สารคดี

ธรรมนูญสุขภาพคลองอาราง หมู่บ้าน 4 ดี วิถีพอเพียง

     “ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ไม่มีใครแก้ได้ ถ้าไม่ใช่คนในชุมชนเอง” บ้านคลองอาราง อ.เมือง จ.สระแก้ว เป็นหนึ่งในชุมชนที่เคยประสบปัญหาสารพัด ทั้งสุขภาพ การพนัน ยาเสพติด เหล้า บุหรี่ และผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ยิ่งนานวัน ยิ่งสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและวิถีชุมชนดั้งเดิม ทำให้ พัฒนา พรมเผ่า ผู้ใหญ่บ้านคลองอาราง ได้นำแนวทาง “ธรรมนูญสุขภาพ” เข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา จุดเด่นสำคัญที่นำธรรมนูญสุขภาพมาใช้ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ได้คิด ตัดสินใจ กำหนด “ข้อตกลงร่วม” แก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน...

‘ธรรมนูญสุขภาวะโรงเรียน’ เพื่อรอยยิ้มลูกหลานของเรา

     ถ้าแววตาของเด็กนักเรียนที่เปล่งประกาย ถ่ายทอดออกมาเป็นถ้อยคำได้ พวกเขาคงอยากบอกผู้ใหญ่ ให้ช่วยแก้ปัญหาหลายเรื่องที่กระทบกระเทือน สุขภาวะ ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ภัยคุกคามสุขภาพ มิได้บั่นทอนภาพรวมสังคมไทย แต่ยังแทรกซึมไปถึง โรงเรียนชั้นประถมศึกษา ไม่ว่าสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ยาเสพติด ร้านเกมส์ และการใช้สารเคมีทางการเกษตร แนวคิด “ธรรมนูญสุขภาวะโรงเรียนเพื่อลูกหลานของเรา” จึงถูกริเริ่มขึ้นเพื่อเป็นแผนแม่บทให้กับชุมชน และโรงเรียน ตามแนวทางของ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552” ภายใต้ “พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550”...

หนองหินโมเดล สู่ชีวิตแบบ‘อยู่ดี มีแฮง’

     “ปัญหาวัยรุ่นตีกัน จนทำแผลไม่หวาดไม่ไหว บางรายสาหัส ถึงขั้นสมองได้รับความกระทบกระเทือน บางครั้งมาตีกันถึงโรงพยาบาล” เพ็ญศรี สุดชา ผู้อำนวยการ รพ.สต.หนองหิน อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ย้อนอดีต เรื่องราวที่กระทบต่อสุขภาวะของชุมชน เรียกว่า เมื่อไหร่ที่มีการจัดมหรสพขึ้นในตำบลนี้ ก็สร้างความหวาดกลัวว่า อาจมีเยาวชนหรือคนในพื้นที่ กลายเป็นศพไปก็ได้ กระทั่ง 3-4 ปีก่อน ธวัชชัย ไชยรัตน์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลหนองหิน ในขณะนั้น ริเริ่มเปิดเวทีให้ผู้นำชุมชน สอบต./เจ้าหน้าที่อบต.

ธรรมนูญสุขภาพ ต.แสงสว่าง จ.อุดรธานี ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไปสู่ชุมชนในฝัน

     หากชุมชนใดร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างดี ประชาชนที่นั่นมีความผาสุกเสมอ....ความจริงที่เราสัมผัสได้ที่ ต.แสงสว่าง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี เมื่อได้ชื่อว่าเป็นคนแสงสว่าง ชาวบ้านร้านตลาด หรือข้าราชการสังกัดน้อยใหญ่ ต่างพร้อมใจกันทำงานด้วยจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อหวังที่จะเห็นชุมชนของตนเองดีขึ้น “ทุกคนรู้ว่า ประโยชน์ส่วนรวม คือ ประโยชน์ของคนในชุมชน” สมาน เสโส นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แสงสว่าง ระดมหัวจิต หัวใจ ของผู้คน มาร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็ง โดยจุดประกาย ธรรมนูญสุขภาพตำบล เป็นหนึ่งในเครื่องมือ “สร้างสุข-ลด ทุกข์”ให้กับพื้นที่นี้ น้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงเกิดขึ้นแบบ ข้ามสาขา ข้ามสังกัด ทั้งองค์การ

สู่ความสุขที่ยืนยาว...ธรรมนูญสุขภาพชาวอำเภอสูงเม่น

     รอยยิ้มใสๆ ของชาว อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา หลังผู้คนในชุมชนทั้ง 12 ตำบล ร่วมจิตร่วมใจกันยกร่าง ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น ขึ้นมา และประกาศเป็นพันธะสัญญา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2552 ธรรมนูญฉบับนี้เปรียบได้กับ แผนแม่บทด้านสุขภาพ ของพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและหัตถกรรมฝีมือ เช่น การแกะสลักไม้ ในทศวรรษที่ผ่านมา ความเป็นเมืองและชนบทมาใกล้กัน วิถีทุนนิยมเปลี่ยนชีวิตของคนสูงเม่นให้เริ่มเคร่งเครียด คำว่า "ปัจจัยสี่" เริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในที่สุดก็กลายเป็น "ปัจจัยเสี่ยง" ทางสุขภาพ พฤติกรรมทั้งเรื่องการบริโภคอาหาร ขาดกา

ก่อ-ร่าง-สร้าง-เคลื่อน ธรรมนูญสุขภาพ

     ความสุขพื้นฐานอย่างหนึ่งของสังคม คือ การที่ผู้คนในชุมชนต่างมีสุขภาวะที่ดี ตลอดช่วง 5 ปีของการใช้ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ซึ่งก่อกำเนิดตามเจตนารมย์ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มุ่งหมายให้คนไทยมีคุณภาพชีวิต ทั้งทางกาย จิต ปัญญา และสังคม เป็นธงที่โบกสะบัดบอกทิศทางการเดิมในอนาคต และให้สัญญาณว่า...ถึงเวลาแล้วที่สุขภาวะวิถีจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แนวคิด "สร้างสุขภาพ นำซ่อมสุขภาพ" และกระบวนการ "แลกเปลี่ยน เรียนรู้" ได้รับการตอบสนองจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยราชการ ประชาสังคม และนักวิชาการ ไปจนถึงคนเล็กคนน้อยในสังคมที่เคยตกสำรวจ ก็เข้าถึงระบบสุขภาพได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท