สร้างสุขที่ปลายทาง

วางแผน “ตายดี” ทางเลือกสร้างสุขปั้นปลาย

   งานสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 ชวนแพทย์ร่วมเล่าประสบการณ์ว่าครอบครัวควรทำอย่างไรเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรบอกความจริงหรือไม่ บอกข่าวร้ายอย่างไร ตัดสินใจแบบไหนดีในช่วงท้าย ร่างกาย จะทรมานแค่ไหน ฯลฯ รวมถึงแนวทางในภาพใหญ่ที่ควรผลักดันระบบอาสาสมัครและให้ ‘ ชุมชน’ มีส่วนร่วมในเรื่องนี้...
 

เปิดงาน ‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3

   เปิดงาน ‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3 สช. จับมือเครือข่ายยกระดับความเข้าใจสิทธิการตายตามธรรมชาติและการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพฯ ด้าน สธ. เตรียมผลักดันหน่วยบริการแบบประคับประคองใน รพ.- ศูนย์บริการปฐมภูมิในพื้นที่
 

ผนึกภาคีเครือข่ายสร้างสุขที่ปลายทาง พลิกโฉมระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสู่ ‘การตายดี’

   คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางเดินหน้าพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ร่วมกับเครือข่ายและจิตอาสา เปลี่ยนทัศนคติสังคม-สานพลัง 4 ประเด็นหลัก ขณะที่แพทย์เตือนประเทศไทยเผชิญหน้าภาวะสึนามิลูกใหญ่ในระบบสุขภาพ เสนอออกกฎหมายเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำงาน
 

งานสร้างสุขที่ปลายทาง ปีที่ 2 เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายตายดี ภารกิจร่วมของทุกภาคส่วน

   คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางพร้อมนำทุกภาคส่วนขับเคลื่อนนโยบายตายดีและพัฒนาระบบดูแลแบบประคับประคอง วงเสวนาชี้การถอดเครื่องพยุงชีวิตต่างๆ ในช่วงวาระสุดท้าย คือ การทำบุญครั้งสุดท้ายให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบ
 

สร้างสุขที่ปลายทาง

   พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้มาตรา ๑๒ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นมา โดยสาระที่กำหนดไว้ ดังนี้
 
   “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”