข่ายบ้านมั่นคง” วอนช่วยเหลือคนจนที่ได้รับผลกระทบ เสนอพักหนี้บ้าน ขอการสนับสนุนอาหาร-อุปกรณ์ป้องกันโรค
 

ดีเดย์ 30 เม.ย. 'คลองเตย’ เปิดพื้นที่ ‘วัด’ สู้โควิด หนุนประชาชนตั้งศูนย์พักคอยใกล้บ้านใกล้ใจ ตัดวงจรระบาดชุมชนแออัด

   สช.จับมือ กทม. ผนึกภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและสังคม ร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” หรือ Community isolation ในชุมชนคลองเตย โดยใช้พื้นที่วัดสะพาน เขตพระโขนงเป็นฐานพักพิงใกล้บ้านใกล้ใจ หวังตัดวงจรระบาดโควิดระลอกสามในชุมชนแออัด แยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน ลดการแพร่ระบาดและดูแลเบื้องต้นระหว่างรอส่งต่อไปรักษาต่อที่ รพ. คาดเริ่มเปิดแห่งแรก 30 เม.ย.นี้
 

“พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง - สนธยา คุณปลื้ม” ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

   “พล.ต.ท.คำรณวิทย์ – สนธยา คุณปลื้ม” ได้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติในสัดส่วนองค์กรบริหารส่วนจังหวัด-การปกครองรูปแบบพิเศษ แทนผู้ที่หมดวาระลง
 
   ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2564 ซึ่งมี นางปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา เป็นประธาน มีมติรับทราบผลการคัดเลือกบุคคลเข้ารับตำแหน่ง ในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย 1. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 2. นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา
 

สช.สานพลัง ‘คนรุ่นใหม่’ แก้โจทย์ประเทศ เตรียมจัด ‘สมัชชาสุขภาพฯ เด็ก-เยาวชน’ ทั่วประเทศ

   สช. ขยายการมีส่วนร่วมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ชักชวนกลุ่ม “คนรุ่นใหม่” ร่วมคิดพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาประเทศ พร้อมจัด “สมัชชาสุขภาพฯ เด็กเยาวชน” ครั้งแรก ปูพรมทุกภูมิภาค เพื่อกำหนดโจทย์-แสวงหาคำตอบ ที่ตรงจุดตามความต้องการ
 

ระดมสมอง 46 จว.จัดทำข้อเสนอ ‘ประเทศไทย’ เตรียม ‘โชว์เคส’ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาหารโลก

   สช. ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ ชักชวนสมาชิกสมัชชาสุขภาพจังหวัด 46 พื้นที่ทั่วประเทศ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับชาติ เพื่อจัดทำข้อเสนอ-กำหนดท่าทีของประเทศไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก ก.ย. นี้ “รองปลัด กษ.” ระบุ เตรียมร่อนตะแกรงหา “โชว์เคส” ความสำเร็จ แลกเปลี่ยนยูเอ็น
 

ขีดกรอบ ‘ธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติฯ ฉบับ 3’ สร้างสุขภาวะไทยตอบโจทย์โลกหลังโควิด-19

   วงถกหารือกรอบแนวทาง-กระบวนการยกร่าง “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3” ตั้งเป้าเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ-แผนงานทุกระดับ สอดรับทิศทางการสร้างสังคมสุขภาวะบนบริบทโลกยุคใหม่ ให้ทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าของ-นำไปประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม
 

เปิดรับสมัคร ‘กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน’ ร่วมกำหนดทิศทางด้านสุขภาวะระดับพื้นที่

   สช.ชูกลไก “คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน” หรือ กขป. เชื่อมร้อยการทำงาน กำหนดทิศทางแก้ไขปัญหาสุขภาพ-สุขภาวะของแต่ละพื้นที่ เผยตัวอย่างรูปธรรมจากเหนือจรดใต้ สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งปัญหาฝุ่นควัน-จราจร-โรคภัย-กลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมชวนทุกภาคส่วนสมัครเข้าร่วมเป็น กขป. ได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 เม.ย.นี้
 

อุดรฯ เปิดเวทีแก้ปัญหาฝุ่นและกลิ่น มลพิษทางอากาศ สร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

   สช. ร่วมกับ สสส. และจังหวัดอุดรธานี เปิดเวทีสานพลังภาคีเครือข่าย ร่วมแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ทั้งจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และ กลิ่นจากโรงงานยางพารา พร้อมประกาศเจตนารมณ์ “อุดรธานี อากาศดีอย่างยั่งยืน” จับมือเอกชน และประชาสังคม เสนอข้อคิดเห็นผ่านกลไกสมัชชาฯ เร่งแก้ปัญหาฝุ่นละออง
 

คิ๊กออฟจัดทำ ‘ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ’ ฉบับ 3 ‘ดร.สุวิทย์’ นำทัพกำหนดทิศทางสร้างสุขภาวะไทย

   เปิดวงหารือจัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3” นัดแรก “ดร.สุวิทย์” ตั้งเป้าเปลี่ยนประชาชนจาก Passive Citizen ให้เป็น Active Citizen พร้อมทั้งดึง “เอกชน-ชุมชน-เยาวชน” เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะ “ผู้รับ-ผู้ร่วม” กำหนดนโยบายสาธารณะ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เท่าทันพลวัตโลก
 
   ประชุมคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 นัดแรกเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2564 ซึ่งมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธาน ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำข้อเสนอ และยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ที่จะใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทย
 

หน้า